หน้าที่


                     

 

                  เมื่อต้องเรียนรู้กับคำว่า "หน้าที่" เรามักจะรู้จักกันดี 

          แต่ทางวันนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้มากกว่า "หน้าที่"ด้านเดียว เท่าที่เคยรู้จักมาก่อน วันนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง คุณภาพ  

         หน้าที่ ตามความหมายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542   มีความหมายว่า  กิจที่ต้องทำด้วยความรับผิดชอบ

                                     

 

        หน้าที่แต่ละคน ล้วนแตกต่างกันออกไป หลายคนมีหน้าที่หลายอย่างซ้ำกันออกไป เช่น ข้าพเจ้า มีหน้าที่เป็นลูกที่ดี ต้องคอยกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา หน้าที่แม่ที่ดี ต้องคอยอบรมเลี้ยงดู ดูแลลูกน้อยให้เป็นคนดี   หน้าที่พยาบาลที่ดี ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนสังคม ให้มีสุขภาพดี หน้าที่ลูกน้องที่ดี ต้องคอยรับนโยบายที่ผู้บริหารมอบหมายและทำให้ประสบผลสำเร็จที่เขาได้มอบหมายมาให้ดีที่สุด

 

        เมื่อวันนี้แตกต่าง  บางคนรับผิดชอบงานหน้าเดียว  เมื่อเราได้ทำ job งานแต่ละคน มีหน้าที่ที่ต้องทำ กันแตกต่าง  ทางคู่ขนานเกิดขึ้น "นี้ไม่ใช่หน้าที่ฉัน นี่หน้าที่เธอ ฉันเสร็จงานแล้ว  เธอก็ทำไปสิ ฉันทำของฉันแล้ว " การนิ่งดูดาย ไม่น่าเกิดขึ้น ในสังคมไทย ๆ สังคมแห่งน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  "คนไทย มีน้ำใจ"

                                      

       สังคมเหล่านี้หายไปไหน  สังคมที่มีแต่ความรีบเร่ง แข่งขัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่มีการยอมแพ้   อยากให้ทุกคนเรียนรู้นิทาน แสนดี นี้เผื่อจะได้กระตุ้นต่อมแห่ง สำนึกดี ขึ้นมาบ้าง

 

      นิทานเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอโทษอย่างสูง ที่ไม่อาจจำได้ว่าท่านใดเล่าให้ฟังค่ะ แต่อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าได้ระลึกถึงท่านเสมอ ที่ได้ให้ข้าพเจ้ากระจ่างในความหมายของคำว่า "หน้าที่"

 

      "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  มีชาวบ้านท่านหนึ่งมีที่อยู่ติดคลอง ซึ่งถือว่าทำเลดี เพราะไม่เพียงแต่อากาศดี  ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจที่ปลอดโปร่ง  เป็นธรรมดา บ้านติดคลองย่อมต้องมีสะพานข้ามคลอง ซึ่งสะพานนั้นผ่านหน้าบ้านท่านพอดี  ใคร ๆ ผ่านมาก็ชื่นชมในน้ำใจท่านที่ได้สร้างสะพานข้ามคลองให้คนอื่น ๆ ข้าม และเขาเหล่านั้นได้ใช้ประโยชน์จากการข้ามสะพานนั้น  เจ้าของบ้านย่อมยินดีกับคำชื่นชม อิ่มเอิบใจ 

 

       นานวันเขา เป็นธรรมดาของโลก ทุกสิ่งย่อมมีวันเสื่อมสลาย ตามกาลเวลา  สะพานย่อมมีวันพุพัง ชำรุด  ใครผ่านไปผ่านมา มีแต่คนแช่งชัก หักกระดูก  "ใครกันไม่รู้จักซ่อมแซม ปล่อยให้พังอยู่ได้ " ใคร ๆ ก็แข่ง  ไม่มีใครสนใจ ไม่เคยคิดว่าเป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่หน้าบ้านเรา  คนในบ้านก็พลอยแต่ทุกข์ หากเป็น "หน้าที่ " เรา เราก็จะซ่อม แต่ไม่มีใครซ่อมเลย คอยแต่ให้สะพาน ซึ่งอยู่หน้าที่ ใคร ก็ให้เขาคนนั้นซ่อม แต่เจ้าของที่ไม่เคยคิดซ่อมเลย เพราะมัวแต่คิดว่า ทำไมต้องเป็นหน้าที่เรา ลำพังเราก็สร้างสะพานให้ใช้แล้ว แล้วทำไมเราต้องรับผิดชอบซ่อมให้อีก ทั้ง ๆ ที่เราทุกคนก็ใช้กัน"

                                      

      สุดท้ายสะพานก็พัง ไม่มีใครใช้ประโยชน์จากสะพานนี้ต่อไปได้ 

      นี่กระมั่ง ที่มาของคำว่า "หน้าที่"

      หน้าที่ (ดิน) ใคร ๆ คนนั้นต้องทำ

      จริงหรือเปล่า ?

      เราหันกลับมาช่วยกันดีกว่าค่ะ

      คนไทยมีน้ำใจ 

      อย่าคิดว่าเป็นหน้าที่   แต่คิดว่าเป็น "น้ำใจ"

                                           

      "คนไทยไม่ไร้น้ำใจ " จริงหรือเปล่า ?

                                

 

                                              

 

หมายเลขบันทึก: 258250เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คนเรามีหมวกที่ต้องสวมหลายใบ ใบหนึ่งเป็นพ่อ ใบหนึ่งเป็นลูก ใบหนึ่งเป็นสามีหรือภริยา ใบหนึ่งเป็นเพื่อน ใบหนึ่งเป็นเจ้านาย เป็นลูกน้อง เป็นเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน เมื่อสวมหมวกแต่ละใบก็มีหน้าที่ตามหมวกที่สวม

สังคมสมัยก่อนเป็นไปอย่างช้าๆ จะไปตลาดก็เดินไป ไกลหน่อยก็ใช้จักรยาน ไปไกลกว่านั้นก็นั่งสองแถว แถมสองแถวก็ไปเรื่อยๆสอดสายตาไปเรื่อยว่าจะมีใครไปด้วยหรือเปล่า ทำให้เกิดความอดทน อดกลั้น และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันช้ามันก็เลยมีเวลาหันกลับมาดูเพื่อน ดูครอบครัว

ต่อมาเราใช้รถจักรยานยนต์ ใช้รถยนต์ แรกๆก็ไม่เร็วเท่าไหร่ แต่การพัฒนาทำให้กำลังของรถเร็วขึ้น ผู้คนก็ติดความเร็ว ความอดทนก็น้อยลง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หันกลับมาดูเพื่อนก็น้อยลง เพราะต่างก็รีบทำหน้าที่ของตัวให้เสร็จเพื่อจะได้ไปต่อ เราคงต้องรณรงค์ให้คนช้าลง เพื่อจะได้มีเวลาคิดมากขึ้นครับ

สวัสดีค่ะ

  • หน้าที่คือความรับผิดชอบค่ะ
  • แต่บางครั้งหรือหลายครั้งก็ต้องร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจกันค่ะ
  • เพื่อความสุขของสังคม
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดีค่ะ คุณพ่ออัยการชาวเกาะ

- คนเราสมัยนี้ไม่ค่อย อดทน สักเท่าไหร่

สงสัยต้องกลับมาขึ้นเกวียนกันอีกหน่อยนะค่ะ (ในพิพิธภัณฑ์ค่ะ)

สวัสดีค่ะ ครูคิม

- คนเราต้องรู้จักหน้าที่ และ ต้องรับผิดชอบ "หน้าที่" ตัวเองด้วยค่ะ

- ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท