๓๒. ข้อควรระวัง...การกู้ยืม


การกู้ยืม และข้อควรระวัง

ด้วยในวันที่ ๑๒  มิถุนายน ๒๕๕๒  สำนักงานอัยการเขต ๓  มีโครงการจะเปิดศูนย์บริการร่วม ภายในอาคารสำนักงานขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่มารับบริการ และให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงานต่าง ๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุด สถิติคดี และอื่น ๆ  จึงได้จัดทำแผ่นพับไว้ให้บริการแก่ประชาชนที่มารับบริการ และในแผ่นพับดังกล่าว ได้เผยแพร่ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับ..การกู้ยืม..ด้วย จึงนำมาลง อาจจะเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย....

         การกู้ยืมเงิน  คือ  สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า  ผู้กู้  ได้ขอยืมเงินจำนวนหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้จากบุคคลหนึ่งเรียกว่า  ผู้ให้กู้  เพื่อผู้กู้จะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยตามที่ประสงค์และผู้กู้ตกลงว่าจะคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้ให้กู้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทน

                   การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท  จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงข้อความว่าได้มีการกู้เงินกันจริงโดยต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือประทับในหนังสือดังกล่าวโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย ๒ คน  หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวแล้ว  ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญาไม่ได้  (ป.พ.พ.  มาตรา ๖๕๓)หลักฐานในการกู้ยืมเงิน  เช่น

                        ข้าพเจ้านายเอกได้กู้เงินจากเถ้าแก่จู๋เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐  บาท  โดยข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้ภายในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘

ลงชื่อ  นายเอก  ผู้กู้

  อัตราดอกเบี้ย

 การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ  ๑๕  ต่อปีหรือในอัตราร้อยละ  ๑.๒๕  ต่อเดือน  หากผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว  ผลก็คือดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด  ผู้ให้กู้คงเรียกให้ผู้กู้ยังต้องติดคุกเพราะมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  อาจถูกจำคุกไม่เกิน    ปี  หรือปรับไม่เกิน    พันบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  (ตาม พ.ร.บ.  ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  พ.ศ. ๒)

                        แต่ในกรณีที่ไปกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่น ๆ  เช่น บริษัททรัสต์,  บริษัทเงินทุน,  โรงรับจำนำ  ฯลฯ  นั้นกฎหมายยินยอมให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินดังกล่าวคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้

 

 ข้อควรปฏิบัติในการชำระหนี้

๑. ต้องเรียก  ใบรับเงินชำระหนี้  ทุกครั้งที่ชำระโดยให้ผู้ให้กู้  (เจ้าหนี้)  ทำหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้  ว่าได้รับเงินคืนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดหรือได้รับคืนครบถ้วนแล้ว

๒. กรณีที่ผู้กู้ได้ชำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้จนครบถ้วนแล้ว  ผู้กู้จะต้องขอรับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้มาทำลายเสีย

๓. ในกรณีที่ผู้กู้ชำระเงินคืนเพียงบางส่วน  นอกจากมีใบรับเงินแล้ว  ผู้กู้จะต้องให้ผู้กู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสัญญากู้ว่าได้มีการชำระเงินคืนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใดโดยผู้ให้กู้จะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งวันที่

                        หากผู้กู้ไม่ทำตามข้อ ๑-๓  แล้วหากมีการโต้เถียงกันว่าได้มีการคืนเงินกันแล้วเป็นจำนวนเท่าใดผู้กู้ก็จะตกเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบผู้กู้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  ผู้กู้จึงต้องระมัดระวังให้ดี  จะอาศัยความเชื่อใจอย่างเดียวไม่ได้  มิฉะนั้นจะต้องเสียใจในที่สุดเสียรู้คนและต้องเสียทั้งเงินซ้ำอีกครั้ง

อายุความในการฟ้องร้อง

 เมื่อได้ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว  หากจะต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระคืนแล้วเจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระคืนเจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน  ๑๐ ปี  นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญา  ถ้าพ้นกำหนดนี้แล้วคดีเป็นอันขาดอายุความ  ผู้ให้กู้  (เจ้าหนี้)  ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลได้

     ข้อควรระวังในการกู้                  

 

      ๑. จะต้องไม่เซ็นลงในกระดาษเปล่าให้แก่ผู้ให้กู้โดยเด็ดขาด

      ๒. จำนวนเงินในช่องว่างในสัญญากู้ยืมเงินนั้นจะต้องลงจำนวนเงินที่กู้กันจริง ๆ เท่านั้นและต้องเขียนจำนวนเงินที่กู้กันนั้นเป็นตัวหนังสือกำกับตัวเลขจำนวนเงินดังกล่าวด้วยเสมอเพื่อป้องกันมิให้ผู้ให้กู้เติมตัวเลข  ตัวอย่าง  ข้าพเจ้าได้กู้เงิน  ๕๐,๐๐๐  (ห้าหมื่นบาท)  จากเถ้าแก่จู๋

     

       ๓. หนังสือสัญญากู้จะต้องทำขึ้นอย่างน้อย ๒ ฉบับ  โดยผู้ให้กู้ถือไว้ฉบับหนึ่ง  และผู้กู้ถือไว้อีกฉบับหนึ่ง

      ๔. ผู้กู้จะต้องนับเงินที่ตนกู้ให้เท่ากับจำนวนที่ตนได้กู้ไปตามสัญญาให้ครบถ้วนเสมอหากมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นปัญหากล่าวคือหากได้เงินไม่ครบแต่ผู้กู้ได้ลงมือชื่อในสัญญาให้แก่ผู้ให้กู้แล้วผู้ให้กู้อาจโกงผู้กู้ในภายหลังว่าได้มอบเงินให้แก่ผู้กู้ไปจนครบถ้วนแล้ว

        ๕. พยานลงชื่อในสัญญากู้ ควรเป็นพยานของฝ่ายผู้กู้จำนวน ๑ คน ลงเป็นพยานในสัญญากู้ด้วย

      ....ทุกย่างก้าวของชีวิต  จะไม่มีอุปสรรคนั่นอย่าหวัง ความไม่ประมาท นั่นคือเกราะคุ้มภัยของชีวิต...

 

     

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การกู้ยืม
หมายเลขบันทึก: 265308เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2009 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมชม ได้ความรู้ดีค่ะ อ่านไปใจหายไป

เพราะบิ๊กบุ๊คกำลังโดนโกงเงินพอดีเลยค่ะ

ขอให้เวรกรรมระงับด้วยการไม่จองเวร

ของคุณค่ะ

  • สวัสดีคุณบิ๊กบุ๊ค
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยม
  • ต้องขออภัย เนื่องจากคอมฯกำลังเจอไวรัส

ขอบคุณค่ะ

แวะมาทักทาย

รักษาสุขภาพนะคะ

มาเพิ่มเติมครับ การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาก็ได้ อาจจะเป็นจดหมายเขียนขอผัดผ่อนหนี้ก็ได้ เช่น ตามที่ผมยืมเงินเถ้าแก่จู๋ไปสองหมื่นบาทนั้น ตอนนี้ผมมีปัญหาทางการเงินเล็กน้อยขอเวลาผมสักเดือนจะหามาใช้หนี้ให้หมด ลงชื่อ แฉ่ง อย่างนี้ก็ถือว่าเถ้าแก่จู๋มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วครับ

อย่างที่คุณศรีกมลตอบคุณบิ๊คบุ๊คว่าเครื่องติดไวรัส เพราะเห็นเอกสารโดดไปโดดมา

ขอเพิ่มอีกนิดเรื่องการลงลายมือชื่อ คำว่าลายมือชื่อ คือการเซ็นชื่อ ส่วนลายพิมพ์นิ้วมือ ถ้าประทับลงไปในเอกสารใดๆ จะต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อสองคนเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้การรับฟังลายพิมพ์นิ้วมือมีปัญหารับฟังไม่ได้เพราะพยานไม่ครบครับ (ในเอกสารที่คัดลอกมาใช้คำว่า ลายมือชื่อ ครับ)

ช่วยกันทำมาหากินครับ อิอิ

แวะมาคารวะคะ มาที่นี่มีบรรยากาศของวิชาการที่น่ารู้มากคะ ขอบคุณมากคะที่แวะไปให้เกียรติ

ตอบให้แล้วนะคะที่นี่คะ

http://gotoknow.org/blog/maythinee/245670

  • สวัสดีอาจารย์สายธาร
  • ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ
  • สวัสดีครับท่าน
  • ขอขอบพระคุณท่านมาก ที่เพิ่มเติมในส่วนที่ขาดและเป็นสาระสำคัญเสียด้วย หวังว่าคงจะได้รับความเมตตาจากท่านอีก

 

  • สวัสดีคุณเมธินี
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ขอบคุณอีกครั้งที่ให้ความรู้ครับ

  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณที่ติดตามอ่าน
  • ว่าง ๆ เขียนเรื่องทำกรอบรูลงด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

มาอ่านเพิ่มความรู้

ยังไม่เคยกู้ แต่จะระมัดระวังค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

  • สวัสดีคุณคนไม่มีราก
  • ขอบคุณที่ติดตาม
  • อ่านหนังสือธรรมะมาก ๆ สบายใจดีครับ

คุณจำเป็นต้องมีสินเชื่อทางการเงินอย่างเร่งด่วน?

* การโอนอย่างรวดเร็วและทันทีไปยังบัญชีธนาคารของคุณ

* ชําระคืนเริ่มแปดเดือนหลังจากที่คุณได้รับเงิน

บัญชีธนาคาร

* อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2%

* การชำระหนี้ระยะยาว (1-30 ปี) ความยาว

* เงื่อนไขเงินกู้ที่มีความยืดหยุ่นและการชำระเงินรายเดือน

* * * * มันใช้เวลานานเท่าใดเพื่อเป็นเงินทุน? หลังจากส่งสมัครขอสินเชื่อ

คุณสามารถคาดหวังคำตอบเบื้องต้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง

การระดมทุนใน 72-96 ชั่วโมงหลังจากได้รับข้อมูลที่พวกเขาต้องการ

จากคุณ.

ติดต่อ บริษัท ที่ถูกต้องและได้รับใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาต

ที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้กับทุกคน

สำหรับข้อมูลและการประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการกู้ยืมเงินมากขึ้น

อีเมล์: [email protected]

ด้วยความเคารพ

เซอร์โจเอลวิลเลียมส์

เงินสด FIRM บริษัท เงินกู้

ผู้บริหารสูงสุด

โทรศัพท์: +60182913326

อีเมล์: [email protected]

webisite: cashfirmarena.wordpress.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท