แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

โยคะ- วิวาทะ ; วิวาทะเกี่ยวกับสูรยนมัสการ (๕)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"

 

(๑) สูรยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์)
ไม่ใช่อาสนะ

(๒) สูรยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์)
ไม่ใช่อาสนะ 
(๓) สุริยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่? 
(๔) ชุด ท่าไหว้พระอาทิตย์
ถือว่าเป็นอาสนะหรือไม่?

(๕) วิวาทะเกี่ยวกับสูรยนมัสการ
(๖) วิวาทะว่าด้วย "สูรยนมัสการ"

โยคะ- วิวาทะ ; วิวาทะเกี่ยวกับสูรยนมัสการ

ธีรเดช อุทัยวิทยรัตน์ (ครูเละ) ;
(ดูงานเขียนทั้งหมดของครูเละที่นี่ค่ะ)

โยคะสารัตถะ ฉ.; เม.ย.'๕๒

ขยายความ ; วาทะว่าด้วย "วิวาทะ"(เข้าอ่านที่นี่ค่ะ)


"โยคะ-วิวาทะ" ประจำเดือนนี้ คุณกริยา แย้มปลื้ม จากราชบุรีเขียนจดหมายด้วยลายมือบรรจงส่งไปรษณีย์ไปที่สถาบันฯ เพื่อร่วมวิวาทะเกี่ยวกับสูรยนมัสการ โดยมีจดหมายน้อยแนบมาว่า "...ยาส่งข้อความมาทางจดหมายร่วมคอลัมน์โยคะวิวาทะด้วย ส่วนแรกเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับโยคะที่ยารู้สึกว่ามันเกี่ยวเนื่องกับส่วนท้ายที่พูดถึงประเด็นที่ว่า "สูรยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่"...ด้วยความระลึกถึง" ขอเชิญอ่านกันได้ครับ

ในทุกการงานและการกระทำของเรา รวมทั้งแรงงานและพลังงานที่เกิดขึ้น หากมิได้เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของธรรมชาติและจักรวาล แต่เป็นไปเพื่อการทำลายสมดุลของธรรมชาติและทำลายตัวเอง ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม การงาน การกระทำ แรงงานและพลังงานนั้นถือว่าสูญเปล่า

ถ้าเรารู้สึกได้ว่าจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวที่ซื่อสัตย์ หากจิตรับใช้ความคดโกง บ่าวก็ย่อมต้องทำงานรับใช้ความคดโกงไปด้วย ถ้าจิตแยกตัวออกจากจักรวาล มันย่อมแยกตัวจากกายของมันเองด้วย มันก็จะใช้ร่างกายเพื่อตอบสนองตัวตน อุดมคติ โดยมันจะสร้างความขัดแย้ง ความไม่พึงพอใจในตัวเองตลอดเวลา หรืออาจกล่าวอีกอย่างว่าขาดการรู้ตัวและรู้จิต

ถ้าการเคลื่อนตัวในอาสนะ มันมีจิตที่แยกตัวออกมา มันมีเป้าประสงค์ มีเจตจำนง เพื่อที่จะรับใช้อะไรบางอย่าง โดยที่การรับใช้นั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อความสมดุลของธรรมชาติ แน่นอนว่าย่อมเกิดความขัดแย้งระหว่างความคิดหนึ่งกับอีกหลายความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว และขัดแย้งกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย การเคลื่อนไหว (ในอาสนะ) ย่อมไม่เป็นหนึ่งเดียว

หากอาสนะเป็นไปเพื่อประดับชีวิต มิได้เป็นไปเพื่อรวมเข้ากับจักรวาลแล้วไซร้ มันย่อมแปลกแยกกับตัวมันเองและทำลายตัวมันเอง เราไม่ได้แยกจากจักรวาลและโลก จิตก็มิได้แยกจากกาย ความคิดก็มิได้แยกจากจิต ความคิดหนึ่งก็มิได้แยกจากความคิดหนึ่ง อวัยวะแต่ละอวัยวะก็มิได้แยกจากกัน ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว เช่น แขนก็มิได้แยกจากขา เราเคลื่อนไหวที่แขนแต่ขาหยุดนิ่ง นั่นไม่ได้หมายความว่า แขนกับขาไม่ได้เชื่อมโยงกัน ดังนั้นความนิ่งจึงยังเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหว ทุกครั้งที่เราทำอาสนะ ถ้าเราเลิกเรียกชื่ออาการต่างๆ ให้ทุกอย่างได้เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งอย่างอิสระ ฉะนั้นเมื่อเราอยู่ในอาสนะ เราก็เลิกเรียกชื่ออาสนะ ขณะนั้นเราอยู่ในสภาวะที่ปราศจากตัวตน ชีวิตก็เหมือนลมที่พัดมาและไป ไร้ร่องรอยแห่งตัวตน

โยคะเป็นระบบแนวคิดและแนวกายด้วย ที่มีเป้าประสงค์ให้เกิดความสมดุลในตัว โดยเริ่มความสมดุลที่ตัวเราเองก่อน เนื่องจากเรามีตัวเราเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐาน เมื่อเราเข้าใจและเข้ากายตัวเอง หมดสภาวะการเรียกชื่อว่านี้กาย นี้ใจ ตัวมันไม่แปลกแยกออกจากสิ่งใดอีกต่อไป มันไม่สร้างตัวตนที่เป็นเอกเทศอีกแล้ว

สูรยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่ คำตอบอยู่ที่คำถาม เราควรสืบค้นจากคำถามนี้ คำถามนี้เกิดจากความคิดที่แยกตัวจากการกระทำ เพราะขณะที่คุณกระทำ คุณไม่สงสัย คุณมาสงสัยเรื่องนี้เพราะคุณคิดย้อนกลับไป ดังนั้นขณะที่คุณกำลังตั้งคำถาม เราจึงมีชีวิตอยู่ในความคิด


เมื่อกายใจรวมเป็นหนึ่งเดียว จะไม่เกิดความสงสัยในกันและกัน และไม่สงสัยตัวมันเอง สภาวะเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการเดินทางร่วมกันของกายและจิต ซึ่งไม่มีทั้งผู้นำและผู้ตาม

 

 


มูลนิธิหมอชาวบ้าน
2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 ....

หมายเลขบันทึก: 257225เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท