หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาฯ ๒: อันตรายถ้าใช้ผิด


การดูแลแบบประคับประคอง ต้องเป็น ข้อแม้หนึ่ง สิ่งที่จำเป็นต้องมี ต้องจัดการให้คนไข้ก่อน สิทธิที่พึงได้ จึงจะใช้สิทธิตามหนังสือฯที่ทำขึ้นได้

ในร่างกฎกระทรวงข้อ ๑ ที่กล่าวถึงคำนิยามของหนังสือฯ การดูแลรักษา และภาวะต่างๆตามพ.ร.บ.ฉบับนี้

หนังสือแสดงเจตนา” หมายความว่า หนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าของบุคคลผู้ทำหนังสือ
แสดงเจตนาที่ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย โดยให้มีผลเมื่อผู้ทำหนังสืออยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะแสดงเจตนาด้วย
ตนเองได้ โดยวิธีสื่อสารตามปกติ

“บริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการ
ทรมานจากการเจ็บป่วย” หมายความว่า วิธีการทางการแพทย์หรือวิธีการอื่นใด ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตัดสินใจนำมาใช้กับผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา เพื่อวัตถุประสงค์จะยืดการตายออกไป โดยไม่ทำให้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาพ้นไปจากความตาย หรือพ้นจากการทรมานโดยสิ้นเชิงได้ โดยรวมถึงการช่วยการ
หายใจ การให้ยาเพิ่มหรือลดความดันโลหิตและชีพจรชั่วคราว การถ่ายเลือด การล้างไต และวิธีการอื่นทำนองเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงการให้ยาหรือวิธีการใดที่จะระงับความเจ็บปวดเฉพาะคราว

“วาระสุดท้ายของชีวิต” หมายความว่า ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการ
บาดเจ็บหรือโรค ที่ไม่อาจจะรักษาให้หายได้และจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทั่วไปในทางวิชาชีพ
เห็นว่า ภาวะนั้นจะนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน และให้รวมถึงภาวะที่ผู้ป่วยอยู่
ในสภาพผักถาวรด้วย

“สภาพผักถาวร” หมายความว่า ภาวะของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตามมาตรฐานทาง
วิชาการแพทย์ว่า มีการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ ที่ทำให้าดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างยาวนานและถาวร โดยปราศจากพฤติกรรมการตอบสนองใดๆ ที่แสดงถึงการรับรู้ได้จะมีก็เพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น

“การทรมานจากการเจ็บป่วย” หมายความว่า ความทุกข์ทรมานทางกาย ทางจิตใจของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา อันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่จะทำให้ความทุกข์ทรมานดังกล่าวลดน้อยลงพอที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น หรือหายจากการบาดเจ็บหรือโรคนั้น
ได้ เช่น การเป็นอัมพาตสิ้นเชิงตั้งแต่คอลงไป โรคสมองเสื่อม โรคที่มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและ
ข้อที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
เป็นต้น

 


 

ผมคิดว่า ร่างกฏกระทรวงฉบับนี้ เขียนขึ้นอย่างรัดกุมและครอบคลุม โดยเฉพาะการรวมเอา สภาพผักถาวร และ การทรมานจากการเจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ เอาไว้อย่างชัดเจน

ผมเองไม่ทราบวิธีการเขียนภาษากฏหมาย ซึ่งคงจะต้องมีการตีความกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ตัวหนังสือมันชัดเจนขึ้นใน ๒ ประเด็น

๑. ควรเขียนให้ชัดเจนไปเลยในประโยคสุดท้ายของย่อหน้าที่ ๒ ว่า แต่ไม่รวมถึงการให้ยาหรือวิธีการใดที่จะระงับความเจ็บปวดหรืออาการทุกข์ทรมานอื่นๆเฉพาะคราว ซึ่งจะครอบคลุมการดูแลแบบประคับประคอง คือ palliative care มากกว่าการจัดการเฉพาะเรื่องความเจ็บปวด หรือ pain management เท่านั้น

คนไข้บางคนไม่กลัวเรื่องเจ็บเรื่องปวดเท่าไร และสามารถใช้ความปวดที่ไม่รุนแรงเป็นเครื่องเตือนสติให้เข้าใจกฏแห่งธรรมชาติ แต่เขาอาจจะกลัวอาการเหนื่อยหอบ ราวกับกำลังจมน้ำและไม่มีใครช่วย

๒. ประโยคดังกล่าว เป็นประโยคที่แสดง การตัดออก  แต่ผมคิดว่า การดูแลแบบประคับประคอง ต้องเป็น ข้อแม้หนึ่ง สิ่งที่จำเป็นต้องมี ต้องจัดการให้คนไข้ก่อน สิทธิที่พึงได้ จึงจะใช้สิทธิตามหนังสือฯที่ทำขึ้นได้

ผมกลัวอะไร

ผมกลัวว่า ในสถานการณ์ของประเทศไทยตอนนี้ ต้องยอมรับครับว่า ระบบบริการการดูแลแบบประคับประคอง หรือ palliative care ยังถือว่า เพิ่งเริ่มต้นและยังไม่ดีนัก คนไข้ของเราจำนวนมากยังต้องทนอยู่ในสภาพทุกข์ทรมานขาดการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ถ้าคนเหล่านี้ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ แล้วผู้ดูแลทั้งบุคลากรสุขภาพและครอบครัวก็ละเลย ว่ากันตามตัวหนังสืออย่างเดียว อันตรายจะเกิดขึ้นได้



สามารถอ่านรายละเอียดของพ.ร.บ. กฏกระทรวง และโครงการเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 260386เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก จะพยายามศึกษาต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

P

  • พี่ไม่เข้าใจประเด็นไหนครับ
  • ผมคิดว่า สำคัญ ถ้ากฏกระทรวงเขียนขึ้นมาแล้วคนที่เกี่ยวข้องอย่างเราๆไม่เข้าใจ ก็ต้องเขียนหรือมีคำชี้แจง ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ
  • ความจริงมีคำชี้แจงประกอบร่างฉบับนี้ด้วยครับ พี่เข้าไปดู ที่นี่ ได้ครับ

อาจา่รย์คะ เข้าไปดู แล้วก็ bookmarks ไว้แล้วค่ะ 

เป็นเพียงศัพท์และวลีบางคำเท่านั้นเองค่ะ ที่ต้องทำความเข้าใจค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

 

P

  • ตอนนี้อยู่ในช่วงรับฟังวามคิดเห็นเกี่ยวกับกฏกระทรวงนี้นะครับ
  • มีความเห็นอย่างไรสามารถส่งไปได้ครับ

ผมกลัวว่า ในสถานการณ์ของประเทศไทยตอนนี้ ต้องยอมรับครับว่า ระบบการบริการการดูแลแบบประคับประคอง หรือ palliative care ยังถือว่า เพิ่งเริ่มต้นและยังไม่ดีนัก คนไข้ของเราจำนวนมากยังต้องทนอยู่ในสภาพทุกข์ทรมานขาดการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ถ้าคนเหล่านี้ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ แล้วผู้ดูแลทั้งบุคลากรสุขภาพและครอบครัวก็ละเลย ว่ากันตามตัวหนังสืออย่างเดียว อันตรายจะเกิดขึ้นได้

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
  • เคยเห็น พรบ. ฉบับนี้ แต่ยังไม่ได้ดูรายละเอียดและศึกษาให้ลึกซึ้ง
  • ภาษา กม. ก็เข้าใจยากแท้ค่ะ
  • ขอบคุณที่อาจารย์ช่วยเปิดประเด็น และให้มุมมอง

P

  • น้องเกศน่าจะไป งานนี้ ที่จัดที่ขอนแก่นกับพี่มดนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท