ขอความคิดเห็น


คนไทยรักษาสิทธิของตนมากกว่าหน้าที่ที่ต้องทำ

การควบคุมโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันมีมากมายหลายแบบแล้วแต่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะดำเนินการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทรัพยากรในพื้นที่ การนำภูมิปัญญาของชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ ในส่วนของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.1 จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งรับผิดชอบ 2 จังหวัดด้วยกัน ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร มีมาตรการที่เสนอและนำมาใช้ในการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้

มาตรการต่อยุง  ได้แก่ การสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายเช่น การคว่ำ การฝัง การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์(ทางกายภาพ)  การทำให้สภาพน้ำที่เหมาะสมแก่การวางไข่ของยุงลายเปลี่ยนไป  เช่น การใช้น้ำมันเครื่องยนต์ที่หมดสภาพการใช้งานใส่ลงแหล่งน้ำที่ไม่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค  การใส่ทรายทีมีฟอสในภาชนะเก็บกักนำ รวมถึงในภาวะเกิดการระบาดของโรคอาจต้องใช้การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายที่นำเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามลักษณะของที่พักอาศัยจำแนกเป็น การพ่นหมอกควัน(Foging Spray) การพ่นฝอยละออง(ULV Foging Spray)

มาตรการต่อคน  ได้แก่การแนะนำ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติที่ดี อันนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้องและการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรค

มาตรการด้านการเฝ้าระวังโรค ได้แก่การนำข้อมูลทางระบาดวิทยา มาวิเคราะห์และกำหนดเป็นเป้าหมายกำหนดในงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เช่น การใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยเปรียบเทียบระหว่างปี เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อน(Median)หลังอย่างน้อย 5 ปี ค่า Base lineและค่า Target line(จะมานำเสนอรายละเอียดในการคิด การนำไปใช้ในโอกาสต่อไป)

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 82 ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดการและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ ทำให้คนไทยมีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เกิดผู้มีสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองในการรับบริการทางแพทย์ การสาธารณสุขและการอนามัยอันจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต จนบางครั้งไม่รู้จักหน้าที่พลเมืองที่ดี ต้องการเป็นผู้รับมากกว่าการเป็นผู้ให้ ขาดความร่วมมือ ยกตัวอย่าง เช่น ภายในรั้วบ้านของตัวเองแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่เคยร่วมมือกำจัด รอการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเดียว เมื่อพบผู้ป่วยมากจนเข้าข่ายการระบาด ต้องดำเนินการพ่นหมอกควันหรือพ่นฝอยละอองเพื่อควบคุมโรค เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ใช้งบประมาณมากกว่าการป้องกันควบคุมล่วงหน้าก่อนการระบาด

ถึงเวลาแล้วหรือยังครับ? ต้องออกข้อบังคับ กฎหมายที่เกียวข้องเพื่อนำมาใช้ ก่อนจะสายเกินแก้ เพราะนิสัยคนไทยชอบรอมากกว่าที่จะทำเอง สำนักงานเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลน่าจะมีบทบาทในการออกข้อบังคับเพราะสมาชิกดังกล่าวมาจากการเลือกตั้งของคนในพื้นที่นั้นเองเพื่อนำมาใช้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เช่น การเทียบปรับเจ้าของบ้านเมื่อพบลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่สุ่มสำรวจ การใช้ประชาคมออกข้อบังคับ ขอเพียงท่านอย่ากังวลกับคะแนนนิยม เพราะสิ่งที่จะตามมามันมีค่ามากกว่า คือคำว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26489เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เห็นด้วยค่ะ น่าสนใจ ในเมื่อรูปแบบการทำงานเก่าๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมๆ ได้ ก็ถึงเวลานอกกรอบกันแล้วค่ะ

ขอขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ที่ให้ข้อมูลสัมหรับการศึกษาของผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท