เรื่องดีที่ มวล. : ประชุมร่วมกับสภามหาวิทยาลัย (๓)


คำว่า “ผู้แทน” ในข้อบังคับต้องชัดเจนว่ามารักษาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่มารักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม

ตอนที่

วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒
เมื่อคืนนอนแบบหลับๆ ตื่นๆ เพราะที่นอนนอนไม่ค่อยสบาย อาจารย์เกียรติกำจรตื่นแต่เช้าออกไปเดินเล่นชมทะเล ดิฉันจัดแจงธุระส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยก็ลงไปรับประทานอาหาร ทะเลยามเช้าดูสงบดี ได้เห็นเรือประมงเล็กๆ อยู่ริมฝั่งด้วย ตั้งใจจะถ่ายภาพมาฝากแต่กล้องถ่ายรูปแบตเตอรี่หมดพอดี เที่ยวนี้ไม่ได้เก็บภาพอะไรเลย

ครึ่งวันเช้า พวกเราเข้าฟังการประชุมสภามหาวิทยาลัย ดิฉันได้บันทึกประเด็นที่สนใจไว้ดังนี้

- การใช้ Audit committee เริ่มใช้แห่งแรกที่สถาบันพระปกเกล้า เพราะต้องเสนอการดำเนินงานต่อ ครม. ออกรายงานทุก ๖ เดือน จึงให้กรรมการไปเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยได้รายละ ๑ คน เพื่อช่วยงานและสืบต่อ คนที่มาช่วยไม่ได้เป็นกรรมการ ไม่ใช่งานประจำ ช่วยเอาข้อมูลที่วิเคราะห์มาทำรายงาน จัดค่าตอบแทนเป็นลักษณะเหมาจ่ายแสดง appreciation

- เรื่องทางวิชาการ สภาฯ จะฟังสภาวิชาการเป็นหลัก

- ความรู้จากวิทยานิพนธ์ ป.เอก เกี่ยวกับปลาพลวง ต้นประ เอาไปคุยกับ อบต. เป็นการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชน สังคม อ่านประเด็นนี้ได้จากบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่นี่

- การแก้ไขข้อบังคับการศึกษาฯ ควรทบทวนเพราะโลกเปลี่ยนไปเยอะแล้ว เรื่องการเทียบโอน เดิมมีความรู้สึกกันว่าถ้าเทียบโอนจะไม่ให้เกียรตินิยม แต่ในความเป็นจริงบางคนไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่เก่งกว่าของเรา อย่าไปปิดเรื่องเรื่องจำนวนหน่วยกิตเสียทีเดียว อาจมีการทดสอบเอาได้ ควรศึกษาแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยอื่นที่มีชื่อเสียง

- การจ้างผู้เกษียณ สภาให้ประเด็นเชิงนโยบายเพิ่มเติม ต่อการจ้างตามความต้องการของมหาวิทยาลัย น่าจะคิดเชิงระบบอีกครั้ง เพราะราชการไปไกลเกินหน้าแล้ว (ถึงอายุ ๖๕ ปี บางกลุ่มถึง ๗๐ ปี) ต้องทำแผนกำลังคนและแสดงภาพให้ชัด เพราะปัจจุบันคนแข็งแรง ทำงานวิชาการมานาน ในต่างประเทศเรื่องอายุไม่เป็นข้อจำกัด ให้ไปทบทวนอย่างเป็นระบบ

- การอุทรณ์และการร้องทุกข์ต่างกัน เป็นเรื่องคนละระดับความทุกข์ คำว่า “ผู้แทน” ในข้อบังคับต้องชัดเจนว่ามารักษาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่มารักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ให้ทำความเข้าใจเรื่องการทำหน้าที่ ปัญหาที่เกิดมักไม่ใช่เรื่องการข่มเหง แต่เป็นตัวการจัดการในระบบเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องไปเอาใจใส่ในการบริหารจัดการภายใน อ่านประเด็นนี้เพิ่มเติมจากบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่นี่

- การ strengthen graduate study = การ strengthen research

- การตรวจสอบ ประเมินผล สำหรับมหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างการเริ่มต้นการวางระบบ
     o ทำให้เห็นภาพรวม ความเคลื่อนไหว ชี้ให้เห็นสิ่งที่คนระหว่างทำมองไม่เห็น
     o ประเด็นที่ควรช่วยกันคิดต่อ ที่ทำรายงานมาเป็นการประเมินเทียบกับแผนและเทียบกับอดีต ที่ยังไม่ได้ทำคือการเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นและเทียบกับภาพรวมว่าเราอยู่ตรงไหน  positioning ว่าเราอยากอยู่ตรงไหน เราเดินอย่างไร งุ่มง่าม หรือเป๋ ทำให้ผู้ปฏิบัติในมหาวิทยาลัยเห็นชัดว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ได้เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนทำ อ่านประเด็นนี้ได้จากบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่นี่
     o ปัญหาเชิงคุณภาพของงานวิจัย วารสารต่างประเทศบางเล่มยังมีปัญหา
     o มหาวิทยาลัยจะ response หรือ react โดยมีการวิเคราะห์ อาจมีหน่วย เช่น วิจัยสถาบัน ไป work เอง
     o เป็นการ audit เพื่อดูว่าแผนที่สภาอนุมัติไป ได้นำไปสู่การปฏิบัติและปฏิบัติแล้วเกิดปัญหาอะไร ถ้ามีปัญหาสภาต้อง warning ผู้บริหารต้องเอาไปปรับปรุง แก้ไขหรือดูแลแก้ไข
     o ทำแต่น้อย เอาเรื่องที่จำเป็นจริงๆ มีกรอบเวลาเพื่อให้สภาได้ใช้ประโยชน์ ดู performance ตามแผน ดู management เพื่อสนับสนุนแผน จึง limit ไม่ต้องการให้เป็นเรื่องการจับผิด ให้คุณให้โทษ
     o ต้องมีการตกลงกันก่อน และประชุมว่าข้อค้นพบ valid หรือไม่

- ความห่วงใยเรื่องการรับนักศึกษา ควรสำรวจความพร้อมและความเข้มแข็งทางวิชาการ
     o การทำ Honour program หรือหลักสูตร ป.ตรี ก้าวหน้า เป็นหลักสูตรที่ท้าทายความสามารถของนักศึกษา ได้เรียนในรายวิชาที่หลักสูตรปกติไม่เปิดหรือได้เรียนวิจัยมากขึ้น อาจเรียนรายวิชาในหลักสูตร ป.โท
     o การรับเด็กที่ผ่านโครงการโอลิมปิก

- ให้ไปสังเคราะห์ผลการสัมมนากลุ่มย่อยและเอาเรื่องเชิงนโยบายเข้าสภา เรื่อง Blueprint for change No.1 ขององค์กรต้อง lead สิ่งที่จะ change ต้องเป็นเรื่องที่เห็นพร้องต้องกัน

- Request จากกรรมการสภา
     o ประเด็นเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
     o การบริการวิชาการ ให้ไปศึกษาและเสนอประเด็นเชิงนโยบาย น่าจะคิดให้ใหญ่ เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเดิม กลับทาง เป็นการร่วมกันเรียนรู้ กลายเป็น partner ถ้ามหาวิทยาลัยพร้อมที่จะทำอย่างจริงจัง สสส.พร้อมที่จะมาร่วมด้วย
     o หาทางใช้กรรมการสภาในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น ประชุมช่วงเช้า บ่ายไปดูงานที่ทำ จะช่วยให้เกิด networking อาจได้เงิน โจทย์วิจัย เพราะกรรมการมี asset เยอะ


เมื่อจบการประชุม เรารับประทานอาหารกลางวัน ก่อนแยกย้ายกันเดินทางกลับ การไปประชุมนอกสถานที่บ้างก็เป็นการดี แต่ดิฉันคิดว่าน่าจะใช้ประโยชน์จากโอกาสอย่างนี้ให้มากขึ้น เช่น สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง มีกิจกรรมให้ผู้คนได้รู้จักกันและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เรียนรู้เรื่องดีๆ จากกันและกัน ไม่เพียงแต่ยกขบวนออกไปข้างนอกเท่านั้น อีกทั้งการประชุมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างดีล่วงหน้า


วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 262922เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2009 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท