จำ ใจ ใช้ วิ สัง ประ


สอบที่ดีคือ ข้อสอบที่ไม่ยาก และไม่ง่ายจนเกินไป พูดง่ายแต่ทำยาก

หลังจากอบรมเสร็จแล้ว เราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้เข้าอบรม มีความรู้ตรงตามที่เราได้อบรมไป ส่วนใหญ่การ อบรมภาคทฤษฎีเราก็จะวัดด้วยการสอบ ทั้งแบบอัตนัย และปรนัย และข้อสอบที่ดีควรเป็นอย่างไร ซึ่งตามทฤษฎีท่านกล่าวไว้ว่า ข้อสอบที่ดีคือ ข้อสอบที่ไม่ยาก และไม่ง่ายจนเกินไป พูดง่ายแต่ทำยาก สรุปก็คือ ให้ลองนำข้อสอบที่เราออกไปนั้น ไปทดลองใช้ กับผู้เข้าอบรม ประมาณ 2-3 รุ่น แล้ววิเคราะห์ ออกมาแต่ละข้อ เปรียบเทียบกับคะแนนรวมของคนนั้น คนที่ได้คะแนนมากต้องตอบข้อที่ยากและข้อที่ง่ายได้ และคนที่ได้คะแนนน้อยต้องไม่สามารถตอบข้อยากได้ ข้อสอบนั้นจึงจะมีความแม่นยำและได้มาตรฐาน เช่น สมมุติว่าข้อสอบมี 100 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนรวม 100 คะแนน นาย ก. ทำข้อสอบได้ 90 ข้อ 90 คะแนน ถือว่าอยู่ในกลุ่มเก่ง นาย ข. ทำข้อสอบได้ 60 ข้อ 60 คะแนน ถือว่าอยู่ในกลุ่มไม่เก่ง จากการตรวจสอบข้อสอบ ข้อที่ 1 พบว่า นายก.ตอบได้  นาย ข  ก็ตอบได้ แสดงว่า ข้อสอบนั้นเป็นข้อสอบง่าย  ข้อที่ 2 พบว่า นาย ก.ตอบได้ แต่นาย ข  ตอบไม่ได้ แสดงว่า ข้อสอบนั้นเป็นข้อสอบยาก  ข้อที่ 3 พบว่า ทั้งนาย ก.และนาย ข  ตอบไม่ได้ แสดงว่า ข้อสอบนั้นเป็นข้อสอบที่ไม่ได้มาตรฐาน สมควรที่จะทิ้งไป

 

 

จากที่กล่าวมานี้คือ ทฤษฎีในเชิงอุคมคติ ซึ่งถ้าทำจริงๆ ก็คงต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ข้อสอบอย่างจริงจังทีละข้อ แต่ในความเป็นจริง จะมีใครนำไปใช้บ้าง ผมคนหนึ่งละที่ยอมรับว่า ไม่ได้นำทฤษฎีไปใช้อย่างเต็มที่ 100 % ตามอุดมคติ แต่อย่างไรก็ตามผมยังคงใช้ทฤษฎีนี้เป็นแนวทางในการออกข้อสอบ และนำข้อสอบมาวิเคราะห์บ้าง โดยที่ตอนผมตรวจข้อสอบ ก็จะสังเกตด้วยว่า ทำไม ข้อนี้จึงไม่มีใครตอบได้เลย นั่นแสดงถึงความผิดปกติของกระบวนการอบรมที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องข้อสอบเท่านั้น เช่น คำถามข้อสอบกำกวมไม่ชัดเจน ผู้อ่านตีความไปคนละอย่าง ข้อมูลการสอนของผู้สอนไม่ถูกต้อง  เนื้อหาหรือเอกสารประกอบการฝึกอบรมไม่ Updated ตามการปฏิบัติงานจริง หรือที่ตามบริบทที่เป็นอยู่จริงเป็นต้น เหล่านี้ผมก็นำมาปรับปรุงการสอนของทีมงานผมต่อไป

 

หลักการง่ายๆ ในการสอนและทำข้อสอบที่ผมยังใช้อยู่ คือ สอนตามวัตถุประสงค์ (เชิงพฤติกรรม) ( MAIP : http://gotoknow.org/blog/attawutc/237875 ) ออกข้อสอบตามวัตถุประสงค์ (เชิงพฤติกรรม) ตามความยากง่ายของ ทฤษฎี จำ ใจ ใช้ วิ สัง ประ

 

ผมจั่วหัวเรื่องไว้ เป็นเรื่องของ ทฤษฎี จำ ใจ ใช้ วิ สัง ประ แต่ยังไม่ได้กล่าวถึงเลย มัวแต่ไปพูดเรื่องข้อสอบ คงต้องผลัดไปบันทึกหน้าแล้วละครับ สัญญาว่าจะเล่าให้ฟังอย่างหมดเปลือกเลยครับ

หมายเลขบันทึก: 257960เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ก็จะมี  Bloom's Taxonomy  คือ  Create  Evaluate Analysis  Applying  Understanding  Remember

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครูอ้อยที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ความจริง หลักการ จำ ใจ ใช้ วิ สัง ประ ก็คือ ทฤษฎี Bloom's Taxonomy นั่นเองครับ คือ Create (สังเคราะห์) Evaluate (ประเมินผล) Analysis (วิเคราะห์) Applying (นำไปใช้) Understanding (เข้าใจ) Remember (นำไปใช้) แต่ผมนำมาปรับให้เข้ากับจริตการใช้งานง่ายๆ ตามสไตล์ของเด็กช่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท