สพฐ.และ กศน.ลงนามร่วมมือจัดการศึกษา ปวช.ในสถานศึกษา สพฐ.


ขยายผลโครงการนี้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนและเป็นทางเลือกสำหรับนักเรียนสายสามัญให้มีวิชาชีพต่อไป.

สพฐ.และ กศน.ลงนามร่วมมือจัดการศึกษา ปวช.ในสถานศึกษา สพฐ.
          นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.) กับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการดำเนินโครงการความร่วมมือการเข้าถึงเด็กและเยาวชนเพื่อการจัดบริการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดบริการการศึกษาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุม สพฐ.
          รมว.ศธ. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์มาก สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล นั่นก็คือเราต้องการมุ่งเน้น นอกจากการเรียนการสอนการศึกษาภาคบังคับ และการจัดให้มีการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพแล้ว นโยบายสำคัญอีกประการหนึ่งคือการมุ่งเน้นให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น อย่างน้อยที่สุดเป้าหมายก็คือ เมื่อเด็กจบการศึกษาหรือออกกลางคัน ก็จะมีอาชีพติดตัว ขณะเดียวกันสายอาชีพก็เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ดังจะเห็นว่าคนที่มีวิชาชีพติดตัวส่วนใหญ่ก็จะไม่ตกงาน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือวิกฤติใดก็ตาม โอกาสที่จะมีงานทำย่อมมีมากกว่าผู้ที่เรียนสายสามัญ ๑๐๐% แต่ไม่ได้หมายความว่าเรียนสายสามัญแล้วไม่ดี
            นโยบาย ศธ.ต้องการให้ผู้ที่เรียนสายสามัญกับสายอาชีพมีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ๕๐:๕๐ ซึ่งแนวโน้มปีนี้ดีขึ้น
กล่าวคือ มีคนเรียนสายอาชีพมากขึ้น โครงการนี้ ก็จะเป็นอีกโครงการหนึ่งที่สืบเนื่องมาจากที่โรงเรียนสังกัด สพฐ. ได้เปิดโอกาสให้มีการเรียนระดับ ปวช. โดยร่วมมือกับ สอศ. ซึ่งเรียนควบคู่กันไป๓ ปีและจบวิชาสามัญด้วย ขณะเดียวกันเรียน ๓ ปีครึ่งก็จะได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้วย เช่นเดียวกับโครงการนี้ที่ทำร่วมกับ กศน. ที่เรียน ๓ ปีครึ่ง ทำให้เด็กได้ ๒ ประกาศนียบัตรพร้อมกันทั้งสายสามัญและ ปวช. นับว่าเป็นประโยชน์และเป็นการร่นระยะเวลาของเด็ก ที่ทำให้ได้ประกาศนียบัตรอีกใบหนึ่ง ซึ่งหากเด็กไม่ต้องการเรียนต่อก็มีวิชาชีพติดตัวสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ แต่หากต้องการจะเรียนต่อก็สามารถทำได้
           ขยายผลโครงการนี้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนและเป็นทางเลือกสำหรับนักเรียนสายสามัญให้มีวิชาชีพต่อไป.
อ้างอิงจาก http://www.moe-news.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1243&Itemid=&Itemid=&preview=popup&catid=10

หมายเลขบันทึก: 260215เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท