เกร็ดวิจัยสำหรับครู


ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ

   มีครูหรือผู้วิจัยจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ ซึ่งจะนำมาแลกเปลียนเรียนรู้ ดังนี้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 1 : เข้าใจว่าแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นสำหรับใช้ในชั้นเรียนทั่วไปเป็น  แบบทดสอบอิงกลุ่ม

ความเข้าใจที่ถูกต้อง 1 : แท้จริงแล้วแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเองโดยยึดผลการเรียนรู้หรือจุดประสงค์นั้นเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ เพราะใช้เพื่อมุ่งประเมินว่าผู้เรียนรอบรู้ หรือไม่รอบรู้เมื่อเทียบกับเกณฑ์  ไม่ได้มุ่งเพื่อนำไปใช้สอบคัดเลือกเข้าทำงานหรือมหาวิทยาลัยเหมือนแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (แบบทดสอบ O-NET ; NT) ซึ่งกว้างกว่าในระดับชั้นเรียน

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 2 : ใช้สถิติในการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบอิงกลุ่มกับแบบทดสอบอิงเกณฑ์

ความเข้าใจที่ถูกต้อง 2 : สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงเกณฑ์ควรใช้สถิติในการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ แต่ปัจจุบันที่นิยมใช้ผิดประเภทกัน โดยเฉพาะการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ซึ่งที่ถูกต้อง และนิยมใช้กันคือวิธีของโลเวตต์แต่กลับไปใช้สูตร KR20 ; KR21 ซึ่งเป็นสถิติที่ใช้กับแบบทดสอบอิงกลุ่ม นอกจากนี้ค่าความอำนาจจำแนกของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ที่นิยมใช้กันคือวิธีของเบรนแนน

    หากครูหรือผู้วิจัยเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของแบบทดสอบที่ตนสร้างนั้นเป็นแบบใด แล้วการเลือกใช้สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบก็ต้องสอดคล้องกับประเภทของแบบทดสอบที่ตนสร้างขึ้น ไม่อย่างนั้นก็จะทำให้ใช้สถิติกันผิดต่อๆ กันไป

หมายเลขบันทึก: 259405เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอทบทวนความรู้ด้วยคนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ข้าน้อยสมควรตาย...อิอิ

...รักกัน ค่า รักกัน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท