ทักษะชีวิต จิตอาสา พัฒนาอาชีพ ตามไปดู..การเสริมสร้างการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนภาคใต้ (๔)


เยาวชนกับการพัฒนาอาชีพ..สืบสานงานศิลป์..

 

                         20090522151506_192

 

                                          

                     ตอนที่ ๔ ของตลาดนัดการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ ครั้งที่ ๑ ของสรส.ด้วยความสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ รร.ลิกอร์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๖-๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ เรื่อง " เยาวชนกับการพัฒนาอาชีพ ..สืบสานงานศิลป์กับวิทยาลัยศิลปะหัตถกรรม " ....

             อาจารย์สมชาย น้อยทับทิม จากวิทยาลัยศิลปะหัตถกรรม นครศรีธรรมราช เล่าถึง เครื่องถม ที่มีประวัติยาวนานของเมืองนครศรีธรรมราช (เมืองนครฯ) ที่เชื่อกันว่า โดยที่คนไทยได้รับประเพณีวัฒนธรรมบางส่วนมาจากโปรตุเกส โดยเฉพาะที่เมืองนครฯ ได้รับเอาวิธีการทำเครื่องถมมาไว้ และต่อมาได้แพร่หลายเป็นที่นิยมที่กรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏว่าสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าให้จัดทำไม้กางเขนส่งไปถวายองค์สันตะปาปาที่กรุงโรม โดยได้ทรงรับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชที่เป็นศูนย์กลางของเครื่องถม หาช่างถมที่มีฝีมือเข้ามาทำถวาย

                                                                                                                                                                  

                                            20090522152513_134            

             ปัจจุบันศิลปะการทำเครื่องถมมีเหลือน้อยมาก เป็นของมีค่าและมีราคาสูง เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือที่มีความละเอียดปราณีต และมีต้นทุนการผลิตสูงมาก เป็นหัตถกรรมพื้นเมืองที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในการฟื้นฟูส่งเสริม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปกรรมท้องถิ่นให้แพร่หลายยั่งยืนสืบต่อไป...

                                            20090522142124_188                   

                  น้อง นักศึกษาปวส. ๒ แผนกโลหะ รูปพรรณ เครื่องประดับ และอัญมณี ได้ศึกษา และฝึกฝนศิลปะด้านการทำเครื่องถมด้วยใจรัก เล่าให้พวกเราฟังอย่างภาคภูมิใจว่า...

                      - นอกจากความสุขใจที่ได้ทำงานที่พอใจและมีความถนัดแล้ว ยัง มีรายได้ระหว่างการศึกษาไม่ต่ำกว่า ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐บาทต่อเดือน จากการรับงานร้านขายเครื่องถมทั้งภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง ถ้าไม่มีรายการเข้า ก็จะไปรับจากที่ร้าน เช่นการสลักขัน ๕ นิ้ว ได้รับเงินตอบแทน ๑,๕๐๐ บาท เป็นต้น ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องขอจากผู้ปกครองด้วย

                                            20090522151610_151 
           

               - ตัวอย่างการทำกำไรข้อมือถม ทำจากเงิน ๙๕ % น้ำหนัก ๓ บาท ราคา ๓,๐๐๐ บาท ใช้เวลาในการทำ ๓ วัน ต้องใช้ความอุตสาหะและตั้งใจมาก โดยมีขั้นตอนการทำ คือ

                        --- เริ่มจากการนำเงินไปหลอม รีดให้แบน เมื่อได้ขนาดเบอร์ที่ต้องการ ต่อด้วยการใส่ชัน เพื่อเป็นตัวช่วยยึดเกาะ เพิ่มความเหนียวของตัวเนื้อโลหะ

                        --- ลงลวดลายและแกะสลักเป็นลายกนกไทยที่อ่อยช้อย หรือลายดอกไม้ที่สวยงาม ซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๑ วัน

                        --- เมื่อสลักเสร็จ นำไปตีเข้าเลากำไร คือนำขึ้นเป็นรูปกำไร

                        --- การลงยาถม โดยการนำไปเผา แช่กรด ขัดด้วยแปรงทองเหลือง แล้วล้างด้วยซัลไลต์ ก่อนนำไปลงยาถม ซึ่งต้องใช้ไฟอ่อนๆ อย่างใจเย็น

                        --- ขั้นตอนการเก็บรายละเอียด คือการตะไบยาถม และถูด้วยกระดาษทราย เพื่อลบรอยตะไบ ทำให้ผิวของชิ้นงานเรียบ

                        --- นำชิ้นงานมาแลเงา คือสลักลายให้เด่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ขัดเงาเก็บรายละเอียดเล็กน้อย แล้วนำมาล้างด้วยซัลไลต์

                   สำเร็จเป็นกำไรชิ้นหนึ่งที่สวยงาม ฝีมือเยาวชนคนเก่งของเรา....น่าซื้อน่าหามาสวมใส่  หรือซื้อเป็นของฝากที่ระลึกจากเมืองนครฯอย่างยิ่ง

                        20090522154346_102

หมายเลขบันทึก: 262693เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

* มายินดีกับกิจกรรมและชื่นชมเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจศิลปไทย

* สุขกายสุขใจนะคะ

ขอบคุณคุณP P พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)และน้องberger0123  ที่สนใจ..จะได้นำมาเล่าอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท