update องค์ความรู้การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน


เบาหวานไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มโรค ดังนั้นการจัดการกับ DM ก็ไม่ใช่การจัดการแค่โรคเบาหวาน หากแต่ต้องรวมถึง HT CVS และวิถีชีวิตด้วย
วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิ "การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ" ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ จัดโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(สพช.) สนับสนุนโดย สวรส. สปสช. สสส. HISO เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และอีกหลายองค์กร.... ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ... กล่าวถึงทิศทางการพัฒนาระบบดูแลเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ ท่านใช้คำว่าดูแล ไม่ใช่รักษา และเน้นการดูแลที่หน่วยบริการปฐมภูมิ focusการป้องกันโรคโดยทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยง พญ.ฉายศรี สุพรศิลป์ชัย... กล่าวถึง แนวโน้มและยุทธศาสตร์การจัดการเบาหวาน ต้องจัดการกับโรคเบาหวาน โดยไม่มองเฉพาะเรื่องน้ำตาลเพียงอย่างเดียว พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร... Disease management แนวคิดทิศทางที่เหมาะสมของระบบบริการในการจัดการการออกแบบระบบบริการ จะออกแบบเชิงรุก หรือเชิงรับ , สนับสนุนการจัดการตนเอง (Self management is a lifetime task), ระบบสนันสนุนการตัดสินใจ, ระบบข้อมูล หากสร้างระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง ผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชนจะดีขึ้นได้ นพ.นิพัธ กิตติมานนท์... การจัดการระบบดูแลเบาหวานแบบบูรณาการ Model รพ.พุทธชินราช .... คำนึงถึงเพื่อนและเครือข่าย เฉลี่ย level ในการดูแลรักษาให้เหมาะสม จะพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่สามส่วน คือ Hospital setting, PCU setting (ใกล้ชิดประชาชนที่สุด)ดูแลอย่างต่อเนื่อง โน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างแท้จริง, Population setting (ในชุมชน)self care เป็นคำตอบสุดท้ายของการดูแล อะไรคือความเสี่ยงต่อการเกิดโรค พฤติกรรมการสูบหรี่ การดื่มเหล้า .... ทำสามประสานให้สมดุลให้กลมกลืนและกลมเกลียว จากการนั่งประชุมในครั้งนี้ นำความรู้ไปคิดทำ R2R ต่อได้มากมาย...การแก้ปัญหาโรคเบาหวานคงไม่ได้รอแค่นโยบายจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียวเป็นแน่.... จรวยพร ศรีศศลักษณ์ สวรส. 21 พค.52
หมายเลขบันทึก: 262441เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี ครับ คุณ

P แต้ม

เป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจ นะครับ

เข้ามาเชียร์ ครับ

ขอบคุณ ครับ

 

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

ผมทำงานดูแลผู้ป่วยไตวายแบบนี้เข้าข่าย r2r หรือไม่ครับ

ชื่อเรื่อง//

ประสิทธิผลของโปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกร

วัตถุประสงค์//

วัตถุประสงค์หลักเพื่อ พัฒนารูปแบบการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตวายโดยเภสัชกร ที่สามารถชลอ การเพิ่มของระดับซีรั่มครีเอตินินเป็นวัตถุประสงค์หลัก

ในส่วนการควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว น้ำหนักตัว และการเพิ่มคะแนนคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวายเป็นวัตถุประสงค์รอง

กลุ่มการศึกษา//

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน รวม 40 คน

กลุ่มศึกษาได้โปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกร เสริมเข้าไป

กลุ่มควบคุมรับ การรักษาพยาบาลแบบปกติ

วิธีการ ดูแลผู้ป่วยไตวาย//

การให้คำปรึกษารายบุคคล 3 ครั้ง ครั้งละ 20 ถึง 40 นาที

การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที

การโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วย 6 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที

การวัดระดับความดันโลหิตด้วยตนเองหรือที่สถานีอนามัย คนละ 60 ครั้ง

การวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง คนละ 18 ครั้ง ใน 2 เดือนแรก

การค้นหาและจัดการปัญหาที่สืบเนื่องมาจากยา

การให้ เอกสารคำแนะนำ พร้อมแผ่นซีดีเสียงเรื่องการดูแลตนเอง

การให้สุขศึกษา ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตวายเรื้อรัง 2 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที

การให้ สุขศึกษา ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตวายเรื้อรัง 1 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที แก่ญาติผู้ป่วย

การแจ้งให้แพทย์ หรือผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อพบปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ผลการศึกษา//

กลุ่มควบคุม

ตาย 3 ราย

Serum creatinine 3.25 to 3.81 mg/dL significance

A1C 9.08 to 9.56 % significance

กลุ่มทดลอง

Serum creatinine 3.74 to 2.60 mg/dL significance

A1C 9.34 to 7.84 % significance

SBP 141.00 to 128.60 mmHg significance

BW 63.70 to 62.45 kg significance

QOL score 94.30 to 102.60 significance

ไม่ทราบว่า จะนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท