พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ ตอน วิทยาศาสตร์ในฐานะของสาขาหนึ่งของปรัชญา


พุทธศาสนา วิทยาศาสตร์

ภาพ: แดนนิพพาน

ได้โอกาสลงมือเขียนเกี่ยวกับความเห็นของผม เรื่องความเหมือนและความต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา หลังจากที่ผลัดไปนาน
ก่อนที่เราจะคุยกันถึงเรื่องของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา เรามาพิจารณากันก่อนครับว่า สองสิ่งนี้มีหน้าที่อย่างใร เพื่อจะได้เข้าใจสองสิ่งนี้มากกว่าความรู้สึกที่ผิวเผินเช่น วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของคนประหลาดๆ หรือศาสนาเป็นเรื่องของคนที่ไม่เอาสังคม
โดยพื้นฐานแล้ว วิทยาศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาครับ เป็นวิธีการค้นหาความจริงในธรรมชาติ อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่มนุษย์สังเกตได้ ว่ามีที่มาอย่างไร หัวใจสำคัญของวิทยาศาสตร์คือ การสามารถทำซ้ำได้
นั่นคือหากเราสังเกตประสบการณ์ที่เราสนใจ แล้วก็มาพิจารณาว่าเกิดจากปัจจัยอะไรประกอบเข้าด้วยกันได้ แล้วก็พิสูจน์ว่าคำอธิบายของเราเป็นจริงหรือเปล่าโดยประกอบปัจจัยเข้าดัวย กันตามที่เราเข้าใจ หากได้ผลตามที่คาดไว้ ก็เชื่อได้ว่าเราอธิบายได้ถูกต้อง
ตรงกระบวนการอธิบายนี่แหละครับที่วิทยาศาสตร์นำเอาเครื่องมือต่างๆโดยเฉพาะ คณิตศาสตร์เข้ามาช่วย จนทำให้เราเห็นสัญญลักษณ์ต่างๆเต็มกระดานไปหมดพร้อมกับมนุษย์บุคลิกประหลาดๆ หัวฟู พิจารณาสัญญลักษณ์ที่เราดูแล้วเหมือนลายแทงพวกนี้
จากนั้นเมื่อพอใจกับคำอธิบายแล้ว ก็จัดการสร้างปรากฏการณ์นั้นขึ้นมา ซึ่งมักออกในในรูปของเครื่องไม้เครื่องมือที่ไม่คุ้นตา เพื่อประกอบปัจจัยต่างๆเข้าด้วยกันตามคำอธิบาย

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้จำกัดตัวเองไว้ที่ห้องทดลองครับ กระบวนการวิทยาศาาตร์นำมาใช้กับการค้นหาความจริงหลากหลายรวมทั้งความเป็นไป ในสังคมมนุษย์ด้วย เช่นการอธิบายพฤติกรรมในการบริโภค การตลาด การปกครอง เศรษฐกิจ ฯลฯ

ความเข้าใจธรรมชาติผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฏการณ์ในธรรมชาติได้อย่างใจ เช่นเอาน้ำมันมาเผาในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ก็จะได้กำลังงานออกมาพารถยนต์วิ่งไปไหนต่อไหนได้แทนแรงของคนเอง
การนำความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาติมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์นี้เราเรียกว่า เทคโนโลยี ไงครับ

และจริงๆแล้วเราจะพบว่า มนุษย์เราหลงไหลในความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีจนมองไม่เห็นความเรียบง่ายและใกล้ตัวของวิทยาศาสตร์

หน้าที่ของวิทยาศาตร์คือ การอธิบายความจริงครับ โดยมีแนวทางสำคัญที่การทำซ้ำได้เพื่อยืนยันคำอธิบายของปรากฏการณ์

และการอธิบายความจริง ก็เป็นหน้าที่ของศาสนาด้วยเช่นกัน ต่างกันที่แต่ละศาสนาต่างก็มีคำอธิบายที่แตกต่างกันไป ในสมัยเริ่มแรกของอารยธรรม มนุษย์อธิบายความเป็นไปของธรรมชาติรอบตัวว่าเป็นไปด้วยการควบคุมของสิ่งมี ชีวิตที่มีภูมิปัญญาและอำนาจกว่ามนุษย์แต่มีพฤติกรรมคล้ายมนุษย์ ผ่านออกมาในรูปของเทพเจ้าหรือภูติผี ความจริงแล้ววิทยาศาสตร์มีกำเนิดมาจากแนวคิดนี้ด้วยซ้ำ เพราะเมื่อมนุษย์อธิบายด้วยการกระทำของเทพเจ้า ที่ต่อมามนุษย์ก็ได้พัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของตนเองด้วยการพัฒนาวิธี สื่อสารกับเทพเจ้าเช่นการบวงสรวง การบูชายัญ การติดสินบน ซึ่งทำให้ได้ผลออกมาตามที่มนุษย์ต้องการ สิ่งนี้ใกล้เคียงกับการทำซ้ำ กำหนดปรากฏการณ์ได้ตามต้องการของมนุษย์
วิธีสื่อสารกับอำนาจนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนออกมาในรูปของแนวทางการปฏิบัติตนของ มนุษย์เองซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นศีลธรรมจรรยา กรอบปฏิบิตที่มนุษย์ควรและไม่ควรทำ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์

ปัจจุบันศาสนามีบทบาทในการอธิบายธรรมชาติน้อยลงเนื่องจากวิทยาศาสตร์ได้ เข้ามาอธิบายสิ่งต่างๆแทนเกือบหมด โดยมีจุดแข็งที่นำมาแสดงได้ง่ายกว่า แต่ในปัจจุบันเช่นกันที่ยังมีธรรมชาติบางอย่างที่วิทยาศาสตร์ยังต้องพัฒนา ต่อไปอีกกว่าจะอธิบายได้ และนั่นคือส่วนที่ศาสนายังคงมีบทบาท

พุทธศาสนากับความแตกต่างจากปรัชญา
คราวนี้มาพิจารณาที่พุทธศาสนากันครับ โดยถือเอากรอบของคติพุทธแบบเถรวาทคือถือตามคำสอนในพระไตรปิฏก คือคำสอนโดยตรงจากพระโอษฐ์ ไม่นำเอาคัมภีร์ในชั้นหลังๆมาประกอบ ซึ่งหากเทียบกับศาสนาอื่นๆแล้วเราจะพบว่าพุทธศาสนามีขอบเขตของธรรมชาติที่ แคบมาก คืออธิบายเพียงทุกข์ของสัตว์และทางดับทุกข์เท่านั้น
ย้ำอีกนิดว่าเป็นการพิจาณาในกรอบของคำสอนเดิมนะครับ ไม่ได้รวมคัมภีร์ในชั้นหลังเช่นไตรภุมิพระร่วงซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางออกมา ที่ธรรมชาติอื่นด้วย
และในขณะที่ปรัชญารวมทั้งวิทยาศาสตร์เป็นการค้นหาความรู้ที่ไม่มีสิ้นสุด สามารถพัฒนาต่อไปได้ลึกซึ้งกว้างขวางได้ไม่จำกัด ศาสนาพุทธมีลักษณะของความรู้ที่จบลงโดยบริบูรณ์แล้ว

นั่นคือความเห็นของผมเกี่ยวกับความเหมือนและแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์ และพุทธศาสนาโดยภาพรวมครับ

หมายเลขบันทึก: 263066เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีดีดีดีดีดีดี มากกกกกกกกก ขอบคุณณณณณ ค่ะอศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท