R2R และ CAR


R2R ก็คล้ายๆกับงานวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) อาจารย์ในมหาวิทยาลัย/โรงเรียน ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการสอนของตัวเอง ทำวิจัยออกมา 1-2 หน้าก็เรียกว่าเป็นงานวิจัยแล้วเพราะแนวคิดคือจะทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ใครได้ประโยชน์ ตอบไม่ยาก ก็นักศึกษา/นักเรียนและอาจารย์นั่นเอง

มีคำถามถามว่า R2R มีกี่ระดับ

R2R เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้คิดอย่างเป็นระบบ ดังนั้นหากถามว่ามีกี่ระดับ คงพอตอบได้ว่ามี 2ระดับ (beginner, advance) ระดับแรก เป็นR2Rระดับเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อน ซึ่งอาจเป็นผู้ปฏิบัติงาน เป็นคนหน้างาน ซึ่งอยากจะพัฒนาตัวเอง แต่ไม่รู้เรื่องระเบียบวิธีวิจัยมากนัก รู้แต่ว่าอยากจะทำงานให้ดีขึ้น คล้ายๆกับงานวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) อาจารย์ในมหาวิทยาลัย/โรงเรียน ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการสอนของตัวเอง ทำวิจัยออกมา 1-2 หน้าก็เรียกว่าเป็นงานวิจัยแล้วเพราะแนวคิดคือจะทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ใครได้ประโยชน์ ตอบไม่ยาก ก็นักศึกษา/นักเรียนและอาจารย์นั่นเอง

R2R ระดับ beginner ควรใช้สถิติเชิงพรรณนา บอกค่าเฉลี่ย ร้อยละ SD. และบรรยายความเป็นไปเป็นมาตามวัตถุประสงค์ที่อยากรู้หรืออยากพัฒนาหรือเป็นวิจัยประเมินผล (ถอดบทเรียน) ปัญหาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร (เหมือนAAR: ความคาดหวัง ความเป็นจริง ปัญหาอุปสรรคที่เจอ แนวทางแก้ไขควรเป็นอย่างไร) ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดการความรู้เพื่อให้เกิด evidence base ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นๆ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งในระดับbeginner เน้นการใช้กระบวนการ KM เพื่อให้รู้แนวทางในการแก้ปัญหา และควรมีที่ปรึกษาในการทำวิจัย R2R เมื่อได้ผลงานวิจัยมาแล้วผู้เกี่ยวข้องควรชื่นชมนักวิจัยที่พยายามทำ อย่าเพิ่งติ ถ้าคนคิดจะพัฒนางานให้ดีขึ้น แต่มีคนรอบข้างคอยเป็นอุปสรรคขัดขวาง ก็คงไม่คิดอยากจะทำงานต่อ และจะไม่มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ไม่เหมือนกับ R2R ระดับ Advance เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์การวิจัยมาในระดับหนึ่ง จะพบเจอปัญหามากขึ้น ต้องคำนึงถึง EC (หากต้องเกียวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ เช่น ทดลองยา เจาะเลือด เวชระเบียน ฯลฯ) ต้องมีการ review literature อย่างเข้มข้น สถิติที่ใช้ก็มีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (การทำวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องฝังตัวกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างรอบด้าน และต้องมีการคืนข้อมูล)สถิติเชิงปริมาณ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบ (t-test)วิเคราะห์ความสัมพันธ์ (pearson’s correlation)ซึ่งระเบียบวิธีวิจัย การออกแบบการวิจัย และสถิติที่ใช้ขึ้นอยู่กับโจทย์วิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย หากออกแบบผิด สถิติผิด คำตอบก็ตอบไม่ตรงโจทย์ วิจัยเสร็จแล้วอาจไม่ตอบปัญหาที่ตัวเองต้องการรู้ก็เป็นได้ แต่อย่าลืมว่าทำR2R แล้วต้องมีความสุขนะคะ เพราะเหตุผลที่เราทำคือทำเพื่อลดภาระงานของเรา และผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดีขึ้นค่ะ และอย่าลืมคำนึงถึงการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้วยนะคะ เพราะ concept คือ Routine to Research to Routine (พัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและนำกลับไปพัฒนางานประจำอีกครั้งหนึ่ง)

จรวยพร ศรีศศลักษณ์

24 พค. 52

หมายเลขบันทึก: 262964เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2009 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 08:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Ctoon20 ขอบคุณค่ะ สำหรับสาระน่ารู้เรื่องนี้ และจะได้สมัครเข้าร่วมงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย วันที่ 16-17กค.52   ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท