อภิธานศัพท์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


อภิธานศัพท์ดนตรี

ดนตรี

 

การดำเนินทำนอง (melodic progression)  

1. การก้าวเดินไปข้างหน้าของทำนอง

                2. กระบวนการดำเนินคอร์ดซึ่งแนวทำนองขยับทีละขั้น

ความเข้มของเสียง (dynamic)

                เสียงเบา เสียงดัง เสียงที่มีความเข้มเสียงมากก็ยิ่งดังมากเหมือนกับ loudness

ด้นสด   

เป็นการเล่นดนตรีหรือขับร้อง โดยไม่ได้เตรียมซ้อมตามโน้ตเพลงมาก่อน ผู้เล่นมีอิสระ

ในการกำหนดวิธีปฏิบัติเครื่องดนตรีและขับร้อง บนพื้นฐานของเนื้อหาดนตรีที่เหมาะสม เช่น

การบรรเลงในอัตราความเร็วที่ยืดหยุ่น การบรรเลงด้วยการเพิ่มหรือตัดโน้ตบางตัว

บทเพลงไล่เลียน (canon)           

                แคนอน มาจากภาษากรีก แปลว่า กฎเกณฑ์ หมายถึงรูปแบบบทเพลงที่มีหลายแนวหรือดนตรีหลายแนว แต่ละแนวมีทำนองเหมือนกัน แต่เริ่มไม่พร้อมกันแต่ละแนว จึงมีทำนองที่ไล่เลียนกันไปเป็นระยะเวลายาวกว่าการเลียนทั่วไป โดยทั่วไปไม่ควรต่ำกว่า 3 ห้อง ระยะขั้นคู่ระหว่างสองแนวที่เลียนกันจะห่างกันเป็นระยะเท่าใดก็ได้ เช่น แคนอนคู่สอง หมายถึง แคนอนที่แนวทั้งสอง                เริ่มที่โน้ตห่างกันเป็นระยะคู่ 5 และรักษาระยะคู่ 5 ไปโดยตลอดถือเป็นประเภทของลีลาสอดประสานแนวทำนองแบบเลียนที่มีกฎเกณฑ์เข้มงวดที่สุด

ประโยคเพลง (phrase)                

                กลุ่มทำนอง จังหวะที่เรียบเรียงเชื่อมโยงกันเป็นหน่วยของเพลงที่มีความคิดจบสมบูรณ์ในตัวเอง มักลงท้ายด้วยเคเดนซ์ เป็นหน่วยสำคัญของเพลง

ประโยคเพลงถาม - ตอบ              

                เป็นประโยคเพลง 2 ประโยคที่ต่อเนื่องกันลีลาในการตอบรับ ส่งล้อ ล้อเลียนกัน                อย่างสอดคล้อง เป็นลักษณะคล้ายกันกับบทเพลงรูปแบบ AB แต่เป็นประโยคเพลงสั้น ๆ ซึ่งมักจะมีอัตราความเร็วเท่ากันระหว่าง 2 ประโยค และความยาวเท่ากัน เช่น ประโยคเพลงที่ 1 (ถาม)                มีความยาว 2 ห้องเพลง ประโยคเพลงที่ 2 (ตอบ) ก็จะมีความยาว 2 ห้องเพลง ซึ่งจะมีลีลาต่างกัน            แต่สอดรับกันได้กลมกลืน

ผลงานดนตรี

                ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยมีความเกี่ยวข้องกับการนำเสนองานทางดนตรี  เช่น  บทเพลง  การแสดงดนตรี

เพลงทำนองวน (round)             

เพลงที่ประกอบด้วยทำนองอย่างน้อย 2 แนว ไล่เลียนทำนองเดียวกัน แต่ต่างเวลาหรือจังหวะ สามารถไล่เลียนกันไปได้อย่างต่อเนื่องจนกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกไม่มีวันจบ

รูปร่างทำนอง (melodic contour) 

รูปร่างการขึ้นลงของทำนอง ทำนองที่สมดุลจะมีทิศทางการขึ้นลงที่เหมาะสม

สีสันของเสียง    

ลักษณะเฉพาะของเสียงแต่ละชนิดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะต่างกัน เช่น  ลักษณะเฉพาะของสีสันของเสียงผู้ชายจะมีความทุ้มต่ำแตกต่างจากสีสันของเสียงผู้หญิง  ลักษณะเฉพาะของสีสันของเสียง           ของเด็กผู้ชายคนหนึ่งจะมีความแตกต่างจากเสียงเด็กผู้ชายคนอื่น ๆ

องค์ประกอบดนตรี (elements of music)    

                ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดนตรี ได้แก่ทำนอง จังหวะ เสียงประสาน สีสัน

ของเสียง และเนื้อดนตรี

อัตราความเร็ว (tempo)

                ความช้า ความเร็วของเพลง เช่น อัลเลโกร(allegero) เลนโต (lento)

ABA                                                 

สัญลักษณ์บอกรูปแบบวรรณกรรมดนตรีแบบตรีบท หรือเทอร์นารี (ternary)

ternary form                                 

                สังคีตลักษณ์สามตอน โครงสร้างของบทเพลงที่มีส่วนสำคัญขยับทีละขั้นอยู่ 3 ตอน ตอนแรกและตอนที่ 3 คือ ตอน A จะเหมือนหรือคล้ายคลึงกันทั้งในแง่ของทำนองและกุญแจเสียง                         ส่วนตอนที่ 2 คือ ตอน B เป็นตอนที่แตกต่างออกไป ความสำคัญของสังคีตลักษณ์นี้ คือ การกลับมา               ของตอน A ซึ่งนำทำนองของส่วนแรกกลับมาในกุญแจเสียงเดิมเป็นสังคีตลักษณ์ที่ใช้มากที่สุดโดยเฉพาะในเพลงร้อง จึงอาจเรียกว่า สังคีตลักษณ์เพลงร้อง (song form) ก็ได้

หมายเลขบันทึก: 260261เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • ชนใดไม่มีดนตรีการ
  • ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก

พี่กุ้งชอบดนตรีไทยนะ  ชอบฟัง  แต่เล่นดนตรีไม่เป็นจ้ะ...แบบว่า คนโบราณอ่ะนะ  อิ อิ

อ้อยเล่นเป็นค่ะ..เล่นแบบทีมค่ะ..คืออังกะลุง..เล่นคนเดียวเดียวไปไม่รอดค่ะ..อิๆๆอีกแระฮาๆๆเรื่อยเลยชีวิต..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท