บทสนทนาระหว่างอาจารย์เกษียณ กับ อาจารย์ประจำ คู่หนึ่งของราชภัฏฯแห่งหนึ่ง


 

บทสนทนา

ระหว่างอาจารย์เกษียณ กับ อาจารย์ประจำ คู่หนึ่งของราชภัฏฯแห่งหนึ่ง

 

อาจารย์ประจำ :     อาจารย์ค่ะ ทางโปรแกรมฯเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาว
                          บ้านอยากจะให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน  ระหว่างผู้มี
                          ภูมิปัญญากับเด็ก ๆ และเยาวชนในท้องถิ่นนั้น ๆ  อาจารย์พอทราบบ้าง
                          ไหมว่า ที่ไหน มีภูมิปัญญาอะไร น่าสนใจบ้างคะ

อาจารย์เกษียณ : ไม่ค่อยรู้เลยครับ  เป็นคนท้องถิ่นก็จริง แต่ชีวิตคลุกคลีกับท้องถิ่นน้อย 
                          เลยไม่ค่อยรู้จักท้องถิ่น  

อาจารย์ประจำ  :  เพราะอะไรหรือคะ

อาจารย์เกษียณ :  ตอนเด็ก ๆชีวิตก็อยู่ระหว่างบ้านกับโรงเรียน เช้าไปเย็นกลับ ๆ ไม่ได้ไป
                           ไหน  โตหน่อยมาเรียนที่โรงเรีนยฝึกหัดครู อยู่ประจำ ไม่ได้ไปไหน
                           เรียนจบก็ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ไม่ค่อยได้กลับบ้าน นานกลับมาที
                           กลับมาก็อยู่กับบ้าน  เรียนจบไปทำงานอยู่เชียงใหม่อยู่ 7-8 ปี  ปีหนึ่ง
                           กลับบ้านครั้งหนึ่ง  มา 2-3 วันก็กลับ  หลังจากนั้นก็ย้ายกลับมาทำงานที่
                           วิทยาลัยนี้  ก็ไม่ค่อย
ได้ไปไหน ส่วนใหญ่ก็อยู่ในนี้ บ้านลาดนาน ๆไปที
                           ไปก็อยู่ในหมู่พี่ ๆน้อง ๆ ไม่ได้คบค้าสมาคมกับใครกว้างขวางเลย
อาจารย์ประจำ : 
ทางโปรแกรมฯคิดกันว่าภูมิปัญญานี่สำคัญ  และเห็นว่าเดี๋ยวนี้เด็ก ๆรุ่น
                          หลังไม่ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาที่อยู่ในท้องถิ่นของเขา  ทางโปรแกรมฯอยาก
                          ไปจัดเวทีเพื่อให้โอกาสให้ผู้มีภูมิปัญญาได้เจอกับเด็ก ๆ   มีการเล่าสู่
                          เด็ก ๆทำนองเป็นมุขปาฐะ มีการสาธิตวิธีการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ดู
                          หรือให้เด็ก ๆได้ลองทำบ้าง แบบนี้  ของเก่า ๆมันจะไม่ได้สูญหายน่ะค่า
                         
แต่ไม่รู้ว่า  จะเอาภูมิปัญญาอะไร  ที่ไหน  แถว ๆนาพรมก็ได้ข่าวว่าเขา
                          ทำขนมหม้อแกงกัน  เขาว่ามีฝีมือ อาจารย์ว่าดีไหม
  

อาจารย์เกษียณ :  ก็น่าสนใจนะครับ  แต่จริง ๆแล้วขนมหม้อแกงก็มีการทำกันทั่ว ไปใน
                          เพชรบุรีนะ  เรื่องภูมิปัญญานี่  ผมว่ามันมีทั่วไปนั่นแหละและมีหลาก
                          หลายด้าน  มีทุกด้าน  แถว ๆบ้านผมเรื่องยาแผนโบราณก็ยังมี  ช่างทำ
                          บ้านทรงไทยก็มี  ยังมีอะไร ๆที่ยังหลงเหลืออยู่  แต่พวกเราไม่ค่อยรู้
 
อาจารย์ประจำ  :  ทางโปรแกรมฯคิดกันว่า จะเลือกภูมิปัญญาอะไรสักเรื่องหนึ่ง แล้วไป
                           จัดเวที สักครั้ง หรือ สองครั้ง

อาจารย์เกษียณ : 
 ถ้าเราไปจัดแบบนั้น  จัดเสร็จทุกอย่างมันก็เสร็จอยู่ตรงนั้น  อย่างดีก็
                           อาจไปพูดต่อกันอีก สองสามวัน  ในที่สุดมันก็ถูกลืมเลือนเหมือนไม่มี
                           อะไรเกิดขึ้น

อาจารย์ประจำ :  ถ้าอย่างนั้นเราก็มีการบันทึกเอาไว้นะว่า มีการพูดถึงภูมิปัญาญาเอาไว้
                          อย่างไร  เช่น บันทึกสูตรขนมหม้อแกงของบ้านนาพรมเอาไว้  บันทึก
                          ภาพหรือวีดิโอขั้นตอนการทำเอาไว้  พิมพ์เป็นเอกสาร  แล้วเอาเก็บไว้ที่
                          ศูนย์ข้อมูลเมืองเพชร  บางส่วนก็เผยแพร่ ใครสนใจก็แจก  ก็เผยแพร่ไป
                          ตามที่ต่าง ๆ

อาจารย์เกษียณ : 
ก็คิดว่าเป็นประโยชน์  แต่ผมว่าถ้าเราคิดทำแค่นี้มันเล็กเกินไปในฐานะที่
                           เราเป็นสถาบันอุดมศึกษา  ผมมองว่าถ้าเราจะทำ  ต้องมองไปให้ถึงจุด
                           หมายปลายทางที่เป็นองค์ความรู้ เป็นสติปัญญาของสังคมได้ มัน
                           ต้องออกมาเป็นระบบ เป็นชิ้นเป็นอัน  
 
อาจารย์ประจำ  :  เราคิดทำในระดับโปรแกรมฯน่ะอาจารย์  มีเงินน้อย มีคนน้อยน่ะ 

อาจารย์เกษียณ :  ก็ไม่รู้นะเรื่องเงิน เรื่องคนนี่ อยู่ที่การจัดการนะ แต่ถ้าเป้าหมายปลาย

                           ทางของการจะทำอะไร โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับภูมิปัญญา ผมว่ามัน
                           ต้องไม่ใช่รายกรณี  ไม่ใช่ครั้งสองครั้งแล้วเลิกกัน
  และในกรณีที่ต้อง
                           การให้มีการสืบทอดภูมิปัญญาขึ้นในพื้นที่ หรือในท้องถิ่นใด ๆ  การลง
                           ไปดำเนินการอย่างที่อาจารย์ว่า  ผมคิดว่ามันก็ไม่ใช่บทบาทของเรานะ

อาจารย์ประจำ  :  เอ้อ.......

 อาจารย์เกษียณ :  เรื่องอย่างนี้ก็ต้องให้ท้องถิ่นเขาดำเนินการกันเอง ถ้าเขาทำมันถึงจะเกิด
                           ผลแก่ท้องถิ่นของเขา  เราไปทำ ครั้ง สองครั้ง แล้วเราก็กลับมา  พอเรา
                           กลับมา  สิ่งที่เราลงไปทำ มันก็ตามเรากลับมาด้วย
 

อาจารย์ประจำ  :  แล้วบทบาทของเราที่ควร  ควรทำอย่างไร
อาจารย์เกษียณ : 
บทบาทของเราควรเป็นการกระตุ้น หนุน และเสริมเขา   ถ้าเรื่องใดที่
                           เห็นว่าสำคัญ  เ
ราจะต้องไปทำให้เขามองเห็นความสำคัญด้วย  วิธีทำ
                           งานไม่ใช่ลงไปทำเอง เราต้องมองหาเจ้าภาพตัวจริงในพื้นที่  ดูว่าเรื่อง
                           นั้น ๆ ใครควรเป็นเจ้าภาพ  
เจ้าภาพ คือ คน กลุ่ม หรือองค์กรในท้อง
                           ถิ่นนั้น ซึ่งโดยปรกติควร หรือ ต้องมีหน้าที่ที่จะทำเรื่องนั้น ๆอยู่แล้ว 
                          
แต่ปัจจุบันยังไม่ทำ หรือทำอย่างไม่ถูกทิศถูกทาง หาเจ้าภาพตัวจริงให้
                           เจอ
  แล้วไปกระตุ้นหนุนเสริมเจ้าภาพนั้น ๆ  ส่วนจะไปกระตุ้นอย่าง
                           ไร หนุน อย่างไร และเสริม อย่างไร  ผมว่าพวกเรามีสติปัญญาที่จะทำ
                           ได้อยู่ล้นเหลือ
 

อาจารย์ประจำ  :  ขอบพระคุณค่าอาจารย์  พอดีมีนัดให้คำปรึกษานักศึกษา ต้องขอตัว
                           ก่อนนะคะ  โอกาศหน้าค่อยเรียนปรึกษาอาจารย์ใหม่นะคะ

 

 

 ปัญหาชิงรางวัล : ให้ท่านทายว่า การสนทนาเรื่องนี้  ระหว่างคู่สนทนาคู่นี้จะเกิดขึ้นอีก
                            หรือไม่

                      ใครที่ตอบไม่ถูกจะเป็นผู้ที่ได้รับรางวัล

paaoobtong
  28/05/52
10:56

                         
หมายเลขบันทึก: 263898เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รออ่านครับ ฮ่าๆๆ อาจาย์สบายดีไหมครับ

  • สวัสดี อาจารย์ขจิต
  • สบายดีครับ มีปัญหาทางเทคนิคการพิมพ์ครับ ขออภัยด้วย
  • ไม่ทราบว่าอาจารย์มีโอกาสได้อ่านแล้วหรือยัง ถ้าได้อ่านโปรด comment ให้หน่อยนะครับ
  • ขอให้มีความสุขครับ

paaoobtong
28/05/52
15:35

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • อ่านแล้วคิดวิเคราะห์ค่ะ (เหมือนเวลาสอนเด็ก)
  • จริง ๆ แล้ว ครูอิงเห็นด้วยกับอาจารย์เกษียณนะคะ
  • ต้องมองหาเจ้าภาพตัวจริงในพื้นที่
  • และคิดว่าน่าจะจบการสนทนาค่ะ ไม่ได้ดูถูกอาจารย์ประจำนะคะ
  • แต่เห็นมาเยอะมากค่ะ ครูอิงคิดตามประสาครูบ้านนอกนะคะเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นนี่ ต้องใส่ความจริงจัง และ จริงใจ ค่ะ จึงจะเกิดประโยชน์กับคนในท้องถิ่นจริง ๆ
  • จึงคิดว่าน่าจะไม่มีการสนทนาในครั้งต่อไปอีกนะคะ  เหมือน ๆกับเวลาทีไปสมัครงาน เจ้าของงานสัมภาษณ์เสร็จสรรพ แล้วบอกว่า เราจะติดต่อกลับไปนะครับ แล้วก็หายเงียบไปเลย  อิ..อิ..อิ...
  • สวัสดีครับครูอิงจันทร์
  • สงสัยครูอิงจันทร์จะไม่ได้รางวัล
  • แต่ยังไม่แน่นะครับ ต้องรอไปอีกสักระยะหนึ่ง
  • ได้ผลอย่างไรจะรายงานให้ทราบนะครับ
  • ขอให้มีความสุขนะครับ

paaoobtong
28/05/52
21:56

คาดว่าคนที่คุยด้วยหายเงียบไปครับ แต่มหาวิทยาลัยในท้องถิ่นสมควรอย่างยิ่งที่จะทำบทบาทแบบที่อาจารย์แนะนำครับ รออ่านผลต่อครับ...

  • สวัสดีครูอิงจันทร์ และอาจารย์ขจิต
  • ขอแสดงความเสียใจdy[ท่านอาจารย์ทั้งสองด้วย เพราะตอบถูกเลยไม่ได้รางวัลนะครับ
  • ตั้งแต่วันนั้น การสนทนาเรื่องนี้เงียบไปเลย ได้พบปะทักทายกับท่านที่นำเรื่องภูมิปัญญาที่ว่านี้อีกหลายหน ทักกันนิดหน่อยแล้วก็ต่างคนต่างไป
  • ได้ข่าวว่าผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีดำริจะนำครูบาอาจารย์จำนวนหนึ่งลงไปพัฒนาพื้นที่ที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน  หากได้รายละเอียดมาเมื่อไร จะเอามาเล่าให้ฟังนะครับ
  • ขอให้มีความสุขนะครับ
  • สวัสดีครับ

paaoontong
17/07/52
00:38

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท