024 : การศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study) ตอนที่ 3


คุณภาพการศึกษาของชาติเปลี่ยนแปลงได้จริงๆถ้าเรามีวิธีการที่ถูกต้อง วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ฝึกให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเว้นแต่ว่าครูเข้าใจความคิดของเด็กได้แค่ไหน

...มาแล้วค่ะ...Lesson  Study  ตอนที่  3  หลังจากเว้นไปหลายวัน  อย่างน้อยก็ดีใจที่มีคนสนใจและติดตามอยู่นะคะ คุณภาพการศึกษาของชาติเปลี่ยนแปลงได้จริงๆถ้าเรามีวิธีการที่ถูกต้อง วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ฝึกให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเว้นแต่ว่าครูเข้าใจความคิดของเด็กได้แค่ไหน  Lesson  Study  เป็นวิธีการสอนแบบหนึ่งที่น่าจะนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ลักษณะของ Lesson  Study เน้นการบูรณาการระหว่างการวิจัย  การสอนและการประเมินตนเอง  เน้นการพัฒนาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง  เน้นการพัฒนาแบบ Site-based Development  เน้นการวิจัยแบบร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Collaborative  Research)  เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของครู (Teacher  Learning) เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับครูที่เน้นการสำรวจตรวจสอบการสอนของคนเองอย่างละเอียด

ลักษณะของ Lesson Study   เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการให้ครูอยู่ในบริบทการทำงานประจำวันของตนเองหรืออยู่ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน   เน้นให้ครูร่วมกันวางแผนบทเรียนและสำรวจตรจสอบการใช้แผนนั้นๆจริง(Actual  lessons)  เน้นการพัฒนาครูให้มีมุมมองแบบนักวิจัย (Researcher  lens)  เน้นการพัฒนาสมมุติฐานเชิงการวิจัยที่มีความหมาย รวมทั้งวิธีการตรวจสอบสมมติฐานเหล่านั้น  เน้นการใช้หลักฐานเชิงการวิจัยที่มีความหมาย  รวมทั้งวิธีการตรวจสอบสมมติฐานเหล่านั้น  เน้นการใช้หลักฐานที่เป็นรูปธรรม  มาสนับสนุนกระบวนการวิจัย   เน้นการพยายามสรุปเป็นกรณีทั่วไปจากบทเรียนหนึ่งๆ

 จากการที่ผู้เขียนเข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน(Lesson  Study) และวิธีการแบบเปิด (Open  Approach) ที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น ที่ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศีกษา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ และโรงเรียนบ้านสะเดา  สพท.พล.เขต  2  เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย เราได้ประสบการณ์และสัมผัสวัฒนธรรมใหม่เกี่ยวกับการสอน ซึ่งเป็นการปฏิบัติจริง มีการแก้ไขข้อบกพร่องของการปฏิบัติแล้วนำไปปรับปรุงการสอนครั้งต่อไปท่านดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์ท่านบอกว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเรื่องที่สำคัญที่สุดมีเรื่องเดียว คือการสร้างครูให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะเรื่องของวิธีการสอน ซึ่งมีกระบวนการตามแนวคิดของโยชิดะ(Yoshida,2004)มี 6 ขั้นตอนคือ

1) ร่วมมือกันวางแผนเพื่อศึกษาชั้นเรียน 

2)  นำการศึกษาชั้นเรียนไปปฏิบัติ 

 3) อภิปรายผลการศึกษาชั้นเรียนไปปฏิบัติ 

4)ทบทวนการศึกษาชั้นเรียน(ทำหรือไม่ทำก็ได้) 

5) สอนใหม่ (ทำหรือไม่ทำก็ได้) 

6) สะท้อนผลเกี่ยวกับการสอนใหม่ 

        แต่จากการเข้าร่วมการอบรมจะให้เรานำไปใช้เพียง 3 ขั้นตอน คือ

 1)ขั้นร่วมกันเขียนแผน 

2)ขั้นสอนและสังเกตการสอน

3) ขั้นสะท้อนผลการสอน

      ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนจะเกี่ยวข้องกับ ครูผู้สอน  ผู้สังเกตการสอนซึ่งหมายถึงครู 2 คน   ผู้ประสานงานโรงเรียนที่เรามักจะเรียกกันว่า School  Coordinator และศึกษานิเทศ ตลอดกิจกรรมทั้งหมดเลยค่ะ

     วันหน้าจะมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ....                                                                       

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 267282เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มารับความรู้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • มาให้กำลังใจพี่สาวของลีค่ะ
  • แข็งแรงเร็วๆนะคะ
  • หลับฝันดีค่ะ
  • พี่คะ
  • วันนี้ฟังผลเป็นไงบ้าง
  • รอฟังข่าวอยู่นะคะ
  • ด้วยความเป็นห่วงค่ะ

สวัสดีค่ะน้องลี

ไม่เป็นอะไรแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะที่ให้กำลัง

น้องลีน่ารักเสมอ คิดถึงนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ toi

ยินดีค่ะ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะคะ

ดีใจ ที่ได้รับฟังข่าวดีค่ะ

ขอให้หายดี สุขภาพกายใจแข็งแรงเบิกบานนะคะ

เป็นการพัฒนาที่ดีและจะพัฒนาการศึกษาได้ดีเพราะเป็นการเริ่มที่ตัวครูเองคงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท