เพลงกล่อมเด็กช่วยลูกน้อยแข็งแรง+โตเร็ว


 

...

การศึกษาใหม่พบว่า โรงพยาบาลที่เปิดเพลงเบาๆ กล่อมเด็กคลอดก่อนกำหนด ช่วยให้เด็กพักผ่อนได้ดีขึ้น(โยเยน้อยลง) น้ำหนักเพิ่มดีขึ้น

และที่สำคัญคือ ทำให้พ่อแม่เด็กมีอาการดีขึ้นด้วย (พ่อแม่หลายๆ รายมีอาการหนัก หงุดหงิด งุ่นง่าน ขี้บ่น วิตกกังวลมากกว่าลูกหลายเท่า) 

...

คณะวิจัยจากแคนาดาทำการทบทวนผลการศึกษา 9 รายงานพบว่า ดนตรีเบาๆ ช่วยลดความเจ็บป่วย และช่วยให้การป้อนนมเด็กทำได้ดีขึ้น

ดนตรีมีส่วนช่วยให้ร่างกายของเด็กๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดี ซึ่งวัดได้หลายทาง เช่น ชีพจร การหายใจ ฯลฯ

...

ตอนนี้หน่วยทารกแรกเกิดหันมาใช้ดนตรีมากขึ้นเรื่อยๆ

การศึกษา 6 รายงานจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ทาพบว่า ดนตรีช่วยลดอาการเจ็บปวดของเด็กที่เข้ารับการทำการตรวจรักษา เช่น การขริบอวัยวะเพศชาย การเจาะเลือดจากส้นเท้าไปตรวจ ฯลฯ

...

การศึกษา 1 รายงานพบว่า ดนตรีช่วยให้การป้อนนมดีขึ้น ส่วนอีก 2 รายงานพบว่า เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความประพฤติไปในทางที่ดีขึ้น

การศึกษาเกือบทั้งหมดใช้เพลงกล่อมเด็ก (lullabies) เป็นหลัก มีเสียงอื่นบ้างไม่มีบ้าง เช่น เสียงหัวใจเต้น เสียงในมดลูก (บันทึกเสียงแบบนี้ผ่านทางหน้าท้องคุณแม่ได้) ฯลฯ

...

การศึกษา 1 รายงานใช้เสียงพิเศษ คือ เสียงกลุ่มเด็กที่ไม่มีคำพูด (wordless lullaby) ที่ใช้เสียงผู้หญิงร้อง และมีพิณฮาร์พคลอ

โรงพยาบาลอื่นๆ ใช้ดนตรีบรรเลงคลาสสิค เช่น เพลงโมซาร์ท ฯลฯ

...

อ.ดร.มาโนช กุมาร์ (คนอินเดียชอบใช้ชื่อ "มาโนช" มาก; "กุมาร์" = "กุมาร") และคณะกล่าวว่า ภาพรวมของเพลงเบาๆ กล่อมเด็ก คือ ได้ผลดี

ศ.นพ.แอนดรูว์ เชนนาน (Andrew Shennan) สูติแพทย์ แห่งมูลนิธิเด็กทอมมีกล่าวว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา... อังกฤษ(UK)มีเด็กคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น

...

สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีลูกตอนอายุมากขึ้น... ภาวะคลอดก่อนกำหนดเพิ่มเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) โรคแทรกซ้อน เช่น หูหนวก ตาบอด ปัญญาอ่อน โรคปอดเรื้อรัง ปัญหาพฤติกรรม การเรียนรู้ช้าหรือบกพร่อง ฯลฯ

เด็กอังกฤษที่ตายในเดือนแรกเป็นผลจากภาวะคลอดก่อนกำหนด (ก่อน 37 สัปดาห์) 75%

...

สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดมีมากมาย เช่น การสูบบุหรี่ของแม่ การติดเชื้อในครรภ์ ครรภ์แฝด ฯลฯ

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 >

ที่มา                                                                      

  • Thank BBC > Music 'nurtures' premature babies. May 27, 2009. / Source > Archives of Disease in Childhood. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 29 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 264570เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท