KM สุขภาวะชุมชน ภาคใต้ ครั้งที่ ๑ (๒)


ก่อนให้แต่ละทีมประเมินตนเอง ควรมีการชี้แจงเกณฑ์ระดับความสำเร็จที่สร้างขึ้นให้เข้าใจตรงกัน

ตอนที่

วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒
เริ่มกิจกรรมตอนเช้าด้วยการเสนอท่าการออกกำลังกายของผู้เข้าประชุมตามเพลงอ้วน.........อวน อ๊วน อ้วน ตัวมันอ้วน จะทำอย่างไร (ซ้ำ) คิดไม่ออก คุณ........จะบอกให้ ทำท่านี้ไง (แสดงท่า ๘ ครั้ง) จะได้ไม่อ้วน ตามภาพข้างล่าง

 

 

ดิฉันนำเสนอ “แก่นความรู้” และแนะนำการทำเกณฑ์ระดับความสำเร็จ ๕ ระดับ แล้วแบ่งกลุ่มย่อยให้ทำงานกัน แต่ละกลุ่มทำงานกันอย่างจริงจังมาก เสนอความคิดเห็นและอภิปรายกันทั่วหน้า เมื่องานเสร็จเราให้แต่ละทีมประเมินตนเอง

 

กลุ่มย่อยยังเอาจริงเอาจัง

เมื่อได้ผลการประเมิน คุณพรรณพิมพ์ข้อมูลเข้าโปรแกรม Excel เรียบร้อย ได้กราฟแสดงขีดความสามารถปัจจุบันของทุกทีม แผนภูมิแม่น้ำ บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดิฉันนำเสนอเพื่อให้เห็นว่าจากเรื่องราวดีๆ ที่ผู้เข้าประชุมแต่ละคนได้เล่าในกลุ่มย่อยนั้น นำไปดำเนินการต่ออย่างไรได้บ้าง และหลังจากการประชุมครั้งนี้แล้ว จะมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันต่อไปได้อย่างไร ชักชวนให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

ต่อจากนั้นจึงให้ผู้เข้าประชุม AAR โดยให้ทุกคนเขียนลงในกระดาษ BAR ของเดิมและให้ตัวแทนแต่ละทีมได้พูด ในครั้งนี้ดิฉันขอให้ผู้เข้าประชุมบอกความพึงพอใจของตนเองต่อการจัดการประชุมในภาพรวมด้วย (ความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ที่ ๘๖%) ในภาพรวมผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่ได้มากกว่าสิ่งที่ตนคาดหวัง ส่วนที่ยังได้น้อย เช่น ยังรู้จักกันไม่ครบทุกภาคี ระยะเวลาในการพูดคุยน้อยไป ต้องการสร้างเครือข่ายให้มากกว่านี้ เป็นต้น

 

ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

หลังรับประทานอาหารกลางวันทีมจัดงานได้ AAR ร่วมกัน ดิฉันพบว่าสามารถใช้การประชุมรูปแบบนี้ได้กับงานสุขภาวะชุมชน แต่ต่อไปควรเชิญผู้เข้าประชุมให้หลากหลายและมีจำนวนมากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ที่เราจะไปทำกรณีศึกษา รวมทั้งต้องมีข้อมูลให้ชัดเจนว่าผู้เข้าประชุมที่มานั้นเขามีดีในเรื่อง (เล็กๆ) อะไร

ในเรื่องการจัดทำเกณฑ์ระดับความสำเร็จ ทีมงานเสนอว่าน่าจะเอาของดีตั้งไว้ที่ระดับ ๓ เพื่อให้เกิดความรู้สึกท้าทายมากยิ่งขึ้น และคุณมานะเสนอว่าก่อนให้แต่ละทีมประเมินตนเอง ควรมีการชี้แจงเกณฑ์ระดับความสำเร็จที่สร้างขึ้นให้เข้าใจตรงกัน

การปรับปรุงอีกส่วนหนึ่งคือการซักซ้อม “คุณอำนวย” ให้เข้าใจกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย การเล่าเรื่อง และการสกัดขุมความรู้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะ “คุณอำนวย” ที่เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการมักจะติดกับการดำเนินกลุ่มอภิปราย บางทีก็พากลุ่มออกไปนอกประเด็นเรื่องดีที่จะเล่า

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 261857เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท