วิธีพูดเสริมทักษะสังคมให้ลูกหลาน


 

...

การศึกษาที่ได้รับทุนจากสภาวิจัยเศรษฐกิจและสังคมสหรัฐฯ ทำในกลุ่มตัวอย่าง 57 ครอบครัวพบว่า ลูกๆ ที่คุณแม่ช่วยอธิบายว่า ความรู้สึกของคน ความเชื่อ ความต้องการ และความตั้งใจของคนอื่นตามจริงมีส่วนช่วยให้ลูกๆ มีทักษะด้านสังคมดีขึ้น

การศึกษาแรกทำในเด็กอายุ 3 ขวบพบว่า เด็กๆ ที่คุณแม่ฝึกให้ดูภาพสถานการณ์ต่างๆ, อธิบายความรู้สึก, และสอนบทบาทคนในสังคม มีทักษะทางสังคมดีขึ้น 

...

ตัวอย่างเช่น ภาพเด็กๆ นักเรียนเดินออกจากโรงเรียนยิ้มแย้ม = "ดูเด็กๆ ออกจากโรงเรียนมีความสุขนะ", ภาพคนเข้าแถวรอคิว = "คนที่เข้าแถวเป็นระเบียบดูดี การแซงคิวไม่ดี" ฯลฯ

อ.นิโคลา ยูล (Nicola Yuill) ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ อังกฤษ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวว่า

...

การพูดคุยกับลูกหลานตอนอายุ 3-4 ขวบจะส่งผลดีชัดเจนเมื่อเด็กอายุประมาณ 8-9 ขวบ แต่ถ้าไปคุยกัน สอนกันตอนอายุ 10-12 ขวบ... ตอนนั้นจะได้ผลดีน้อยลง

ตัวอย่างของการสอนที่คุณแม่ คุณพ่อ หรือผู้ปกครองจะแนะนำให้เด็กได้ดี คือ เมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆ เช่น

...

เมื่อเด็กเล็กๆ แย่งของเล่นของคนอื่น... อาจแนะนำว่า "ทำแบบนี้ทำให้เขาเสียใจนะ" แทนที่จะบอกว่า "ห้ามทำ" , "หยุดเดี๋ยวนี้"

ตรงกันข้าม... การสอนที่เน้นให้เอาเปรียบคนอื่นอย่างเดียวมีแนวโน้มจะทำให้ลูกหลานเสียนิสัย เอาแต่ใจตัวเอง โตไปเป็นโจร หรือเป็นคนโลภมากไปตลอดชีวิต ซึ่งจะทำให้ไม่มีคนดีๆ อยากคบ (อาจจะเป็นที่ชื่นชอบของคนเลวด้วยกันก็เป็นได้)

...

ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กเล็กๆ แย่งของเล่นของคนอื่น ฯลฯ แล้วผู้ใหญ่ทำเป็นเฉย แต่กลับโวยวายเมื่อลูกหลานถูกคนอื่นแย่งของเล่น

การสอนให้ลูกหลานพูดคำว่า "ขอบคุณ ขอบใจ" หรือไหว้ขอบคุณเมื่อคนอื่นทำอะไรดีๆ ให้พร้อมกับยิ้มไปด้วย จะทำให้ลูกหลานเป็นคนมีเสน่ห์ น่าคบไปตลอดชีวิต เนื่องจากคำเหล่านี้จะทำให้คนอื่นมีกำลังใจ เช่น ทำให้คุณครูมีกำลังใจสอน ฯลฯ

...

การสอนให้ลูกหลานพูดคำว่า "ขอโทษ" ให้เป็นมีความสำคัญมากต่อทักษะทางสังคม เนื่องจากจะทำให้เป็นคนที่รู้จักเกรงใจ (considerate) ต่อความรู้สึกของคนอื่น

สังคมที่คนกล้าพูดคำว่า "ขอโทษ" มักจะมีศัตรูหรือความเกลียดชังกันน้อยลง มีมิตรภาพมากขึ้น

...

ฝรั่งหรือคนต่างชาติที่รู้จักคนไทยมักจะกล่าวว่า คนไทยเป็นคน 'nice' หรือน่ารัก... เรื่องนี้เป็นจุดแข็งทางวัฒนธรรมของคนไทยที่พวกเราควรช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้ดี

จุดอ่อนของการท่องเที่ยวไทยอยู่ที่คนไทยไม่เก่งภาษาต่างประเทศ ซึ่งถ้าคนไทยเรียนภาษาต่างประเทศไปด้วย หัดเรียนรู้ "ความรู้สึก" ของคนชาติต่างๆ ไปด้วยว่า คนชาติต่างๆ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร จะทำให้คนไทยมีทักษะทางสังคมสูง และแข่งขันกับนานาชาติในเรื่องการบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวได้ไปอีกนานทีเดียว

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank [ CNN ]

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 16 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 262158เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท