คนเราเลือกคู่เหมือนหรือคู่ต่าง


 

...

คู่ต่างคือ คนที่มีลักษณะ(ทางกาย)ต่างจากเรา คู่เหมือนคือ คนที่มีลักษณะ(ทางกาย)คล้ายเรา การศึกษาจากบราซิลพบว่า คนเรามีแนวโน้มจะเลือกคู่ต่างมากกว่าคู่เหมือน

กลไกที่เป็นไปได้คือ การเลือกคู่ต่างทำให้มีโอกาสพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น รุ่นลูกรุ่นหลานดีขึ้น โดยเฉพาะพันธุกรรมส่วนที่ควบคุมภูมิต้านทานโรค (major histocompatibility complex / MHC) มักจะต่างกัน ทำให้ระบบภูมิต้านทานโรคในคนรุ่นต่อไปดีขึ้น

...

กลไกนี้มีความสำคัญในการอยู่รอด เนื่องจากสัตว์หรือพืชที่เหมือนๆ กันไปหมด เช่น ต้นไผ่(เกิดจากการแตกหน่อมากกว่าเมล็ด) ต้นกล้วย ฯลฯ จะมีโอกาสสูญพันธุ์สูงถ้ามีโรคระบาด ไม่เหมือนต้นไม้ที่มีความหลากหลาย (diversity) สูง

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาติมหาอำนาจพยายามเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์พืชทั่วโลกไว้พัฒนาสายพันธุ์ และขาย

...

อาจารย์มาเรีย ดา กราซา บิคาลโฮ (Maria da Graca Bicalho) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยปารานา (Parana) บราซิล

คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า คนเรามักจะเลือกคู่ที่คล้ายหรือ "คู่เหมือน"

...

กลไกที่อาจเป็นไปได้คือ คนเราอาจจะได้กลิ่นของความต่าง หรือดูจากโครงสร้างใบหน้า

การศึกษานี้ทำโดยการรวบรวมรหัสพันธุกรรม (DNA) จากเนื้อคู่ 90 คู่ และกลุ่มควบคุมแบบสุ่มอีก 152 คู่

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank Reuters

ที่มา                                                                    

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 26 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 264536เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท