เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
ห้องสมุดกรมบัญชีก...
สมุด
สรุปข่าวประจำวันข...
อี-มาร์เก็ตเพลสฝ่...
ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
อี-มาร์เก็ตเพลสฝ่ามรสุมรัฐเปลี่ยนระเบียบจัดซื้อ
อี-มาร์เก็ตเพลสฝ่ามรสุมรัฐเปลี่ยนระเบียบจัดซื้อ
ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เผชิญมรสุมหนัก หลังภาครัฐเปลี่ยนแปลงระเบียบจัดซื้ออี-ออคชั่น
ขาดความชัดเจนสเปคกรรมการภายนอก งานหด 40% แถมรัฐมีปัญหาเบิกจ่ายงบ ส่งผลประมูลเสร็จ ชวดเซ็นสัญญา ชะลอจ่ายเงิน เชื่อตลาดจะฟื้นตัว กลับมาแข่งดุหลังมิถุนายน
นายมรกต ทวีศรี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท พันธวณิช จำกัด ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-มาร์เก็ตเพลส) กล่าวว่า เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์หดหายไป 30-40% จากการเปลี่ยนผ่านประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ที่มีปัญหาหลักระเบียบที่กำหนดคุณสมบัติคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งระบุกว้างเกินไป กระทั่งหน่วยงานรัฐที่จะประมูลไม่มั่นใจที่จะสรรหาคนภายนอกมาเป็นคณะกรรมการได้ อีกทั้ง บางส่วนเกิดจากการเปิดโอกาสให้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ร่างทีโออาร์ที่ประกาศบนเว็บของหน่วยงาน ทำให้ต้องกลับไปแก้ไขใหม่ และยังต้องประสบปัญหาบางหน่วยงานขาดผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจและลงนาม รวมถึงบางกรณีเอกชน ผู้ชนะประมูลเสร็จแล้ว ไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมให้ตลาดกลาง เพราะหน่วยราชการไม่มีเงิน
นอกจากนั้น ในช่วง 2 เดือนนี้ บริษัทผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้เวลาขยายสถานที่ ในต่างจังหวัดเพื่อรองรับระเบียบใหม่ที่ให้ผู้เข้าประกวดราคาเข้ามาประมูลในสถานที่เดียวกัน จึงไม่ได้รับลูกค้ารัฐมากนัก อย่างไรก็ตาม คาดว่า ช่วงเดือนมิถุนายน ตลาดกลางน่าจะพร้อมแข่งขันรับลูกค้าอีกครั้ง และหน่วยงานรัฐก็น่าจะปรับตัวกับระเบียบใหม่ได้คงที่ "สิ่งที่น่ากังวลต่อไปก็คือ หากงบประมาณปี 2549 มีการใช้จ่ายล่าช้าออกไปปลายปี และโครงการเมกะโปรเจคไม่ออก ต้องส่งผลกระทบกับการประมูลของตลาดกลางแน่ ซึ่งโดยเฉลี่ย การประมูลของภาครัฐราว 10,000 ครั้ง" นายมรกต กล่าว
ด้านนางลัดดาพร เหลืองเรืองโรจน์ ผู้จัดการโครงการ บริษัท ฟรีอินเทอร์เน็ต จำกัด กล่าวว่า ช่วงไตรมาสแรก ตลาดมีความชะงักงันมาก โดยส่วนของบริษัทใช้เวลากับการลงทุนปรับปรุงสถานที่เพื่อรองรับระเบียบใหม่ โดยเฉพาะ
พื้นที่ต่างจังหวัดที่เปิดสาขาเอง 3 แห่ง ขณะที่ภาครัฐเอง ก็เลื่อนโครงการออกไปมาก โดยบางหน่วยงานท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ต้องออกหนังสือเวียนให้ทุกหน่วยงานรับทราบถึงระเบียบใหม่เพื่อปฏิบัติตาม ซึ่งบางจังหวัดยังไม่ได้รับแจ้ง ทำให้ไม่สามารถประมูลได้
แหล่งข่าวจากตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์อีกรายหนึ่ง กล่าวว่า กรมบัญชีกลางจะต้องมีมาตรฐานการจัดทำระเบียบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน "ไม่ลักลั่น" เช่น บางรายอาจใช้ฉากมาปิด บางรายอาจทำห้องกั้นมิดชิด ที่ต้องลงทุน 3-4 ล้านบาท แต่ก็ได้รับการตรวจให้ผ่านตามระเบียบเท่ากัน ทั้งหวังด้วยว่ากรมจะไม่เปลี่ยนแปลงระเบียบบ่อยครั้ง เพราะเอกชนที่ได้ลงทุนไป จะได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐ และหากจะเปลี่ยนแปลงใด ๆ อีก น่าจะประชาพิจารณ์ก่อน "มีความเป็นไปได้ว่าต่อไป หากมีปัญหาในการประมูล หน่วยงานรัฐ อาจแตกงบประมาณย่อยในแต่ละโครงการให้ลดลง เพื่อให้ต่ำกว่า 2 ล้านบาท เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้อี-ออคชั่น และอาจเลี่ยงไปใช้อี-ชอปปิง แทน" แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน นายเชิดชัย มีคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ
กรมบัญชีกลาง
กล่าวว่า ปัญหากรรมการบุคคลภายนอกนั้น สามารถเป็นทั้งข้าราชการบำนาญ บำเหน็จ หรือผู้แทนเอ็นจีโอ สมาคมต่าง ๆ ทั้งสามารถได้รับเบี้ยประชุมสิทธิประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการประเมินผลการใช้ระเบียบใหม่ ภายใน 3 เดือน
กรุงเทพธุรกิจ 3 พฤษภาคม 2549
เขียนใน
GotoKnow
โดย
ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library
ใน
สรุปข่าวประจำวันของห้องสมุดกรมบัญชีกลาง
คำสำคัญ (Tags):
#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26612
เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 10:12 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:50 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
ห้องสมุดกรมบัญชีก...
สมุด
สรุปข่าวประจำวันข...
อี-มาร์เก็ตเพลสฝ่...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท