ชุมชนไทยในภาวะอุเบกขาต่อคุณภาพการจัดการศึกษา ( 1)


อุเบกขา คือ จ้องดูอยู่ เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็จ้องดูอยู่ ดูอาการคล้ายกับว่าเฉยๆ แต่ไม่ใช่เฉยอย่างไม่รับผิดชอบ แต่จ้องดูอยู่ว่าจะทำอะไรได้

ผู้รู้หลายท่านเชิญชวนสนทนากันในประเด็นว่า การศึกษาคืออะไร ดำรงอยู่อย่างไรในปัจจุบัน  ผมได้อ่านพจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส  สาระสำคัญระบุว่า  สิกขาหรือศึกษาแปลว่าดูซึ่งตนเอง โดยตนเอง เห็นตนเอง  ประพฤติปฏิบัติโดยตนเอง  เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง   ในทัศนะผมเห็นว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือของผู้คนในการนำพาตนเองไปพานพบกับการอยู่เย็นเป็นสุข  ผู้คนจะมีความเฉพาะตนในการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือของชีวิต

 

และด้วยความเป็นจริงของหนึ่งชีวิตต้องเกี่ยวข้องเชื่อมร้อยกับอีกหลายชีวิต  ซึ่งทุกชีวิตล้วนแต่ต้องการพานพบกับความอยู่เย็นเป็นสุข   ดังนั้นผู้คนจึงรวมตัวกันนำเอาสิ่งดีๆที่พานพบมาบรรจบรวมกันเพื่อแบ่งปันความอยู่เย็นเป็นสุขต่อกันและกัน   จุดรวมการศึกษาของชุมชนไทยจึงเริ่มต้นที่ครอบครัวและ วัด  มาตั้งแต่โบราณกาล

 

สืบต่อมา ความเป็นสมัยใหม่  ได้หยิบยื่น โรงเรียน ให้เป็นจุดนัดพบเพื่อการศึกษาของผู้คน พร้อมๆกับเริ่มใส่ความเป็นอื่นเข้าไปในความเฉพาะของผู้คน  เมื่อในตัวคนถูกยัดเยียดความเป็นอื่นมากขึ้น  พลังสะสมข้างในตัวคนก็ระเบิดออกมา กลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า  วิกฤตคุณภาพการศึกษา   ซึ่งในวันนี้ชุมชนคนไทยโดยภาพรวมกำลังอุเบกขาต่อคุณภาพการจัดการศึกษาไทยในทุกระดับ   ภาวะเช่นนี้ผมชวนทุกท่านคิดต่อว่า  พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส นิยามคำว่า  อุเบกขา  คือ  จ้องดูอยู่ เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็จ้องดูอยู่  ดูอาการคล้ายกับว่าเฉยๆ  แต่ไม่ใช่เฉยอย่างไม่รับผิดชอบ แต่จ้องดูอยู่ว่าจะทำอะไรได้    แสดงว่าวันนี้ชุมชนไทยกำลังจ้องดูการจัดการศึกษาโดยภาครัฐ อย่างไม่กะพริบตา ใช่หรือไม่/อย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 260609เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วันนี้ผมได้มีโอกาสได้อ่านบทความของท่านอาจารย์ กระผมก็ยังไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในบทความ แต่สิ่งที่กระผมได้เห็นในการศึกษาทุกวันนี้ ก็มีความคิดที่เห็นด้วยที่ว่าทุกคนจับตาการจัดการศึกษาของรัฐอย่างใจจดใจจ่อ ว่าจะทำอะไรอีกครับผม

แวะมาเยี่ยมค่ะอาจารย์

พรหมวิหาร 4 คือหลักธรรมของผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ ผู้บริหาร ผู้ปกครองระดับสูง ประกอบด้วย

1. เมตตา ความรัก (ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขยิ่งขึ้น แสดงว่าขณะนี้เขาก็มีความสุขอยู่)

2. กรุณา ความสงสาร (ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ แสดงว่าขณะนี้เขากำลังประสบปัญหาหรือมีความทุกข์อยู่)

3. มุทิตา ร่วมยินดี (ในเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ ร่วมชื่นชม ยินดี ไม่อิจฉา ริษยา ไม่ใส่ร้าย)

4. อุเบกขา วางเฉย (ในเมื่อได้ปฏิบัติทั้ง 3 อย่างข้างต้นแล้ว ก็ปล่อยให้ดำเนินไปตามกฎแห่งธรรมชาติ)

จากบทความของอาจารย์ดร.ศักดิ์พงษ์ ท่านมีความห่วงใยในการศึกษาโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพในปัจจุบัน

สวัสดีครับลุงและพี่อุ่นคงสบายคีกันทุกคนนะครับตอนนี้ผมมาราชการที่ภูเก็ตคงอีนานครับถึงจะย้ายกลับไม่๔ก้อ๕ปีครับ

ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ อ. 22 ก.ย. 2552 @ 16:10
#1566057 [ ลบ ]
  • โรงเรียนที่จะไปดูงานชื่อนี้ครับ
  • 1. โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง
    ตั้งอยู่เลขที่ 141 หมู่ 1 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110 โทรศัพท์.0-3461-1034
  • 2.โรงเรียนหมู่บ้านเด็กครับ
  • http://www.ffc.or.th/mbd/th/index.php
  • โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก (Children Village School)
    16/1 ม.2 ถ.ลาดหญ้า-ศรีสวัสดิ์ ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71190
    โทรศัพท์ 089-410-4427, 089-410-4429
    โทรสาร 0-3451-5106
    E-mail :
    [email protected] or [email protected]
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท