แปรงฟัน+ไหมขัดฟันลดเสี่ยงโรคหัวใจ


 

...

 > [ nagoya-u ] 

ภาพที่ 1: แสดงเส้นใยภายในเนื้อเยื่อปริทนต์ (เนื้อเยื่อระหว่างโคนฟัน-เหงือก-เบ้าหลุมร่องฟันของกระดูกขากรรไกร) > Thank [ nagoya-u ]

เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะเป็นตะแกรง (grid) คล้ายมุ้งลวดหรือผ้าก๊อซ ช่วยยึดโยงฟันไว้ไม่ให้หลุดออกจากเบ้า เปรียบคล้ายเสาวิทยุที่อาศัยลวดสลิงยึดไว้ทุกทิศทุกทาง

... 

ถ้าเสาวิทยุขาดลวดสลิงจะล้มง่าย ถ้าฟันขาดเส้นใยยึดโยงจะโยกคลอน และหลุดง่าย

...

[ jp.sunstar ]

ภาพที่ 2: แสดงเนื้อเยื่อยึดโคนฟัน (ปริทนต์) ที่มีสุขภาพดี > Thank [ jp.sunstar ]

แท่งสีทองแนวตั้งทางซ้ายคือแกนในของฟัน ส่วนบนเคลือบด้วยอีนาเมล (enamel) หรือเคลือบฟัน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งที่สุดในร่างกาย

เสาสีเทาแนวตั้ง (รูปร่างคล้าย คสล. หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก = เส้นใยสีดำ) ตรงกลาง คือ กระดูกขากรรไกรที่รองรับฟัน > Thank [ jp.sunstar ]

...

แถบสีแดงเข้มคือ เหงือกชั้นนอก, แถลสีชมพูคือ เหงือกชั้นใน

พระเอกของเราตอนนี้คือ เส้นใย ไฟเบอร์ หรือลวดสลิงยึดโยงฟันที่เห็นเป็นเส้นๆ ซึ่งทำหน้าที่ยึดฟันให้แข็งแรง ไม่โยกคลอนหรือหลุดง่าย

...

เบ้ารองรับฟันในกระดูกขากรรไกรมีลักษณะเป็นหลุม หรือเบ้าคล้ายครก และมีฟัน ซึ่งเปรียบคล้ายสากวางลงไปหลวมๆ ความแข็งแรงจริงๆ ขึ้นอยู่กับเจ้าลวดสลิง เส้นใย หรือไฟเบอร์ (ตะแกรง) รอบๆ

เนื้อเยื่อรอบโคนฟันที่มีเจ้าลวดสลิงยึดโยงนี้รวมเรียกว่า "ปริทนต์ (ปริ = รอบๆ; ทนต์ = ฟัน; ปริทนต์ = เนื้อเยื่อรอบโคนฟันซึ่งประกอบด้วยเหงือก หลอดเลือด ลวดสลิงหรือเส้นใยยึดโคนฟัน)

...

> [ jp.sunstar ]

ภาพที่ 3: ปริทนต์อักเสบระยะแรก > Thank [ jp.sunstar ]

เหงือกอักเสบที่ลงลึกจากชั้นพื้นผิวมาสู่เนื้อเยื่อปริทนต์รอบๆ โคนฟันทำให้เกิดการอักเสบ มีการทำลายลวดสลิงที่ยึดโคนฟัน (เส้นใยสีดำ) ให้น้อยลง เหงือกร่นสึกลงไป

...

> [ jp.sunstar ]

ภาพที่ 4: ปริทนต์อักเสบระยะกลาง จะทำให้เหงือกสึกมากขึ้น เส้นใยยึดโยงหรือเจ้าลวดสลิงหายไปมากขึ้น > Thank [ jp.sunstar ]

...

> [ jp.sunstar ] 

ภาพที่ 5: ปริทนต์อักเสบระยะท้ายๆ เหงือกสึกร่นมาก เส้นใยยึดโยงหรือเจ้าลวดสลิงสีดำหายไปเกือบหมด ถึงตรงนี้ฟันจะโยกคลอน หรือหลุดได้ง่าย > Thank [ jp.sunstar ]

...

 > Thank [ baystate ]

ภาพที่ 6: แสดงแนวเหงือกที่มีสุขภาพดี > Thank [ baystate ]

...

 > [ baystate ]

ภาพที่ 7: ภาพแสดงเหงือกร่นต่ำลงหลังมีปริทนต์อักเสบนานๆ ทำให้ลวดสลิง หรือเส้นใยยึดโคนฟันลดน้อยลง ความแข็งแรงของฟันจะลดลง ฟันโยกหรือหลุดง่ายขึ้น > Thank [ baystate ]

...

.................................................................

ฟันของคนเราเปรียบคล้ายเสาวิทยุที่บอบบาง ทว่า... ตั้งอยู่ได้ด้วยแรงยึดโยงจากลวดสลิงรอบทิศทาง

ลวดสลิงขนาดจิ๋วที่ยึดโยง และพยุงฟันไว้ไม่ให้หลุด เรียกว่า "ปริทนต์" นี้ถ้าเหงือกอักเสบ และร่นถอยลึกลงไปมากๆ จะทำให้ฟันหลุดได้ แม้จะตั้งอยู่บนกระดูกขากรรไกร

...

นั่นคือ ความแข็งแรงของฟันจริงๆ แล้วอยู่กับเหงือก และลวดสลิง หรือเนื้อเยื่อยึดโยงโคนฟัน 

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า โรคปริทนต์อักเสบ (เหงือกที่อยู่รอบโคนฟัน = periontitis) และเหงือกอักเสบ (หมายถึงเหงือกที่ไม่ได้อยู่รอบโคนฟัน = gingivitis) ปล่อยสารเคมีก่อการร้ายเข้าไปในกระแสเลือด

...

สารเคมีก่อการร้ายเหล่านี้มีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ ทำให้หลอดเลือดตีบตัน หรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

อ.ดร.มาริโอ เคลอริซิ (Mario Clerici) และคณะ แห่งมหาวทยาลัยมิลาน (Milan) อิตาลี ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี อายุ 38-57 ปี จำนวน 35 คน แต่มีเหงือกอักเสบอย่างอ่อนจนถึงปานกลาง

...

อาการสำคัญของเหงือกอักเสบ-ปริทนต์อักเสบได้แก่ เลือดออกง่าย โดยเฉพาะเวลาแปรงฟัน, เจ็บเหงือก, และปากเหม็น 

กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการรักษาด้วยการทำความสะอาดฟัน (เช่น ขูดหินปูน ทำความสะอาดบริเวณรอบๆ โคนฟัน ฯลฯ) ติดตามไปจนถึง 1 ปี

...

ผลการศึกษาพบว่า แบคทีเรียวายร้ายที่ทำให้เหงือกอักเสบ ปริทนต์อักเสบมีชื่อว่า เจ้า 'porphyromonas gingivalis' เป็นตัวการหลัก หรือหัวโจก

นอกจากนั้นยังพบว่า โปรตินผิดปกติบนผนังหลอดเลือดกับเหงือกอักเสบ-ปริทนต์อักเสบเป็นโปรตีนชนิดเดียวกัน (C-reactive protein / CRP)

...

เมื่อโรคเหงือกอักเสบ-ปริทนต์อักเสบดีขึ้นพบว่า เจ้าสารก่อการร้าย (CRP) ลดลง แถมความหนาของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (carotid artery wall) ก็ลดลง 20% ซึ่งบ่งชี้ว่า มีความเป็นไปได้ว่า หลอดเลือดแดงที่อื่นๆ น่าจะดีขึ้นด้วย

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า เหงือกอักเสบเพิ่มเสี่ยงโอกาสเด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวต่ำ เบาหวาน และการมีลูกยาก

...

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป ทว่า... บอกเราว่า สุขภาพช่องปากน่าจะมีผลต่อสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจมากกว่าที่คิด

เรื่องที่พวกเราควรรู้คือ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นวิธีที่ดีมาก แต่ทำความสะอาดผิวฟันได้ไม่เต็ม 100% คือ ทำความสะอาดผิวฟันได้ประมาณ 60-70%

... 

ถ้าต้องการทำความสะอาดผิวฟันให้ดียิ่งขึ้น... ควรฝึกใช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธีวันละ 1 ครั้ง, แปรงลิ้น (การแปรงลิ้นช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก) วันละ 1 ครั้ง, ตรวจช่องปากกับอาจารย์หมอฟันทุกๆ 6-12 เดือน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank [ MailOnline ] , [ nagoya-u ] , [ jp.sunstar ] , > [ baystate ]

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 13 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 261611เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2009 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท