การบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รูปแบบ PSM


โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล มีรูปแบบการบริหารการวิจัยรูปแบบ PSM.

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์           การบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนพระตำหนัก

   สวนกุหลาบ  มหามงคล  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้วิจัย                                     นางละออ  วัฒนไพโรจน์

หลักสูตร                               ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

อาจารย์ที่ปรึกษา                  1. อาจารย์ ดร.พรรณี  สุวัตถี        2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิ่นวดี  ธนธานี

ปีการศึกษา                           2551

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ   1) ศึกษาผลของการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  และ 2) ศึกษาปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุนและข้อเสนอแนะในการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  มหามงคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ปฏิบัติจริงตามการรับรู้ของครูผู้สอน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการวิจัยขั้นสร้างและส่งเสริม จำนวน 3 ฉบับ 3) ประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม  และ4) แบบประเมินคุณภาพ-ของผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลจากการสนทนากลุ่มใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา(Content  Analysis) ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

                ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

1.1 ระยะการศึกษาเชิงสำรวจ คณะครูในโรงเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ปฏิบัติจริง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การนิเทศแบบกัลยาณมิตรและติดตามผลของผู้บริหารอย่างต่อเนื่องในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

1.2 ระยะการสร้างและส่งเสริม ผลการศึกษาพบว่า  1) ครูมีความคิดเห็นต่อผลของการปรับกระบวนทัศน์พัฒนาศักยภาพ ในการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 8 รายการ และอยู่ในระดับมาก 2  รายการ 2) ครูมีความคิดเห็นต่อการสนับสนุนทรัพยากร ในการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5 รายการ และ ระดับมาก 5 รายการ  3) ครูมีความคิดเห็นต่อผลของการเสริมพลังอำนาจให้เกิดแรงจูงใจในการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3 รายการ  และระดับมาก 2 รายการ 

1.3 ระยะการประเมินผลงาน พบว่า ผลงานวิจัย พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 14 ผลงาน และเกณฑ์ดี 6 รายการ

2.  ผลการศึกษาปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน และข้อเสนอแนะ ในการบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า

2.1 ด้านปัจจัยอุปสรรค  ที่สำคัญได้แก่ ครูไม่สามารถกำหนดปัญหาเพื่อทำวิจัย   ครูมีความรู้ในการออกแบบการวิจัยน้อย  

2.2 ด้านปัจจัยสนับสนุน ที่สำคัญได้แก่ การนำตัวอย่างงานวิจัยมาให้ครูศึกษา การจัดอบรมเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย  รวมทั้งการสนับสนุนจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาการวิจัย

2.3 ข้อเสนอแนะ ที่สำคัญได้แก่ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนในการทำวิจัย  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ให้การเสริมแรงเพื่อกระตุ้นให้ครูตระหนักและเห็นความสำคัญในการร่วมมือทำวิจัย  นอกจากนี้ผู้บริหารควรจัดบรรยากาศ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการทำวิจัย

หมายเลขบันทึก: 261125เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากได้วิจัย 5 บท เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาค่ะ การบริหารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนพระตำหนัก

สวนกุหลาบ มหามงคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 ถ้าให้ตัวอย่างได้จะเป็นพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท