ฝุ่นในอากาศทำปอดเล็ก+เตี้ย


 

...

ศาสตราจารย์โจนาตาน กริกก์ (Jonathan Grigg) และคณะ แห่งศุนย์โรคเด็กบาร์ทส์ วิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์ลอนดอน (London School of Medicine & Dentistry) ทำการศึกษาพบว่า ความจุปอด (lung capacity) ของเด็กอายุ 8-9 ปีในลอนดอนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ 5%

ขนาดของฝุ่นละออง (particulates / P) ที่เกิดจากรถชนิดต่างๆ มีขนาดต่ำกว่า 10 ไมครอน (1 micron / M = ไมครอน = 1/1000 มิลลิเมตร) นิยมเรียกฝุ่นชนิดนี้ว่า PM10

...

การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแลนคาสเทอร์ (Lancaster U) พบว่า เด็กๆ ที่อยู่ในพื้นที่ PM10 มากมีความสูงลดลง

สหราชอาณาจักร (UK) ถูก EU ลงโทษเนื่องจากควบคุมให้มลภาวะ หรือ PM10 ลดลงไม่ได้ตามมาตรฐาน บริเวณที่แย่ที่สุด คือ ทางตะวันออกของลอนดอน

...

มลภาวะจากฝุ่นละอองในอากาศหรือ PM10 ทำให้เสี่ยงโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด จมูก-ไซนัส(โพรงรอบจมูก)อักเสบ ฯลฯ เพิ่มขึ้น

EU กำหนดให้ PM10 ต่ำกว่า 40 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

...

ศาสตราจารย์บาร์บารา มาเฮอร์ (Barbara Maher) กล่าวว่า เครื่องวัดสภาพอากาศอัตโนมัติวัดที่ความสูง 3 เมตร เพื่อป้องกัน 'vandalism' (การทุบทำลายจากพวกมือหรือเท้าอยู่ไม่สุข)

เทคนิคที่นำมาใช้ใหม่คือ การใช้เครื่องตรวจสนามแม่เหล็ก-คลื่นวิทยุ (magnetic response) คล้ายๆ เครื่องสแกน MRI (เรียกว่า เทคนิค 'MRS') เน้นตรวจจับโลหะขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยบอกปริมาณ PM10

...

 

การวัด PM10 ในอากาศที่ลำปาง-เชียงใหม่เร็วๆ นี้ในช่วงหน้าแล้งพบว่า บางช่วงสูงถึง 240 หน่วย ช่วงนี้คนป่วย หายใจกันไม่ค่อยออก แม้แต่คนที่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ก็ป่วย

สาเหตุสำคัญมาจากการเผาขยะ-ใบไม้ ซึ่งทำกันแทบทุกบ้าน แถมยังมีการเผาไร่นา เผาป่าอีกต่างหาก

...

สถิติที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน คือ มะเร็งปอดพบมากที่สุดที่ลำปางกับเชียงใหม่... เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า มลภาวะไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรุงเทพฯ

การศึกษาจากจีนพบว่า บุหรี่ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของโรคถุงลมโป่งพอง... การใช้เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่านหิน(ใช้มากในจีน อินเดีย และเอเชียใต้) ฟืน ฯลฯ หรือการเผาเชื้อเพลิงแข็งอื่นๆ เช่น ใบไม้ ขยะ ฯลฯ ก็เพิ่มความเสี่ยงโรคนี้ได้เช่นกัน

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank BBC

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 11 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 267893เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2009 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท