ในชีวิตประจำวันของครูอาสาสมัครของศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขานั้น การจัดการเรียนการสอน หรือการจัดการเรียนรู้ของชุมชน จะมีเพียงครูเพียงศูนย์ละ 1คน ทำหน้าที่ทุกอย่าง และ 1 กลุ่มของศูนย์การศึกษา ก็จะมีครูนิเทศก์ 1 คนทำหน้าที่นิเทศงาน
ผมในฐานะของครูนิเทศก์ ซึ่งมี 6 ศูนย์ที่จะต้องดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติงานในทุกๆ เรื่อง โดยภายใน 1 เดือน จะหมุนเวียนไปเยี่ยมเยียนและพักในทุกศูนย์ ระยะเวละหรือความห่างก็แล้วแต่โอกาส ในช่วงแรกๆ ก็ต้องอาศัยการเดินเป็นหลักครับ ระยะหลังจึงจะพอมีรถมาสนับสนุน ถึงกระนั้นก็ตามก็ยังต้องเดินอยู่เป็นประจำ เพราะมีบางศูนย์ไม่มีทางรถเข้าถึง
อุปกรณ์ที่ผมจะใช้และเตรียมอยู่อย่างสม่ำเสมอ สำหรับการเดินทางก็คือ
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นกิจวัตรและของใช้จริงๆ ในชีวิตการทำหน้าที่ครูนิเทศก์ของผมนะครับ ลองมาดูภาพการทำงานจริงๆ ดูประกอบนะครับว่ามีอะไรบ้าง
ภาพนี้เป็นบางศูนย์ที่จะต้องเดินเท้าเท่านั้น ต้องข้ามลำห้วยหลายๆ จุด ช่วงหน้าฝนจะลำบากหน่อยเพราะน้ำมาก บางแห่งก็ลึกและเชี่ยว (เหตุที่ต้องเตรียมเชือกไนลอนยาวๆครับ)
ศูนย์ไหนที่มีถนนก็จะสบายหน่อย อาศัยรถวิบากในการเดินทาง
ศศช.บ้านสันปูเลย ตอนนี้น่าจะเป็นตำบลบางหินฝน ศูนย์นี้เปลี่ยนครูบ่อยมากผมต้องอยู่สอนเองที่ศูนย์นี้หลายครัง
กับเด็กๆ ณ ศศช.บ้านกองบอด จุดนี้ต้องจอดรถไว้กลางป่า แล้วจึงเดินเท้าจากบ้านแม่ศึกเลาะตามลำห้วยขึ้นไป
ศศช.บ้านถวน ตอนนั้นเด็กและผู้ใหญ่ที่มาเรียนเยอะมาก ภาพขวาถ่ายภาพก่อนเตรียมเดินทางไปบ้านกองกาย
นี่เป็นส่วนหนึ่งในบันทึก "การเดินทางกับโรงเรียนชุมชน"
วีรยุทธ สมป่าสัก
ไม่มีความเห็น