มหาพาเรียนภาษาอังกฤษ บทที่1(ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษ)


ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษ


บทที่1

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษ

    ภาษาทั้งสองมีรากเหง้าเหล่ากอมาจากที่เดียวกันคือ เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน(Indo- European)ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่คนพูดมากที่สุด  แม้ว่าสาขาย่อยของภาษาทั้งสองนี้จะอยู่คนละสาย กล่าวคือ ภาษาอังกฤษจัดอยู่สายเยอรมันนิค(Germanic)ขณะที่ภาษาบาลีจัดอยู่อีกสายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อินโด - อิราเนี่ยน(Indo - Iranian) ซึ่งแสดงให้ดังนี้:

กลุ่มย่อยต่าง ๆ ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนรวมถึง (ตามลำดับตามประวัติศาสตร์ของการปรากฏครั้งแรก) :

  • ภาษากลุ่มอนาโตเลีย — แขนงที่มีหลักฐานปรากฏเก่าแก่ที่สุด

จากช่วงศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาล; สูญพันธุ์ ที่เด่นที่สุดคือภาษาของฮิตไตต์

  • ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน — รวมถึงภาษาบาลี-สันสกฤต, มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่

สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล, อเวสถาน และภาษาเปอร์เซีย

  • ภาษากรีก — มีหลักฐานภาษาไมซิเนียนที่ไม่สมบูรณ์

จากศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล; โฮเมอร์ มีอายุในช่วง ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล. ดูประวัติศาสตร์ของภาษากรีก.

  • ภาษากลุ่มอิตาลิก — รวมถึงภาษาละติน รวมถึงภาษาที่สืบมาจากภาษานี้

คือภาษากลุ่มโรมานซ์ ปรากฏตั้งแต่ สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล.

  • ภาษากลุ่มเคลติก — คำจารึกภาษากอลลิช (Gaulish) มีอายุตั้งแต่

ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล; เอกสารภาษาไอริชโบราณจากคริสต์ศตวรรษที่ 6

  • ภาษากลุ่มเจอร์เมนิก (รวมถึงภาษาอังกฤษ)

หลักฐานที่ปรากฏครั้งแรกคือคำจารึกอักษรรูนจากประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 2, เอกสารที่มีเรื่องราวที่เก่าแก่ทีสุดเป็นภาษาโกธิค, คริสต์ศตวรรษที่ 4

  • ภาษาอาร์เมเนีย — มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5
  • ภาษากลุ่มโตคาเรียน — ภาษาสูญพันธุ์ของชาวโตคาเรียน

ปรากฏ 2 ภาษาย่อย มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6โดยประมาณ

  • ภาษากลุ่มบัลโต-สลาวิก — รวมถึงภาษากลุ่มบอลติกและภาษากลุ่มสลาวิก;
  • ภาษากลุ่มสลาวิกมีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดเป็นภาษา Old Church Slavonic, คริสต์ศตวรรษที่ 9; ภาษากลุ่มบอลติกมีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14
  • ภาษาแอลเบเนีย — มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16;

มีการเสนอความสัมพันธ์กับภาษาอิลเลเรียน ดาเซียน หรือ เธรเซียน

     ภาษาอังกฤษมาจากตระกุลเชื้อสายเยอรมันนิค(Germanic) ซึ่งเยอมันนิคเองยังแบ่งออกเป็นสายย่อยๆอีก 3 สายได้แก่ West  Nort   East  ภาษาอังกฤษจัดอยู่ในสาย West รวมกลุ่มเดียวกันกับภาษาดัตช์ เยอรมัน เฟลมมิช ยิดดิช และ แอฟรีกัน ซึ่งพัฒนาไปจากภาษาอังกฤษสาย East ได้แก่ พวกภาษา โคติค (Gothic) ซึ่งเป็นภาษาที่ตาย (Dead Langguage) ไปเสียแล้ว....

     ที่นี่วกมาดูภาษาบาลีกันบ้าง ภาษาบาลีเองสืบเชื้อสายมาจากตระกูล อินโด - อิราเนียน (Indo - Iranian) อีกทอดหนึ่ง ซึ่ง Iranian เองยังขยายลูกหลานออกไปอีก เช่น ภาษาเปอร์เซียน ซึ่งพูดกันเป็นหลักในประเทศอิหร่าน,ภาษาพาชโต (Pashto) พูดกันในอัฟกานิสถาน, กูรดิช (Kurdish) ใช้พูดสื่อสารกันในประเทศอิรัก  อิหร่าน  และตุรกี  วกมาหาภาษากลุ่มภาษา Indo หรือ Indic ก็มีพวกภาษาสันสกฤต และปรากต ซึ่งปรากตเองยังแผ่ลูกขยายหลานออกไปเป็นภาษาบาลี ฮินดี อูรดู เบงกาลี ปัญจบี มารตี แคชมิรี  ที่ใช้พูดกันในประเทศอินเดีย และบังคลาเทศ  ซึ่งก็เหมารวมเอาง่าย ๆ ไปว่าเป็นภาษา ที่ใช้พูดสื่อสารกันอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียใต้นั่นเอง

     ภาษาบาลีและภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มาจากตระกูลเดียวกันคือตระกูล Indo - European ดังนั้น ภาษาทั้งสองกลุ่มนี้ จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่ม"ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย (Inflection Language)" ลักษณะเด่นของภาษาทั้งสองนี้ก็คือ การสร้างคำ (Word Fomation) ซึ่งมาจากธาตุ (Root) หรือไม่ก็สร้างคำใหม่ๆ ด้วยการเติมอุปสัค (Prefixation) เข้ามาข้างหน้า หรือการลงปัจจัย (Suffixation) ลงข้างหลังคำ หรือมีวิธีอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย ซึ่งจะขอกล่าวโดยละเอียดในบทต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 258586เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เช่น มารดา mother mutter , บราดา brother bruder.

"บ่อ" (น้ำ) และ (water) "bore" เกี่ยข้องกันหรือเปล่าครับ?

สารมรถ s-mart - smart

ทน tol (erate) -tolerate

ทรมาน tor-men (t) - torment

เกี่ยวไหมครับ?

อันนี้ไม่ทราบเหมือกันครับ เดี๋ยวหาข้อมูลแล้วจะมาบอกอีกทีครับ

ขนาด โท ยัง ทู. แล้ว. ตรี. อังกฤษsay. Treeแต่ปัจจัย ต่างๆที่ได้รับอิทธิพลมาต่างกัน ซึ่งไม่ได้รับมาจากทางเดียว ต่างคนจึงต่าง พัฒนาไปในคนละด้าน. จึงไม่สามารถเหมือนกันได้หมด. เหมือนจีนกลาง. ยก1ตัวอย่าง. คำว่า. ริ่ว แต้จิ๋วชาวจีนที่อพยบมาไทย พูดว่า. หลก. คนไทยพูด หก. ทำไม. คำว่า จี่. คนไทยเรียก กี่. ยังมีอีกนะ แต่ส่วนใหญ่ จีนกลางมันเหนือ จีนใต้ ก็เพี้ยนไปเรื่อยๆ. เอาเข้ามาในไทยก็ มีไทยเดิมอยู่แล้ว. และรับอิทธิพลจาก บาลี สัน•••. เขมร พม่านิดๆ. เป็นต้น จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน. อาจมีหลายคำที่คล้ายๆประเทศที่รับอิทธิพลเข้ามา. อังกฤษเองก็มีคำที่มาจากฝรั่งเศษด้วยหลายคำแต่ซึมซับไปแล้ว. จะให้มาเหมือนกันเยอะๆ ยากค่ะ. แต่ว่าถ้า. ในกรณี บาลี สัน. มันคงได้รับอิทธิพลมาพอๆกัน. หรือไม่คนที่ให้กำเนิดภาษา. ย้ายมาเพื่อให้กำเนิดภาษาอีกเมืองนึงซึ่งปรับคำพูดอ่าน ให้ไม่ต่างจากคำที่ชนพื้นเมืองนั้นๆออกเสียง. แต่หลักการพอๆกัน เรียงคำ. คำเสริม. การออกเสียงพ้องรูปพ้แงเสียง. อาจจะเหมือนกันเยอะมาก. นอกจากเหมือนแล้ว. ยังมีคล้ายๆกันอีกเยอะ. ยากมากที่จะมี คนละคนแล้วแต่งภาษา บาลี สันออกมา. ยกเว้น. ไปก๊อปปี้เค้ามาแล้วก็ดัดแปลงให้คล้ายๆ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท