สัญญาบดบังสภาวะ


สัญญาก็คือสัญญา สัญญาจะมาก็มา ต้องรักษาดีๆด้วย(ตาม)รู้ใจ

วับ-วิบ-แวบ แปล๊บ-ปลิ๊บ วิบ-วับ-แวบ

หลงตัวแสบ สัญญา พาให้ฝัน

ของเดิมเก่า คุ้ยค้นสุ่ม รุม-เร็ว-(ฉับ)พลัน

ตื่นเหมือนฝัน อยู่เหมือนตาย คล้ายละเมอ

 

ของเดิมเก่า ทำเอาเรา เกือบแทบบ้า

หลงมายา คติ-ไป ตาม(ข้อ)เสนอ

สังขารแต่ง หลอกให้อยาก หลงละเมอ

มีหลาย"เธอ" ปรนเปรอสุข  สนุกจริง  

 

วิ่ง-วุ่น-วาย ในวังวน ของปรุงแต่ง

แท้แค่แสง ตัดไปมา พาให้ฝัน

ของจริงแท้ มีอะไร ที่ไหนกัน

แค่ยึดมั่น ก็เกิดมี แค่นี้เอง

 

แต่สัญญา ตัวที่ดี ก็มีอยู่

เป็นเพื่อนคู่ ก่อนหลุดพ้น หลุดข้อหา

เราเรียกชื่อ ตัวนี้ ถิระ-สัญญา

จะได้มา จำสภาวะ ได้ตามจริง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สัญญา
หมายเลขบันทึก: 263994เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

       ตามมาเรียนรู้ครับ

       "ถิระสัญญา"

       เป็นเรื่องใหม่สำหรับผมเลยครับ  คลิ้กหาดูในกูเกิ้ล  ก็พอได้คำอธิบายมาบ้าง  ดังนี้ครับ

ถิระสัญญา  เป็นสัญญาในฝ่ายกุสล

องค์ธรรมโดยตรง
            หมายถึง  สัญญาที่เกิดพร้อมกับวิตก คือ
                                     การตรึก ใน " พระไตรปิฎก" เป็นอารมณ์

เช่น   ในขณะที่สาธยายพยัญชนะข้อความในสูตรใดสูตรหนึ่งของพระไตรปิฎก

        ชณะนั้น   จิตจะต้องอาศัยสัญญาที่มั่นคงในการทรงจำ "พยัญชนะและอรรถะ"

        นั้น ๆ

        ในขณะนั้น   การเจริญขึ้นของถิระสัญญา  จะเกิดขึ้นพร้อมกับ  "สติ"

         ซึ่งต่างก็ต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย   เพื่อให้การสาธยายเพื่อการทรงจำนั้น

         เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง และ แม่นยำ

         สัญญาที่มั่นคง  และ สติ  นี้เอง ก็ยังเป็นปัจจัยในการช่วยอุปการะแก่ สติในชีวิต

ประจำวันได้อย่างอย่างยอดเยี่ยม
         
         ไม่ว่าในขณะให้ทาน  รักษาสีล  หรือ  เจริญภาวนา  และแม้แต่ในการกระทำกิจการ

งานในทางโลก


หมายเหตุ

           พยัญชนะ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก  เป็นเหมือน " เภสัชชั้นเยี่ยม "

การสาธยายเสพคุ้น  กับ  พยัญชนะเหล่านั้น   เป็นเหมือนกับเพิ่มพูนกำลังขององค์

ประกอบต่าง ๆ ของจิต  ได้แก่  เจตสิกฝ่ายโสภณทุกดวง

          เพราะพระไตรปิฎก  มีข้อความที่เป็น  " กถาวัตถุ "   ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ

เจ้าทรงแสดง
          
          ไม่เหมือนหนังสือทั่ว ๆ ไป  ซึ่ง  "ไม่ใช่ พุทธโอสถ  และ ไม่ใช่  พุทธวิชา"

สรุป

            ด้วยเหตุนี้  ผู้ที่ทรงพระไตรปิฎก  จึงเป็นการเจริญ " ถิระสัญญา"  อันเป็นเหตุใกล้ให้สติเกิดขึ้นได้  ตามนัยยะแห่ง  " คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค "
       อ่านแล้ว ยังไม่ค่อยเข้าใจหรอกครับ  ตอนนี้ ยังมึนๆจากงานอยู่ วันหลังจะกลับมาศึกษาอีกที
 
                    ขอบคุณครับสำหรับสาระดีๆ
         

ขอบคุณมากครับ คุณ small man ที่แวะมาให้กำลังใจ

เพื่อนที่ดีในโลกเสมือนแห่งนี้มีมากมายจริงๆ

สวัสดีครับ พี่มาดฮาร์ดคอร์ และท่านรองตัวเบา

ผมได้ยินพระอาจารย์ปราโมทย์ท่านเทศน์บ่อยๆ ว่า

"ถิรสัญญา" เป็นเหตุใกล้ ให้เกิด "สติ" เห็นท่านว่ามีบัญญัติไว้ในอภิธรรม

แล้วท่านก็อรรถาธิบายต่อว่า

ถิรสัญญา ก็คือการรู้ "สภาวะ" นั่นเอง

หากใครฝึก รู้สภาวะ จำสภาวะ ที่เกิดขึ้นกับกาย และใจได้แม่นๆ  "สติ" ก็จะเกิดเอง และเป็นสติที่มีกำลังกล้า

....

สำหรับผมตอนนี้ สติยังไม่ค่อยมี สตังค์ก็เริ่มหดหาย  ขอฝึกดูสภาวะไปพลางๆ ครับ รู้ตัวดีว่าหนทางยังอีกไกล

....

ก่อนนี้ดีใจ....ที่ได้แลกเปลี่ยน ทักทายกัลยาณมิตร

ตอนนี้ชักท้อใจ....เมื่อรู้ว่ายังไม่ถึงไหน

เฮ้อ....ท่านว่าให้รู้มันไป ๆ

ขอบคุณ น้องซวงที่ช่วยขยาย

เป็นกำลังใจให้กันและกันต่อไป

แวะเข้ามาทักทายค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณ คุณหมออัจฉราครับ

แม้รู้ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

แต่ยังต้องการกำลังใจอยู่ครับ

และเพิ่งรู้ว่าตัวเองเป็นคนขี้เหงาครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับผม

สวัสดีครับ

คุณซวงบอกว่าช่วงนี้พี่มาดฮาร์ดคอร์หายไปไหนพักใหญ่ เลยมาช่วยตามหากัลยาณมิตรในดาวดวงเดียวกันครับ

สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท