โอ้จอร์จ ! โรงพยาบาลถลางก็ด้วย


หน้าที่ของนางพยาบาลคือเมื่อใครเกิดก็ต้องออกหนังสือรับรองการเกิดให้ การแจ้งเกิดได้หรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของนางพยาบาล แต่เป็นเรื่องระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย กับนายทะเบียน

21 พฤษภาคม 2552

 

          เมื่อนางดา อายุ 22 ปี ให้กำเนิดบุตรที่โรงพยาบาลถลาง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 เธอและสามีของเธอไม่มีเอกสารใด ๆ (ไม่มีบัตรสีชมพู, ไม่มีทะเบียนประวัติ) จึงไม่ได้รับหนังสือรับรองการเกิด

 

                                         นางดา และเด็กหญิงเนงอิพิว

          กับนางพิวเวน อายุ 24 ปี ให้กำเนิดบุตรที่โรงพยาบาลถลาง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 เธอและสามีก็ไม่มีเอกสารใด ๆ (ไม่มีบัตรสีชมพู, ไม่มีทะเบียนประวัติ) ซึ่งไม่ได้รับหนังสือรับรองการเกิดเช่นกัน

 

                                     นางพิวเวน และเด็กหญิงตีริ

          การ X-ray ของผมที่โรงพยาบาลถลางว่าด้วยการออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) สำหรับเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ไม่มีเอกสารใด ๆ จึงเกิดขึ้น ว่าเป็นไปตามที่มารดาเด็กบอกกล่าวกับผมหรือไม่ ก็ปรากฏผลว่า

 

          นางพยาบาลไม่ออกหนังสือรับรองการเกิดให้จริง ๆ โดยอ้างว่าพ่อแม่ไม่มีเอกสารใด ๆ ไม่สามารถนำไปออกสูติบัตรได้ ผมก็บอกว่าหน้าที่ของนางพยาบาลคือเมื่อใครเกิดก็ต้องออกหนังสือรับรองการเกิดให้ การแจ้งเกิดได้หรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของนางพยาบาล แต่เป็นเรื่องระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย กับนายทะเบียน (คำยืมของอ.แหวว ขอบคุณครับ)

 

          แต่เธอก็ยังอ้างเช่นเดิม ผมเลยต้องยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการ เธอก็พร้อมที่จะออกหนังสือให้แล้ว แต่ลังเลว่าขอคุยกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลก่อน

 

          วันนี้ผมก็ยังไม่ได้รับหนังสือรับรองการเกิด ส่วนวันข้างหน้าไม่ทราบ สุดแต่ท่านผู้อำนวยการแต่ขอให้แจ้งเหตุให้กับผมทราบตามหนังสือฉบับที่คุณกับผมอ่านข้างล่าง

 

ประเด็นปัญหาที่ท่านเลขาสาวบอกผมว่า

          1.เธอจะเชื่อได้อย่างไรว่านางดา และนางพิวเวน มอบให้ผมมาจริง เพราะไม่มีเอกสารของคนทั้งสองประกอบหนังสือมอบอำนาจ

 

          2.เธอว่าตามหลักสิทธิของผู้ป่วย การเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผมอาจจะไม่ได้ เพราะปัญหาตามข้อ 1

 

          ผมก็อยากทราบเหมือนกันว่า หากทางโรงพยาบาลปฏิเสธด้วยเหตุผลทั้ง 2 ข้อข้างต้น ไม่ปฏิเสธว่าเด็กทั้ง 2 ไม่ได้เกิดที่โรงพยาบาลถลาง ผมก็จะไม่ได้หนังสือรับรองการเกิดไป ซึ่งผมต้องไปหาทางแก้ ทั้งในส่วนของข้อกฎหมายเจ้าปัญหา(ตามที่จะถูกกล่าวอ้าง) และข้อเท็จจริงในภายหลัง เป็นบทเรียนการทำงานอีกอย่างหนึ่ง

 

          แต่ทว่าความผิดของผู้ทำคลอดก็ยังมีอยู่ ตั้งแต่วันที่ไม่ออกหนังสือรับรองการเกิดให้ ซึ่งผมเพียงต้องการเพียงหนังสือรับรองการเกิด, ต้องการให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป มอบหนังสือรับรองการเกิดให้แก่เด็ก ไม่ว่าพ่อแม่จะมีเอกสารหรือไม่เท่านั้น มิได้ต้องการหมายความผิดทางอาญา

 

          ทำไปทำมาผมชักสงสัยแล้วสิว่า จะเป็นทั้งโรงพยาบาลส่วนใหญ่ทั้งประเทศไทยหรือเปล่า ที่เป็นเช่นนี้ เอวัง !

หมายเลขบันทึก: 262512เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

If you read the letter to the director of Thalang hospital, you won't meet No.3 because Thi Thi gave the child at Vachira-phuket hospital don't Thalang hospital.

อัยการชาวเกาะฝากบอกว่า

"อ้อ..ลืมบอก อ.แหวว กับจันทร์กระดาษ ว่าไปร่วมประชุมเครือข่ายคุ้มครองเด็กที่ป่าตองร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตและหน่วยงานบ้านตะวันฉาย บ้านโสสะ โรงพยาบาลป่าตอง นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์บ้านพักคนชรา ฯลฯ บอกฝากคุณชาติชายให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายและเขารับแล้ว เพียงแต่จันทร์กระดาษประสานงานไปที่มูลนิธิศุภนิมิต(คุณเกตุ)ที่ป่าตอง เวลาประชุมร่วมกันกลุ่มนี้จะช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ได้ครับเพราะเป็นสหวิทยาการที่ผมเสนอเมื่อคราวเป็นอัยการจังหวัดและเป็นกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดครับ"

http://gotoknow.org/blog/mae-ai-clinic/262724

วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ เจอกันค่ะ

มาวางแผนกันว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อป้องกันมิให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายไร้รัฐ

ด.ญ.กรวินท์ นพสุวรรณ

รักทุกคนในห้องฝ่ายบริหารงานทั่วไป

และรักทุกคนในโรงพยาบาล

 

 

ด.ญ.กรวินท์ นพสุวรรณ

ก้อขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนในโรงพยาบาลด้วยนะคะ(เป็นกำลังใจเรื่องการสร้างอาคารใหม่คืออาคารผู้ป่วยนอกถ้หนูไปโรงพยาบาลหนูจะช่วยหยอดเงินลงตู้บริจาคทุกวันและหนูก้อขอสาบานจากใจจริง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท