น้ำอัดลมมากไปอาจทำให้อ่อนเพลีย+ไม่มีแรง


 

...

 [ flickr ]

ภาพหยดน้ำอัดลมชนิดน้ำดำ... สวยแต่อาจทำให้คนเราอ้วนหรืออ่อนเพลียได้ > Thank [ flickr ] , [ Cesar R. ]

...

อ.ดร.โมเซส เอลิซาฟ (Moses Elisaf) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยไอโอนนินา (U Ioannina) กรีซ ทำการศึกษาพบว่า การดื่มน้ำอัดลมชนิดน้ำดำ (cola) มากเกินอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย ไปจนถึงอัมพาตได้

คนไข้รายหนึ่งอาชีพทำฟาร์มนกกระจอกเทศในออสเตรเลียไปห้องฉุกเฉิน เนื่องจากหายใจไม่ออก กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหลังดื่มน้ำอัดลมน้ำดำวันละ 4-10 ลิตร

...

คนไข้อีกรายเป็นคนท้อง ซึ่งดื่มน้ำอัดลมน้ำดำวันละ 3 ลิตรติดต่อกัน 6 ปี มาด้วยอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียนมานาน

ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งน่าจะเป็นจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำมากที่สุด เมื่อเธอหยุดดื่มน้ำอัดลมน้ำดำก็พบว่า อาการดังกล่าวหายดี

...

อ.ดร.คลิฟฟอร์ด แพคเกอร์ (Clifford Packer) แห่งศูนย์การแพทย์คลีฟแลนด์ (Louis Strokes Cleveland VA Medical Centre in Ohio) กล่าวว่า เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องหายาก (= พบได้บ่อย)

คนในประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณ 10 ล้านคนดื่มน้ำอัดลมชนิดน้ำดำอย่างต่ำวันละ 2-3 ลิตร

...

กลไกที่เป็นไปได้คือ น้ำอัดลมมีน้ำตาลมาก... การนำน้ำตาลเข้าเซลล์จะต้องดึงธาตุโพแทสเซียม (potassium / K) ในเลือดเข้าไปด้วย (K เป็นเพื่อนคู่หูกับน้ำตาล) ทำให้โพแทสเซียมในเลือดต่ำลงจนเกิดอาการ

กลไกต่อไปคือ อาการเหล่านี้อาจเสริมจากการได้รับกาเฟอีนขนาดสูงมากเกิน และการดื่มน้ำตาลฟรุคโทส (fructose) ขนาดสูงมากๆ อาจทำให้เกิดท้องเสีย ซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ด้วย

...

การดื่มน้ำอัดลมมากๆ เพิ่มเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) โรคอ้วน เบาหวาน ฟันสึก ฟันผุ กระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank [ BBC ]; Thank [ flickr ] , [ Cesar R. ] 

ที่มา                                                                   

  • Thank BBC > Too much cola zaps muscle power > [ Click ] > 19 May 2009. / Source > International Journal of Clinical Practice. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 19 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 262940เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2009 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท