หนังสือแสดงเจตนาหรือ Living Will จะช่วยผู้ป่วยให้ตายดี จริงหรือ?


พรบ. สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ที่ขอนแก่น 14 พค. 2552

Living will หรือ Advance directive care หรือหนังสือเจตนาปฏิเสธการรักษาตาม พรบ. มาตรา 12 จะช่วยผู้ป่วยให้ไปดี(ตายดี)จริงหรือ ฉันคิดว่าความจริงควรเป็นเช่นนั้น หากได้ทำบนหลักการและตามเจตจำนงของคนไข้จริงๆ แต่ในทางปฏิบัติอาจมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นท่านหล่ะคิดอย่างไร? รายละเอียดดูที่นี่http://www.thailivingwill.in.th/index.php?mo=3&art=282535

ฉันมีโอกาสเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ซึ่งมีผู้เข้าประชุมทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน จำนวน 130 คน ที่โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น

บรรยากาศเช้าและบ่าย ภาพรวมดูโอเค ได้บรรยากาศแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย

โดยมีกิจกรรมกลุ่มย่อย ฉันอยู่กลุ่ม 12 และเป็นผู้จดบันทึก กลุ่มของฉันมี 8 คน ได้แก่ คุณลุงน้อย  ประธาน อสม. ตำบลม่วงหวาน คุณป้าฉลอง อสม. น้ำพอง แตงโม จิ รัชกร วงเดือน และคุณวัฒนา

รายละเอียดที่ฉันบันทึกได้

May 14, 2009

1. เรารู้ตัวกำลังตาย รู้สึกอย่างไร (ทุกคนแสดงความคิดเห็น)

-         น้อยใจ

-         ห่วงลูกหลาน

-         ตรอบครัว

-         กลัวเขาทำได้ไม่ดี

-         คิดว่าลูกหลานเขาไม่รักษา

-         กลัวลูกหลานขายสินทรัพย์ มรดกสูญหาย เพราะโลกใหม่ชอบเล่นชอบสนุก

-         กลัวตาย โกหกไม่ได้ ความตายคือความจริง

-         ห่วงลูกหลาน มรดก

-         เป็นห่วงผูกคอ

-         คิดเหมือนกัน กลัวตาย ลูกหลานอยู่ จะอยู่อย่างไร

-         ตาย กลัว สิ่งที่ไม่กลัว คือตนเองหมดหน้าที่

-         ตายแต่ตัว ภูมิใจ รับกรรมมานาน หมดเวรหมดกรรม

-         ความรู้สึกเดียวกัน กลัว

-         ไม่อยากให้มาถึง

-         ไม่อยากจะเห็น เพราะมีห่วงอีกเยอะ

-         ตกใจ ถ้ามันจะมาถึง ความกลัวจะตามมา

-         ไม่กลัวความตาย ทำงานกับเด็กระยะสุดท้าย

-         ลูกยังเล็ก ยังห่วงลูก เตรียมลูกสามี พูดเรื่องความตายในครอบครัว

 

2. ฉากสุดท้าย ท่านจบชีวิตลง ท่านอยากตายอย่างไร อยากอยู่กับใคร ที่ไหน

-         อยากเห็นหน้าลูกเมีย ลูกหลาน อย่าทะเลาะกัน  ให้ดูแลกัน

-         อยากตายที่บ้าน ท่ามกลางความอบอุ่นลูกหลาน

-         ให้ลูกหลานเรียนจบ มีงานทำ สั่งเสีย

-         ให้ลูกหลานสามัคคีกัน ตายแบบสบายใจ

-         คิดถึงคุณพระคุณเจ้า

-         อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา

-         อยากจากไปโดยไม่เจ็บปวด ไม่รู้สึกเจ็บปวด

-         เหมือนกัน

-         อยากตายที่บ้านของเรา

-         ไม่กลัวคนที่บ้านกลัว

-         อยู่ท่ามกลางคนที่เรารัก

-         อยากได้ยินสียงลูก

-         ไม่อยากเจ็บปวดทรมาน

-         อยากให้คนรักมาอยู่ใกล้ๆ

-         ไม่อยากให้เขามาเห็น

-         อยากตายแบบไม่ทรมาน

-         ย่าทวดแก่ตาย ไม่อยากให้ใครมาร้องไห้เสียใจ

-         อยากมีลูกๆ เพื่อนๆ มาอยู่ด้วย

-         ถ้าตายกระทันหัน ก็ทำใจไม่ได้อยู่แล้ว 

-         แต่ถ้าตายออกแบบได้ จะทำอย่างไร

-         ทำบุญไหว้พระ ปฏิบัติธรรม

-         บางกลุ่มอยากอยู่ชายทะเลกับคนรัก

-         คริสต์ อิสลาม ได้พบกับผู้เป็นเจ้า

 3. อุปสรรคต่อการตายดี คืออะไร

- คนใกล้ตัว ลูกเมีย รับไม่ได้ ยังไงขอเต็มที่

 อาสาสมัครแสดงเจตนารมในกลุ่มของเรา คือคุณลุงน้อย โดยคุณลุงน้อยมอบหมายให้ฉันเป็นตัวแทน การจัดการในหนังสือแสดงเจตนาของคุณลุงน้อย

Dsc08654

สิ่งที่คุณลุงน้อยต้องการ 

คนอยู่ใกล้ขณะสิ้นลมหายใจคือ

-         ภรรยา

-         ลูกหลาน

-         ญาติสนิท

สมมุติว่ารักษาอยู่ รพ.

-         ตายอยู่ รพ. ไม่ให้เข้าบ้าน ความเชื่อของชุมชน

-         อยากเสียชีวิตที่บ้าน

-         อยากตายท่ามกลางคนเยอะๆ

-         อยากให้ใส่ออกซิเจน ไปเจอญาติ ไม่อยากใส่ท่อ

-         ให้มีลมหายใจไปที่บ้าน ไม่อยากตายที่ รพ.

 

กติกาสำหรับ

ญาติ 

-         แบ่งมรดก ห้ามญาติทะเลาะเรื่องมรดก

-         พิธีทางศาสนาพอดีๆ 3 วัน ไม่เลือกพระ ใส่ซองถวายพระ ครั้งละ 100 บาท / องค์ ไม่ว่าพระหรือเณร

-         สวดมัตติกาบังสุกุล วันละรอบตอนเย็น

-         มหรศพ ไม่ต้องแพงมาก เดี๋ยวมันจะตีกัน

-         ทำอย่างไรก็ได้ที่จะต้องมีลมหายใจถึงบ้าน  ไม่ใส่ท่อ

-         ให้ภรรยาเป็นผู้มีสิทธิ์เด็ดขาด

-         ให้มีคนอ่านประวัติ 

แพทย์ พยาบาล

-         อยากให้แพทย์พยาบาล ไปส่งถึงบ้าน

-         รู้สึกปลอดภัย

-         เสียชีวิตอย่างปลอดภัย

-         ไม่ต้องใส่ท่อ

-         ถ้าจำเป็นให้ใส่ออกซิเจน

-         ทำอย่างไรก็ให้ผมถึงบ้าน

-         ยังยังไงต้องถึง ต้องให้ถึงบ้าน ที่บ้านมีพร้อมทุกอย่าง

-         ตายแบบสมบูรณ์

-         เพราะถ้าเสียที่ รพ. จะเข้าบ้านไม่ได้ ต้องไปวัด ป่า มืด กลัว ไม่มีเพื่อน 

คุณลุงน้อยทิ้งท้ายสีหน้าเปื้อนรอยยิ้มแบบติดตลกว่า  "วันนี้ทำไมมาพูดเรื่องตายๆ ก่อน ทำไมไม่พูดเรื่องเกิดก่อน มันไม่สนุก ทำไมพูดเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องแรกของวันนี้" ทุกคนหัวเราะ

ฉันคิดอีก แล้ว LIVING WILL ที่ดี  เป็น Holistic, เป็น part, เป็นแบบฉบับของใครของมัน หรือควรมี format ไหม อย่างไรจะโอเค ในทางปฏิบัติจริง ซึ่งในที่ประชุมก็มีแลกเปลี่ยนในประเด็นย่อยเหล่านี้ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ

ฉันขอทิ้งท้ายด้วยภาพบรรยากาศในงานรับฟังความคิดเห็นไว้ที่นี่ ใครเป็นใครก็ดูเอง ไม่รู้จักไม่เป็นไรค่ะ ขออนุญาต post ภาพแล้ว

Mt4

Mt1

Mt2

Dsc08702

Dsc08641

Dsc08710

Dsc08679

Dsc08645

Dsc08711

แต่ฉันก็ยังมีคำถามอีก แล้ว LIVING WILL ในเด็กโตหล่ะควรเป็นอย่างไร  เด็กมะเร็งบางคนบอกว่า ไม่อยากใส่ท่อ ขอให้ไม่ปวด อยากยกของเล่นทั้งหมดให้น้อง...เพราะฉันทราบว่าในเด็กยังทำ Living will ไม่ได้ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ใครช่วยตอบที

Kesanee..update MAy 16, 2009..9:30 pm

 

หมายเลขบันทึก: 261454เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2009 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะน้องเกศ

เวทีนี้ดีนะคะ

ได้รับรู้ว่าจะถ้าจะตายจะขอเลือก ทำอะไร

บรรยากาศเหมือนที่หาดใหญ่เลย

คนอะไรก็ไม่รู้ พูดเรื่องความตายไป หัวเราะกันไป

  • P
  • ดีมากค่ะพี่ไก่
  • ได้อะรเยอะพอควร
  • P

    บรรยากาศเหมือนที่หาดใหญ่เลย

    คนอะไรก็ไม่รู้ พูดเรื่องความตายไป หัวเราะกันไป

  • ประมาณนี้จริงๆค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท