วิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันและพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552


เว็บบล็อก (weblog) มีขยายตัวอย่างรวดเร็วในการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายมากขึ้นในปัจจุบัน และด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการที่จะช่วยเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่องค์ความรู้ของแต่ละบุคคล และสามารถนำมาจัดการความรู้ของตนเองได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยจึงมีความสนใจทำการวิจัยเรื่อง องค์ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดทางเว็บบล็อก (weblog) : กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อมุ่งเน้นที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีทางเว็บบล็อก (weblog) เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความรู้และเผยแพร่ความรู้ ในการเรียนการสอน และศึกษาความพึงพอใจ ผลที่ได้รับจากการการรับรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการจัดการความรู้ของผู้เรียน ซึ่งผลของการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการเรียนการสอนอีกแนวทางหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

วิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันและพัฒนาบุคลากร  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ข้อมูลทั่วไป
          ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) องค์ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดทางเว็บบล็อก  :  กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ)  Knowledge management via weblog case study  :  Students Mahasarakham university

หัวหน้าโครงการวิจัย/ ผู้ช่วยวิจัย/ พี่เลี้ยงนักวิจัย
          ผู้รับทุน (หัวหน้าโครงการวิจัย)  นายธานินทร์  หงษา
          ผู้ช่วยวิจัย นางสาวศิริพร  พร้อมจันทึก
          พี่เลี้ยงนักวิจัย (Mentor)  นายธวัชวงศ์  ลาวัลย์

ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
          ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่สำคัญ  คือ  การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล  (Digital  Technology)  โดยสมบูรณ์  กล่าวคือคอมพิวเตอร์ถูกนำมาผสมผสานกับระบบเครือข่าย  (Network  Technology)  ให้สามารถสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ  ได้  โดยมีการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้กับการสื่อสารแทบทุกด้าน  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต  วิธีการทำงาน  การเรียนรู้  ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร  และความเพลิดเพลินในชีวิต  รวมถึงการก่อให้เกิดการพัฒนางานด้านอื่น ๆ อีกมาก  อาทิด้านการศึกษา  ด้านธุรกิจ  และด้านการสื่อสารโทรคมนาคม  ทำให้ตลาดคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
          จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์  ทั้งในด้านการรับรู้และการเรียนรู้ สอดคล้องกับการสื่อสารในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นยุคของ web 2.0 กล่าวได้ว่าเป็นยุคของการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) อย่างไรก็ตามด้วยข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากจึงส่งผลต่อการบริโภคข้อมูลที่ไม่เป็นระบบ การพัฒนาในการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) จึงเป็นส่วนสำคัญในการจัดระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้บุคคลและองค์กรประสบความสำเร็จ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของยุคปัจจุบันและต่อไปในอนาคตเพราะสังคมได้กลายเป็นสังคมเศรฐกิจฐานความรู้  (knowledge  based  society)  ที่ทุกคลในสังคมจะต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาสร้างนวัตกรรม  (innovation)  สำหรับใช้เป็นพลังในการขับเคลื่อนในการพัฒนาตนเองและสังคม  ดังที่  ประเวศ  วะสี  (2545)  ได้ให้หลักการ  “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”  สำหรับใช้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยากว่าจพะต้องดำเนินการ  3  เรื่องไปพร้อม ๆ  กัน  คือ  การสร้างความรู้  การนำความรู้ไปเคลื่อนไหวสังคม  และเชื่อมโยงความรู้และความเคลื่อนไหวสังคมกับการดำเนินการทางการเมืองเพื่อเพื่อเคลื่อนไหวในเชิงระบบ  เชิงกติกาสังคม  (กฎหมาย)  หรือเชิงโครงสร้าง
          ซึ่งการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและกว้างขวางดังที่  วิจารณ์  พานิช  (2545)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  การจัดการความรู้  หมายรวมถึง  การรวบรวม  การจัดระบบ  การจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างเป็นความรู้  เทคโนโลยีด้านข้อมูลและด้านคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มพลังในการจัดการความรู้  แต่เทคโนโลยีด้านข้อมูลและคอมพิวเตอร์โดยตัวของมันเองไม่ใช่การจัดการความรู้  สอดคล้องกับ  ประเวศ  วะสี  (2545)  ได้กล่าวไว้ว่า  การจัดการความรู้  หมายถึง  การเชื่อมต่อความรู้  ข้อมูลข่าวสาร  การเรียนรู้  และการปฏิบัติให้เกิดผลดี  ดังนั้นการจัดการความรู้จะประสบผลสำเร็จได้จะต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้  โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสาร  (Communication  Technology)  เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานร่วมกัน  (Collaboration  Technology)  และเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บความรู้  (Storage  Technology)   ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่กระทำอย่างเป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับการแปลข้อมูล  (Data)  เป็นสารสนเทศ  (Information)  แปลสารสนเทศเป็นความรู้  (Knowledge)  และใช้ความรู้เพื่อปฏิบัติการณ์  (Wisdom)  ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้ทั้งหมดได้รับการจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่สำเร็จรูปพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที  โดยการผ่านกระบวนการที่สำคัญดังต่อไปนี้  การค้นคว้าและรวบรวมความรู้  การจัดหมวดหมู่ความรู้  การจัดเก็บความรู้  การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้  การจัดกิจกรรมและกระบวนการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้  การวิเคราะห์  สังเคราะห์เพื่อยกระดับความรู้  การสร้างความรู้ใหม่  การประยุกต์ใช้ความรู้  ร่วมถึงการเรียนรู้จากการใช้ความรู้นั่นเอง
          จากข้อมูลเบื้องต้นเมื่อพิจารณา  เว็บบล็อก (weblog) นับได้ว่าสามารถเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการสื่อสารในยุคปัจจุบันซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากสำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา และเป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง มีความสะดวกต่อการใช้งาน จึงนับได้ว่าเป็นสื่อที่มีประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่จะต้องมีการพึ่งพากันในการแลกเปลี่ยนความรู้  เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ความคิดให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การใช้เว็บบล็อก (weblog) จึงสามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถแบ่งปันประสบการณ์  การนำเสนอผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานและการพัฒนาองค์ความรู้ผ่านรูปแบบสังคมออนไลน์ (Social Online) ผ่านช่องทางที่ผู้เรียนมีความสนใจอยู่เป็นพื้นฐาน
          จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว  ผู้วิจัยจึงเห็นว่าเว็บบล็อก (weblog)  มีขยายตัวอย่างรวดเร็วในการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายมากขึ้นในปัจจุบัน  และด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการที่จะช่วยเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่องค์ความรู้ของแต่ละบุคคล  และสามารถนำมาจัดการความรู้ของตนเองได้เป็นอย่างดี    ผู้วิจัยจึงมีความสนใจทำการวิจัยเรื่อง  องค์ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดทางเว็บบล็อก  (weblog)  :  กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เพื่อมุ่งเน้นที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีทางเว็บบล็อก (weblog)  เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความรู้และเผยแพร่ความรู้  ในการเรียนการสอน  และศึกษาความพึงพอใจ  ผลที่ได้รับจากการการรับรู้  การถ่ายทอดความรู้  และการจัดการความรู้ของผู้เรียน  ซึ่งผลของการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการเรียนการสอนอีกแนวทางหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

วัตถุประสงค์
          1.  เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการจัดการความรู้  การเรียนรู้  และการถ่ายทอดความรู้  ผ่านทางเว็บบล็อก  (weblog)  ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้  การเรียนรู้  และการถ่ายทอดความรู้  ผ่านทางเว็บบล็อก  (weblog)  ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          3.  เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีเว็บบล็อก  (weblog)  เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ขั้นตอนการดำเนินงาน/ระเบียบวิธีวิจัย
          1.  กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นิสิตระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ปีการศึกษา  2551  จำนวน  1,200  คน 
          2.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นิสิตระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ปีการศึกษา  2551  จำนวน  291  คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางขนาดตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan
          3.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ทางเว็บบล็อก (weblog)  สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          4.  การวิเคราะห์ข้อมูล  การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อแจกแจงความถี่   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ตัวชี้วัด
          ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
                    1)  ความรู้ที่ได้รับการการถ่ายทอดทางทางเว็บบล็อก (weblog) 

          ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
                    1)  ได้แนวทางในการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ผ่านทางเว็บบล็อก (weblog)  และแนวทางในการจัดการเนื้อหาความรู้  เพื่อใช้พัฒนาการเรียนการสอน  ให้กับนิสิต  บุคลากรภายใน  และภายนอกมหาวิทยาลัย  ของศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคามให้มีคุณภาพ  และมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 260269เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท