ความสมดุลย์ ระหวาง การพยาบาลข้างเตียง กับสารสนเทศทางการพยาบาล


การพยาบาลข้างเตียง

เราจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่าง การให้การพยาบาลข้างเตียงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทางการพยาบาล ได้อย่างไรคะ  เป้นคำถามที่ คุณ Pariio ได้จุดประกายไว้ ซึ่งน่าสนใจ  มากคะ

คงขออนุญาติแลกเปลี่ยน มุมมองในส่วนนี้ และอยากแลกเปลี่ยน มุมมอง ของ ท่านอื่นๆ ที่มีประสบการณ์

ด้วย 

ก่อนอื่นต้อง ขอคำจำกัดความของคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล ก่อนว่า หมายถึง อะไร

ขอบเขตเพียงใด 

หากมองในภาพของความสัมพันธ์ของ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล  กับการพยาบาลข้างเตียง

น่าจะหมายรวมถึง  การบันทึก หรือการสื่อสารใดๆที่สือให้เห็น ปฏิบัติการพยาบาล ต่อผู้ป่วยใน

ความรับผิดชอบ อย่างแท้จริง  อาจหมายรวมถึง การบันทึกในแบบฟอรฺม์ทางการพยาบาล ทุกรุปแบบ

ใน 1 Chart ของผู้ป่วย  ทั้งการบันทึกด้วยมือ และ บันทึก ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง


... มัน เป็นคำถามที่อยากตอบ ทั้งๆ ที่ ..ยังไม่มีคำตอบ ..

มันเป็นคำถาม ฯ  ที่ทีม การพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก เฝ้าพยายาม ทีจะหาคำตอบ

ที่ลงตัว  ..   เพียงแต่ว่า เรา กำลังพยายามที่จะหาคำตอบภายใต้การทดลอง  ในสถานการณ์จริง

พวกเราได้พยายามที่จะผนวก การให้การพยาบาลข้างเตียง กับการบันทึก ..ข้างเตียง 

เข้าด้วยกัน  ด้วยหวังว่า วันหนึ่ง พยาบาลที่นี้ จะเกิดความเป็นวัฒนธรรม ในการที่จะอยู่

กับผู้ป่วย ในเวลาที่ ต้องบันทึก การบันทึก ฯ ต่อหน้าผู้ป่วย จะเกิดสัมพันธภาพ ระหว่างผู้ป่วยขณะบันทึก 

การรับ - ส่งเวร  และประเมินอาการผุ้ป่วย การตรวจสัญญาณ ชีพ ขณะรับ-ส่งเวร

เพื่อประเมินอาการผุ้ป้วย และวางแผนในการดุแลผู้ป่วย ในแต่ละเวร  และ บันทึกทันที่  

ส่วนการบันทึกในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หากมีการพัฒนา ไปในอีกระดับหนึ่งที่เราสามารถ

มีคอมพวเตอร์ ใน แต่ละทีมการพยาบาล  ซึงเรามีการดุแลผุ้ป่วย เป็น  1/ 8 เตียง /1คอมพิวเตอร์   

ข้อมูลในการดูแลผู่ป่วย และปฏิบัติการพยาบาล โดยละเอียด จะถูกถ่ายทอด และเก็บไน

เอกสารที่เกี่ยวข้องในรุปแบบที่เหมาะกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล  และเราะจะเห็นพยาบาล

อยุ่ในบริเวณ ข้างเตียงผุ้ป่วย อย่างสง่างาม และภาคภูมิใจ พยาบาลหน้า เคาเตอร์ จะเป็นเพียงเรื่องเล่า

ที่ผ่านมา

  

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พยาบาล
หมายเลขบันทึก: 256171เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 00:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การอยากให้พยาบาลอยู่ข้างเตียง เพี่ยงแต่จัดโต๊ะทำงานและจัดที่วาง chart observe ไว้ และมอบหมายให้พยาบาลดูแลแบบ total care เธอก็จะอยู่ข้างกายผู้ป่วยได้แน่นอน จนเรียกมาเคาน์เตอร์ ยากค่ะ ตอนนี้ รพ ศรีนครินทร์ทำได้แล้วค่ะ

บันทึกเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น มีคุณภาพ (ลดการบันทึกลง)..

จะมีเวลาทำงาน Bed side (Bedside nursing care) มากขึ้นค่ะ..

จัดระบบค่ะ คนหนึ่งอยู่ Bedside อีกคนอยู่ เคาเตอร์ (ถ้ายังจำเป็น)..

แค่นี้ก่อนนะคะ..

การบันทึกทางการพยาบาลแบบ electronic file น่าจะช่วยลดปัญหาการที่พยาบาลต้องเสียเวลาจำนวนมากไปกับการบันทึกค่ะ เนื่องจากจะมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานของการบันทึกในแต่ละโรค แต่ละอาการไว้แล้ว หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่ามาตรฐานก็สามารถเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเขียน และมีเวลาในการให้การดูแลผู้ป่วยข้างเตียงมากขึ้น แถมยังช่วยให้ผ่านการตรวจสอบเวชระเบียนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องพึงระวังเพราะหากนำไปใช้โดยไม่คิดถึงปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย รูปแบบมาตรฐานจะทำให้เราคล้อยตาม แล้วลืมที่จะคำนึงถึงปัญหาซ่อนเร้นที่สำคัญไปค่ะ

ตอนนี้ที่ ร.พ มี โปรแกรม HOSxp ใช้ทั้งระบบที่ full จริง ๆๆ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ทำให้เสียเวลาในการบันทึกทั้งสองระบบ จากการลงระบบ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ถ้าใน com สมบูรณ์ ใน เวชระเบียน จะไม่สมบูรณ์ แต่ยังมีปัญหาข้อข้องใจว่า ในการอ้างอิงทางกฏหมายนั้น สามารถใช้ Electronic file ได้หรือไม่ ถ้าใครมีประสบการณ์ เล่าสู่กันฟังบ้างเน้อค่ะ

สวัสดีคะ คุณภัชรินทร์

ความจริง ที่โรงพยาบาล ก็สนใจ ที่จะพัฒนา รูปแบบการบันทึกที่พึ่งพาระบบสารสนเทศ ให้มากกว่านี้

แต่การจัดการระบบ เพื่อ การอ้างอิงทางกฎหมาย เมื่อมีปํญหา เกิดขึ้น เป็น อีกเงื่อนไข ที่เราต้องมีการจ้ดการที่รัดกุม

ซึ่งหากต้องมี การบันทึก ทั้ง สองระบบ ไม่น่าจะเป็นคำตอบ สำหรับระดับปฏิบัติการ เพราะนั้น คือโอกาส

ของความผิดพลาด และเป็นการทำงานที่สูญปล่าว หากต้อง ทำเรื่องเดียวกัน 2 ครั้ง

จงใช้เทคโนโลยีแต่อย่าให้เทคโนโลยีมาใช้เรา เมื่อใดก็ตามที่ใช้เทคโนโลยีแล้วเกิดปัญหามากกว่าประโยชน์ที่เราได้

เห็นโอกาส พัฒนามากขึ้นคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท