มนุษย์ยุคหินใหม่ สำริด และเหล็กที่บ้านโนนวัด


มนุษย์ยุคหินใหม่ สำริด และเหล็กที่บ้านโนนวัด

ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านได้ติดตาม เรื่องราวโนนวัดมาโดยตลอดแต่พอฟังข้อมูลทางวิชาการก็ไม่เข้าใจ ดังนั้น ผศ.ดร.วรชัย วิริยารมภ์ นักโบราณคดี จาก ม.เกษตรศาสตร์ ท่านได้เขียนสรุปมนุษย์ยุคต่างๆ ที่พบที่บ้านโนนวัด เพื่อให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้ครับ

มนุษย์ยุคหินใหม่   สามารถสร้างสรรค์เครื่องมือเครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติ แต่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ประโยชน์ต่างๆ สำหรับทำมาหากิน เช่น มีด ขวาน หอก มนุษย์โบราณยุคนี้  

จากการขุดค้นทางโบราณคดีในหมู่บ้านโนนวัดพบหลักฐานยุคหินใหม่ในปริมาณมากที่สุดในประเทศไทยและนอกจากนี้ยังเป็นหลุมขุดค้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 รูปแบบสมัยหินใหม่

-          การตั้งหลักแหล่งถาวร

-          การเพาะปลูกข้าว

-          การเลี้ยงสัตว์

-          การใช้เครื่องมือหินขัด

-          การมีช่างฝีมือเชี่ยวชาญในการทำภาชนะดินเผาลายกดจุด

-          การมีประเพณี  พิธีกรรมการฝังศพที่ซับซ้อน

-          การแลกเปลี่ยนผลผลิตกับชุมชนต่างถิ่น

มีอายุอยู่ในช่วง 4,500 – 3,500 ปีมาแล้ว

 

มนุษย์ยุคสำริด   พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะรู้จักใช้โลหะผสม ระหว่างทองแดงกับดีบุกและตะกั่ว หรือที่รู้จักกันในนามโลหะ สำริดซึ่งนักวิชาการต่างยอมรับว่าเป็นวิทยาการที่ซับซ้อนและอาศัยความรู้ความสามารถหลายด้านเลยทีเดียว เช่น เทคโนโลยีการใช้ไฟ การหลอมโลหะ และกระบวนการหล่อโลหะ จนเกิดเป็นงานโลหกรรมที่มีรูปทรงซับซ้อน และมีลวดลายประดับมากขึ้น   มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะ   มีวิวัฒนาการ พัฒนารูปแบบเครื่องปั้นดินเผาให้มีสีสันสวยงาม ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  คือ  ภาชนะดินเผาทรงปากแตร  ซึ่งมีภาชนะดินเผาแบบนี้ก็พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

อยู่ในช่วง 3500 – 2500 ปีมาแล้ว

 

การต่างศักดิ์ทางสังคม  ซึ่งแสดงนัยถึงความแตกต่างทางสังคม  กลุ่มของศพที่มั่งคั่งจะใส่ภาชนะดินเผา  เครื่องประดับทำจากหินอ่อน  หอยทะเล (หอยสังข์)  หอยมือเสือ  ลงไปในหลุมฝังศพ ส่วนหลุมศพของคนที่ไม่ค่อยมีฐานะก็จะใส่เครื่องปั้นดินเผาลงไปประมาณ  ๔-๕  ชิ้น

 

มนุษย์ยุคเหล็ก   ถือเป็นยุคก้าวหน้าที่สุดของมนุษย์ยุคโบราณ เนื่องจากสามารถคิดค้นการถลุงเหล็ก ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสูงกว่าสำริดมาหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ได้แก่  ใบหอก  ขวาน  ภาชนะดินเผา  ได้แก่  ภาชนะแบบ  พิมายดำ   แวดินเผา  เครื่องประดับ  ได้แก่  กำไลข้อมือทำจากเหล็ก 

 

สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนกับชุมชนต่างถิ่น  คือ  การที่พบลูกปัดแก้ว  คาร์นีเลียน  อะเกต  ซึ่งเครื่องประดับแหล่านี้ไม่พบในละแวกชุมชนใกล้เคียง แต่เป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ   มีอายุอยู่ในช่วง 3500 – 2500 ปีมาแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #บ้านโนนวัด
หมายเลขบันทึก: 267163เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะ

จะทำการบ้านส่งครูเลยค่ะ^^

น่าจะมีข้อมูลเยอะกว่านี้ขร๊ะ

...แต่ยังไงก้อขอบคุณมากขร๊ะ

ขอข้อมูลของ

"หลักฐานยุคหินใหม่ของภาคใต้"

ขอข้อมูลเรื่อง กลองมะโหระทึกยุคสำริด ใช้ประกอบกิจกรรมใดในสมัยยุคสำริด

ขะ ขะ ขอบคุณมาก มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท