ทำไมไข้หวัดเม็กซิโกติดต่อง่ายกว่าไข้หวัดนก


 

...

ศ.ดร.เวนดี บาเคลย์ (Wendy Barclay) และคณะ แห่งสถาบันอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน อังกฤษ (UK) เร็วๆ นี้พบว่า การที่ไข้หวัดนก (bird flu) แพร่จาก "คน-สู่-คน" ไม่ค่อยได้เป็นผลมาจากจมูกคนเราเย็นเกินไป (สำหรับไวรัส)

ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ (lab.) พบว่า จมูกคนเรามีอุณหภูมิเฉลี่ย = 32C (องศาเซลเซียส) ทำให้ไวรัสไข้หวัดนก (avian flu / H5N1) หมดสมรรถภาพ และแพร่กระจายต่อไปไม่ได้

...

ไวรัสไข้หวัดนกชอบ "ของร้อน" นั่นคือ อุณหภูมิที่กำลังพอเหมาะในกระเพาะอาหาร (guts) ของนกอยู่ที่ 40C (องศาเซลเซียส = อุณหภูมิสูงกว่าไข้ทั่วไปในคน)

แต่ถ้าไว้รัสไข้หวัดนกกลายพันธุ์ได้... ตรงนี้จะน่ากลัวมากๆ เลย

...

ส่วนไวรัสที่พบในคนเป็นไวรัสชอบ "ของเย็น" นั่นคือ 32C ระดับจมูกคนเรานี่แบ่งตัวได้สบายๆ

ทั้งไวรัสคนและไวรัสไข้หวัดนกแบ่งตัวได้ดีที่ 37C = อุณหภูมิแกนกลางของคนเรา (human core body temperature) เช่น อุณหภูมิในปอด ฯลฯ

...

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนเราสามารถกลายพันธุ์ได้โดยการขอแบ่งโปรตีนจากผิวนอกไวรัสไข้หวัดนกมา ทำให้เกิดเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้

ตัวอย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ไข้หวัดหมู หรือหวัด 2009 (ชนิดเดียวกัน แต่มีชื่อต่างกัน เนื่องจากอุตสาหกรรมเนื้อในสหรัฐฯ-ยุโรปกดดันให้เปลี่ยนชื่อ) ฯลฯ สามารถแบ่งตัวไม่ได้ที่ 32C เช่นกัน

...

ไวรัสที่ชอบ "ของเย็น" มักจะแพร่กระจายผ่านละอองฝอยในอากาศจากการไอหรือจามได้ดี ส่วนไวรัสที่ชอบ "ของร้อน" มักจะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสผ่านมือได้ดี

ประเด็นนี้ทำให้การล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์มีความสำคัญมากในการป้องกันโรค

...

ไวรัสที่ชอบของเย็น (32C) เช่น จมูกคน ฯลฯ มักจะทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัส (โพรงรอบจมูก) อักเสบ ฯลฯ ซึ่งอาการไม่มากเท่าไหร่

ตัวอย่างไวรัสกลุ่มนี้คือ หวัด ไข้หวัดที่พบได้ทั่วไป

...

ไวรัสที่ชอบของอุ่น (37C) เช่น ปอดคน ฯลฯ มักจะทำให้เกิดการตัดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเฉพาะปอด คือ ปอดบวม... อาการมักจะรุนแรง

ตัวอย่างไวรัสกลุ่มนี้คือ ไข้หวัดนกที่พบการระบาดในนกและสัตว์ปีก โดยเฉพาะในเอเชีย

...

อ.บาร์เคลย์กล่าวว่า ถ้าไข้หวัดเม็กซิโกเกิดจับคู่จู๋จี๋กับไข้หวัดนก ทำให้เกิดกลายพันธุ์ใหม่ คือ เป็นไวรัสประเภทชอบของเย็น(จมูกคน)ด้วย ชอบอุ่นด้วย(ปอดคน)... คนจะตายกันมากทั่วโลกทีเดียว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank [ BBC ]

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 15 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 262150เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท