จับ"ปลา"เด็น กับจับประเด็น เก็บตกจากเสมสิกขาลัย


จะจับปลาต้องมีเครื่องมือ จับประเด็นก็เช่นกัน

                เคยไหมครับ  ที่ฟังบรรยายแล้วรู้สึกว่า  คนที่พูดพยายามจะบอกอะไรหนอ 

                เคยไหมครับ   ฟังวงสนทนาที่ดูเหมือนจะพูดกันคนละเรื่อง  แล้วก็ไม่รู้ว่าแต่ละคนพูดเรื่องอะไร  ยิ่งฟังยิ่งงง

                คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้น  ก็คงเกิดขึ้นไม่แตกต่างกัน ในคนส่วนใหญ่

                ถ้าจะแก้ปัญหาได้  ต้องเข้าใจสาเหตุกันก่อน  ผมขอเปรียบเทียบการจับประเด็นกับบการจับปลานะครับ

                ทำไมเราไม่อยากจับปลาไม่ได้

                ผมคิดว่าทุกคนพอตอบได้  ตั้งแต่

                -ก็ไม่อยากจับง่ะ   ไปทำอย่างอื่นดีกว่า   (ไม่มีความอยาก)

                -จับไปทำไมล่ะ  จับแล้วได้ประโยชน์อะไร  แล้วจะจับปลาอะไร  (ไม่รู้เป้าหมาย)

            -ผมรวยครับ  จ้างคนมาจับให้ก้ได้ (ขี้เกียจ  หวังพึ่งคนอื่น  )

                -ไม่มีเครื่องมือง่ะ   แหก็ไม่มี  เบ็ดก็ไม่มี  แล้วจะจับยังไง   ใช้มือเปล่าจับได้ป่ะ  (ไม่มีเครื่องมือ)

-มีเครื่องมือจับปลาแล้วล่ะ  แต่ว่า  ผมไม่เคยใช้   ใช้ไม่เป็น  ทำไง (รู้จักเครื่องมือ และวิธีใช้  แต่ไม่มีประสบการณ์)

-ผมว่าใช้เบ็ดอันเดียวก็หากินได้ทั่วโลกแล้วล่ะ  ไม่ต้องเรียนการใช้แห  สวิง  ไซ  ไม่จำเป็น   (ติดกับเครื่องมือชนิดเดียว)

-อยากจับปลาวาฬน่ะ  ว่าแต่ปลาวาฬมันเป็นปลาน้ำจืดหรือน้ำเค็ม  (ไม่รู้ธรรมชาติของปลา)

-ผมเก่งแล้ว  ไปคนเดียวได้  (ไม่มีการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม และการแบ่งปัน)

การจับประเด็นก็คล้ายกัน  ตั้งแต่ ไม่อยากจะจับ  ไม่รู้จะจับไปทำไม  ขี้เกียจ  รอผู้รู้มาบอกก็ได้  ไม่รู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร  มีเครื่องมือแล้วแต่ก็ไม่เอาไปใช้  ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์  และสุดท้าย  ไม่อยากเรียนรู้กับคนอื่นและไม่อยากแบ่งปัน

เท่าที่ผมเคยเรียนรู้มามีเครื่องมือที่ใช้ในการจับประเด็นหลายชนิด  ตั้งแต่หลักการของซาเทียร์  ภูเขาน้ำแข็ง  ที่มองพฤติกรรมหรือคำพูดของคนที่มีความรู้สึก  ความต้องการ  ความเชื่อที่ซ่อนอยู่   การจับประเด็นที่ความรู้สึกและความต้องการในการสื่อสารอย่างสันติ  การใช้หลักคิดอริยสัจ 4 มาจับเนื้อความว่าอยู่ในหมวดหมู่ใด

อาจารย์กิตติชัย  งามชัยพิศิฐ  กับน้องแป้ง

ในหลักสูตรจับประเด็นที่ได้ไปเรียนมาจากเสมสิกขาลัย  ระหว่างวันที่ 8-10 พ.ค. 52 ที่เรือนร้อยฉนำโดยอาจารย์กิตติชัย  งามชัยพิสิฐ  (พี่อ้วน)  กระบวนกรหลัก กับน้องแป้ง  กระบวนกรผู้ช่วย  ซึ่งการสอนจะเน้นที่การใช้เครื่องมือเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งเนื้อหาของการเรียนมีดังนี้

หลักการสำคัญในการจับประเด็นก็คือ

หลักการจับประเด็น

1.      ใจ  ต้องมีสติ  สมาธิ  เพื่อให้รู้เท่าทันอคติที่เกิดขึ้น

2.      เครื่องมือในการจับประเด็น  ในครั้งนี้ก็คือทฤษฎีเม็ดมะม่วง

3.      ประสบการณ์  ความรู้   ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละคน

4.      ฐานคิดที่อยู่เบื้องหลัง  ปรัชญาความคิด

5.      เป้าหมายในการจับประเด็น

เครื่องมือในการจับประเด็นก็คือ ทฤษฎีเม็ดมะม่วง  ที่เปรียบเทียบไว้ดังนี้

ทฤษฎีเม็ดมะม่วง

เปลือกมะม่วง กลวิธี หรือวิธีการเล่าเรื่อง

เนื้อมะม่วง เนื้อเรื่อง

เม็ดมะม่วง ประเด็น

ชื่อมะม่วง ชื่อเรื่อง

ที่มาของมะม่วง  -ความเชื่อ ทฤษฎีที่เป็นที่มาของมะม่วง

ที่ไปของมะม่วง- ข้อคิด การต่อยอด

 

โดยเครื่องมือดังกล่าวจะใช้จับที่ตัวสารเท่านั้น  ไม่ได้จับไปที่ความรู้สึกหรือความต้องการที่แฝงอยู่เบื้องหลัง   ซึ่งอาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นที่กล่าวมาข้างต้นผสมผสานเข้าไปด้วย  และที่สำคัญต้องฝึกใช้บ่อยๆด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 260525เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีสาระ เป็นประโยชน์ครับ ขอชื่นชม

ทำงัยถึงจะได้ไปเรียนรู้แบบนี้บ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท