แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

โยคะสูตรว่าด้วย การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ (ตอนจบ) -๓-


 


เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"
 
    (๑)การปรุงแต่งของจิตในโยคะสูตร
(๒)โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ 

(๓)โยคะสูตรว่าด้วย 
    การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๔)โยคะสูตรว่าด้วย 
    การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๕)โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๖) โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งจิต ๕ ประการ (ตอนจบ) 
     และการบรรลุถึงการดับการปรุงแต่งของจิต
-(๖.๑)- ; -(๖.๒)- -(๖.๓)-

 

โยคะสูตรว่าด้วย การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ (ตอนจบ) 
และการบรรลุถึงการดับการปรุงแต่งของจิต 
- ๓ -

เขียนโดย ; วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
(เข้าดูบทความของทั้งสองท่านที่นี่)

โยคะสารัตถะ ฉ.; เม.ย.'๕๒


คำว่า "ไนรันตรยะ" ที่เพิ่งได้อธิบายมาข้างต้นนั้นหมายถึงเพียงแค่ความเป็นประจำสม่ำเสมอเท่านั้น อย่างไรก็ตามผู้ฝึกปฏิบัติโยคะทุกคนต่างก็รู้จากประสบการณ์ของตนเองกันว่า ความตรงต่อเวลาก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน

ผู้ฝึกปฏิบัติจะพบว่าการฝึกมรรคของโยคะใดใดก็ตามหากฝึกตามเวลาที่เขาเคยทำจนเป็นนิสัยตามปกติแล้วเขาก็จะฝึกได้อย่างง่าย ราบรื่น และสะดวกสบาย หรือในอีกแง่หนึ่งการฝึกอย่างเดียวกันนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและไม่สะดวกราบรื่นถ้าผู้ปฏิบัติไปเลือกฝึกในเวลาอื่นที่ไม่ใช่เวลาที่เคยฝึกตามปกติ ดังนั้นแม้ในประโยคนี้จะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการตรงต่อเวลาไว้อย่างชัดเจนแต่ก็ถือได้ว่าการปฏิบัติตรงตามเวลาเช่นเคยนั้นเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่ผู้ฝึกปฏิบัติควรพิจารณาด้วย

ในแง่มุมนี้คำว่า "ไนรันตรยะ" จึงควรได้รับการตีความว่า "ด้วยการฝึกที่สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา" กระนั้นก็ตามการปฏิบัติที่ตรงต่อเวลาไม่ควรจะ "ตึงเกินไป" หรือเป็นการตรงต่อเวลาแบบนาทีต่อนาทีเลยทีเดียว เนื่องจากความตึงหรือความไม่ยืดหยุ่นมากๆ เช่นนั้นบ่อยครั้งที่สร้างความตึงเครียดให้เกิดขึ้นได้หากผู้ฝึกไม่สามารถปฏิบัติตรงตามเวลาที่กำหนดนั้นได้ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลบางอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราจึงไม่ควรจะกลายเป็นทาสของเวลา(นาฬิกา) โดยทั่วไปแล้วการรักษาเวลาเดิมของการฝึกปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ

ในความพยายามใดใดก็ตามที่จะบรรลุถึงความสำเร็จของบางสิ่งบางอย่างที่ปรารถนานั้น สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องมีก็คือ ทัศนคติหรือจิตใจที่เปิดว่าง และพึงพอใจ นี่คือเงื่อนไขสุดท้ายที่ปตัญชลีได้แนะนำไว้ในประโยคนี้ ถ้าขาดซึ่งเงื่อนไขข้อนี้แล้วก็อาจจะนำไปสู่การขาดความตั้งใจมั่นและไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้ หากการปฏิบัติไม่ได้ทำด้วยจิตใจที่เปิดว่าง*และพึงพอใจการปฏิบัตินี้ก็จะกลายเป็นเพียงความพยายามธรรมดาๆ ของคนทั่วไปเท่านั้น นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมทัศนคติหรือจิตใจของผู้ฝึกเช่นนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากต่อความสำเร็จในการกระทำทุกๆ อย่าง และยิ่งเป็นจริงมากยิ่งขึ้นในการฝึกปฏิบัติโยคะ

โดยความจริงแล้วเงื่อนไขทั้ง ๓ ข้อเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่กล่าวมาในประโยคนี้ ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่องเป็นเวลานาน ความสม่ำเสมอและตรงเวลา และความมีจิตใจที่เปิดว่างและพึงพอใจ ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงอื่นๆ ด้วย และแน่นอนสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ต่อการบรรลุถึงความสำเร็จในการฝึกโยคะ

เอกสารอ้างอิง : 
๑) สุนทร ณ รังษี, (๒๕๓๐). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
๒) สัตยานันทปุรี, สวามี, (๒๕๑๑). ปรัชญาฝ่ายโยคะ. พระนคร : อาศรมวัฒนธรรม ไทย-ภารต.
๓) Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

 

 

*ทัศนคติหรือจิตใจที่เปิดว่าง ในที่นี้ขออธิบายแยกเป็น ๒ คำ คือ "เปิด" หมายถึง ผู้ฝึกควรมีจิตใจที่เปิดกว้างพร้อมที่จะรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน รวมทั้งเรียนรู้สิ่งที่อาจขัดแย้งกับความคิดความเชื่อเดิมๆ ของตนเอง ส่วนคำว่า "ว่าง" หมายถึง ผู้ฝึกควรทำจิตใจให้ว่าง ปล่อยวางจากความยึดมั่นในความคิดและความเคยชินต่างๆ ของตนเองด้วย (ผู้แปล) 



ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

หมายเลขบันทึก: 257368เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

มาชวนไปทำสำรวจสถิติ กรุ๊ปเลือดชาวบล็อกเราค่ะ

ที่นี่นะคะ ...

• •★ ทานอาหาร...ตามกรุ๊ปเลือด...เพื่อสุขภาพที่ดี★... •★

สวัสดีค่ะ คุณปลายฟ้า

ขอบพระคุณมากนะคะ แวะเข้าไปอ่านแล้วนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท