หลัก 3 ประการเพื่อสร้างสมานฉันท์


"ท่านรู้ไหมว่าผมได้ยินเรื่องเพื่อนของท่านมาว่าอย่างไรบ้าง"

ผมได้อ่านกระทู้หนึ่งจาก Internet เป็นเรืองเกี่ยวกับการพูด

และเห็นว่าเป็นความรู้ และน่าจะเป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา หากเรารู้จักคิดตามที่กล่าวไว้ได้นั้น

ผมมั่นใจว่า เรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้น คงทุเลาบางเบาลงได้...

 

ในสมัยกรีกโบราณ

โซเครติสได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง

เมื่อชายคนหนึ่งปะหน้ากับปรัชญาผู้นี้

จึงกล่าวกับเขาว่า

 

"ท่านรู้ไหมว่าผมได้ยินเรื่องเพื่อนของท่านมาว่าอย่างไรบ้าง"

 

โซเครติสตอบว่า "เดี๋ยวนะครับ...

ผมขอใช้หลักสามประการของผมกรองสิ่งที่คุณจะบอกเล่าเสียก่อน"

 

"หลักสามประการ?"

 

"ถูกแล้วครับ"

แล้วขยายความต่อว่า

"หลักการแรกคือ ความจริง คุณมั่นใจหรือเปล่า

ว่าสิ่งที่คุณจะเล่ามันเป็นความจริง"

 

"ไม่ครับ...จริง ๆ แล้ว ผมฟังมาจากคนอื่นอีกที"

เขาสารภาพ

 

"เอาล่ะ ตกลงคุณเองก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า...

หลักการถัดไปของผมคือ

ความดี"...สิ่งที่คุณจะเล่าให้ฟังนี้เป็นเรื่องดีหรือเปล่า"

 

"ไม่ครับ แต่ตรงกันข้าม..."

เขาตอบ

 

จากนั้นโซเครติสได้กล่าวต่อไปว่า

"คุณจะเล่าเรื่องที่ไม่ดีของเขาให้ผมฟังใช่ไหม

ขณะเดียวกันคุณก็ไม่มั่นใจว่า นี่เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า...

ทีนี้เรามาถึงหลักการสุดท้าย คือ ประโยชน์

เรื่องที่คุณจะเล่าให้ผมฟังน่ะ มันมีประโยชน์ต่อผมหรือเปล่า"

 

"ไม่หรอกครับ"

เขาปฏิเสธ

 

"เอาละ ถ้าสิ่งที่คุณจะเล่าให้ผมฟังน่ะ มันไม่จริง ไม่ดี

และไม่มีประโยชน์อันใดต่อผมเลย ทำไมคุณถึงจะเล่าให้ผมฟังล่ะ"

โซเครติสกล่าวตัดบท

 

เป็นเรื่องราวสั้นๆ ที่ได้ใจความ

หากเราพิจารณาตามเรื่องแล้ว จะพบได้ว่า

สิงที่กล่าวอ้างนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสภาวการณ์ปัจจุบัน

ก่อนที่จะรับฟังหรือปักใจเชื่อเรื่องใดๆ นั้น

ก็ควรที่จะพิจารณาด้วยหลักสามประการ คือ

1.     ความจริง

(ต้องทราบจริงๆ ไม่ใช่ได้ยินต่อๆ กันมา หรือมีผู้บอกเล่าให้ฟัง)

 

2.     ความดี

(เราพิจารณาที่จะเลือกรับฟังข่าวสารด้านดี เพื่อจรรโลงจิตใจของเรา)

 

3.     ประโยชน์

(พิจารณาว่าเรื่องนั้นมีประโยชน์กับเรา หรือกับผู้อื่นหรือไม่)

 

แต่ด้วยเราเองเกิดความหลง เกิดความคล้อยตามอย่างผิดๆ

บางครั้งไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดรอบคอบในข่าวสารนั้นๆ

ฟังไม่รอบด้าน รับข้อมูลเพียงด้านเดียว

แล้วสรุปตัดสินว่าสิ่งที่ได้ยินมาถูกต้อง

 

ถ้าเป็นเรื่องราวดีๆ ที่สร้างสรรค์ ก็ส่งผลดียิ่งขึ้น

หากเป็นเรื่องร้ายๆ ด้วยแล้ว ผลร้ายย่อมตามมามากมายครับ

 

แต่มนุษย์ล้วนชอบที่จะฟังเรื่องร้ายๆ เรื่องที่ผู้อื่นตกทุกข์ได้ยาก

หรือเข้าตาจน เพราะจะได้รู้สึกเปรียบเทียบว่า...

 

ยังมีคนแย่กว่าฉัน

 

เป็นการคิดอย่างเห็นแก่ตัวมากเกินไป

ฝากอีกเรื่องหนึ่งครับ ผมว่าเรื่องที่อ่านด้านบน

มีเนื้อหาใจความตรงกับ

หลักกาลามสูตร ในศาสนาพุทธ

ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อ ขอหยิบยกเป็นของฝาก

 

1.           อย่าได้เชื่อถือโดยฟังตามกันมา

2.           อย่าได้เชื่อถือโดยการถือสืบ ๆ กันมา

3.           อย่าได้เชื่อถือโดยการเล่าลือ

4.           อย่าได้เชื่อถือโดยการอ้างตำรา

5.           อย่าได้เชื่อถือโดยตรรกะ

6.           อย่าได้เชื่อถือโดยการอนุมาน

7.           อย่าได้เชื่อถือโดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

8.           อย่าได้เชื่อถือเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน

9.           อย่าได้เชื่อถือเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ

10.      อย่าได้เชื่อถือเพราะนับถือว่าท่าน (สมณะ) นี้เป็นครูของเรา

หมายเลขบันทึก: 260639เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท