โพชฌงค์แบบทางโลก โพชฌงค์แบบทางธรรม


โพชฌงค์

 

โพชฌงค์แบบทางโลก โพชฌงค์แบบทางธรรม

นลเฉลย

โพชฌงค์เป็นบทธรรมคำสอนที่สำคัญบทหนึ่งในพุทธศาสนา เป็นข้อธรรมที่จัดอยูในหลักธรรมเพื่อการบรรลุนิพพาน ที่เรียกว่าโพธิปักขิธรรม ๓๗ ประการ[*]  เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็น ธรรมโอสถ เมื่อใดที่พระองค์ทรงประชวรจะตรัสขอให้พระอานนท์สวดธรรมบทนี้ถวาย หรือเมื่อทรงพบว่าพระเถระรูปใดอาพาธก็จะทรงเทศนาธรรมข้อโพชฌงค์นี้ให้พระเถระเหล่านั้นฟัง อย่างไรก็ดีการที่หลักธรรมข้อโพชฌงค์นี้ถูกจัดไว้เป็นหนึ่งในหลักธรรมเพื่อการบรรลุนิพพาน มีผลทำให้หลายๆคน เข้าใจผิดว่า ธรรมข้อโพชฌงค์นี้เป็นหลักธรรมขั้นสูง ผู้ที่จะปฏิบัติต้องเป็นผู้ที่ใกล้จะบรรลุถึงพระนิพพานแล้วเท่านั้น จริงๆแล้วธรรมข้อโพชฌงค์นี้เป็นข้อธรรมที่มีลักษณะพิเศษเหมือนหลักธรรมหลายๆข้อที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ คือสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับเรื่องในทางโลก และเรื่องในทางธรรม เปรียบได้กับบันไดวนที่นำเราสูงขึ้นไปทีละชั้น โพชฌงค์เป็นหลักการที่เปรียบได้กับกระไดเจ็ดขั้น ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตาม จะช่วยยกระดับจิตใจของเราให้ค่อยๆสูงขึ้นไปๆ ทีละขั้น กระไดวนเจ็ดขั้นนี้ สามารถช่วยให้เราวนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากจุดที่ต่ำที่สุด จนถึงจุดที่สูงที่สุด “นิพพาน” ได้  บทความนี้พยายามจะชี้ให้เห็นการประยุกต์ใช้หลักธรรมข้อนี้กับชีวิตประจำวัน เพื่อยกจิตใจขึ้นจาก ความทุกข์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่เราทุกคนล้วนต้องเจอ ครับ เราสามารถประยุกต์ใช้หลักโพชฌงค์กับเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันได้ดังนี้ครับ

โพชฌงค์ ประกอบด้วย หลักธรรมทั้งหมด ๗ ประการ คือ

1.      สติสัมโพชฌงค์ “สติ”

2.      ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ “การเลือกเฟ้นธรรม”

3.      วิริยสัมโพชฌงค์ “ความเพียร”

4.      ปิติสัมโพชฌงค์ “ความปิติ สุข”

5.      ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ “ความสงบ สันติสุข”

6.      สมาธิสัมโพชฌงค์ “สมาธิ”

7.      อุเบกขาสัมโพชฌงค์ “การปล่อยวาง ความวางเฉย”

สติสัมโพชฌงค์

สติ [†]

[สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ.

ใจลอย*

ว.เผลอสติ, เคลิบเคลิ้ม.

   

สติ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ความรู้สึกตัว ความระลึกได้ ในขณะที่ให้ความหมายของคำว่าใจลอยว่า เผลอสติ คำว่าสติ ในทางธรรมนั้นอาจ หมายถึงการมีสติรับรู้เท่าทันความรู้สึก รู้ทันการปรุงแต่งของจิตใจ แต่สำหรับทางโลก การมีสติ อาจหมายเพียงแค่ ใจไม่ลอย รับรู้ความรู้สึกได้ มีสติรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นบ้าง ณ เวลาปัจจุบัน ในขณะนั้น

ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์

วิจัย ๑*

น. การสะสม, การรวบรวม.

 

 

วิจัย ๒*

น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่องปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่.

 

 

ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย.

 

ธรรม, ธรรมะ

[ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม;คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า;หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม;ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่นความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมายเช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม.


ธรรม หรือ ธรรมะ นอกจากจะหมายถึง หลักธรรม แล้ว ยังหมายความถึง “คุณความดี” ได้ด้วย ส่วนคำว่า วิจัย นั้น นอกจากแปลว่า ค้นคว้า แล้ว ยังมีอีกความหมายหนึ่งคือ รวบรวม สะสม ดังนั้น คำว่า ธรรมวิจัย หรือ ธัมมวิจยะ นอกจากจะแปลได้ว่า การเลือกเฟ้นข้อหลักธรรมมาพิจารณาแล้ว ยังสามารถแปลอีกอย่างได้ว่า การค้นหา สะสม คุณความดี “เรื่องดีๆ” หรือ แปลง่ายๆได้ว่า การมองหาเรื่องดีๆ เลือกเอาเรื่องดีๆมาพิจารณา การจะทำแบบนี้ได้นั้นที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีเรื่องดีๆให้นึกถึง แปลว่าเราต้องทำความดีบ่อยๆและหมั่นนึกถึงความดีที่ทำนั้น เพราะในยามคับขันที่คุณมีทุกข์ ความดีที่ทำไว้นั้นจะกลับมาช่วยคุณได้จริงๆ   

วิริยสัมโพชฌงค์

วิริยะ

น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็นวิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้.

วิริยะ หรือ ที่เราเข้าใจกันง่ายๆ ว่าความเพียร ความขยัน ไม่ย่อท้อ ความเพียรนี้เป็น องค์ประกอบสำคัญในการที่จะทำกิจการใดๆก็ตามให้สำเร็จผล ในการเอาชนะความทุกข์ก็เช่นกัน เมื่อเลือกข้อธรรม หรือ รวบรวมเรื่องดีๆได้แล้ว ก็ต้องเพียรพยายามทำบ่อยๆ นำข้อธรรมนั้น หรือ เรื่องดีๆที่รวบรวมได้มาพิจารณาบ่อยๆ

ปิติสัมโพชฌงค์

ปิติ หรือ “ความสุข” อาจแบ่งได้เป็นสองระดับใหญ่ๆ คือ ความปิติ จากการพิจารณาธรรม เข้าใจธรรม ปิติจากการปฏิบัติ ปิติ อันเกิดจากฌานขั้นสูง กับ ปิติ ที่เกิดจากการระลึกถึงเรื่องดีๆที่แม้จะเจือด้วยกิเลสที่ทำให้เราติดสุข แต่ก็ช่วยให้จิตใจเป็นสุขได้

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ปัสสัทธิ ความสงบระงับ ความสงบที่ไม่วุ่นวาย สงบที่เป็นสุข หรืออาจเรียกได้ว่า สันติสุข เมื่อจิตใจเป็นสุข ความวุ่นวาย กระวนกระวายใจ กังวล กระสับกระส่ายก็ลดลง ใจที่เคยคิดวิตกกังวล คิดถึงเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจก็เริ่มพบกับความสงบ สงบที่เป็นสุข ความสุขที่สงบนี้ต่างจาก “ความสนุก” ถ้าท่านผู้อ่านลองหลับตานึกว่าตัวเองกำลังนอนสบายๆอยู่ใต้ร่มไม้ริมทะเล ได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง รู้สึกถึงลมอุ่นเบาๆที่กระทบใบหน้า ท่านคงจะเข้าใจว่า สงบสุขแบบปัสสัทธิ นี้หมายความว่าอย่างไร  

สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิ

[สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง

สมาธิ คงเป็นคำที่ไม่ต้องอธิบายมากมากนัก เมื่อจิตสงบมีสมาธิทำให้ใจมีพลังในการพิจารณาเรื่องต่างๆได้ดีขึ้นเกิดปัญญาเห็นทางแก้ปัญหาได้ง่าย

อุเบกขาสัมโพชฌงค์

อุเบกขา

น. ความเที่ยงธรรม, ความวางตัวเป็นกลาง, ความวางใจเฉยอยู่, เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา.

อุเบกขาเป็นคำที่หลายท่านเคยได้ยินหลายท่าน เข้าใจผิดว่าหมายถึง การปล่อยวาง ไม่สนใจ หรือ “ยอมปล่อยไปตามบุญตามกรรม” จริงๆแล้วอุเบกขา หมายถึงการปล่อยวางอารมณ์ ไม่ไปทุกข์ ไม่ไปสุขกับเรื่องที่เกิด ซึ่งไม่ได้ทำกันง่ายๆ แต่อุเบกขา ยังมีอีกความหมาย คือ การพิจารณาด้วยใจเป็นธรรม วิเคราะห์ด้วยใจเป็นกลาง ใจที่เห็นทั้งด้านดี และด้านร้าย หลายๆครั้งเราเอาทุกข์มาสร้างทุกข์ ตัวเองไม่สบาย ก็กังวลเป็นห่วงลูก กลัวลูกจะเดือดร้

คำสำคัญ (Tags): #โพชฌงค์
หมายเลขบันทึก: 255629เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมีความเข้าใจ ในข้อ ๒ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ คือ การพิจารณาสภาพธรรมที่เกิดขึ้น มากกว่า การเลือกเฟ้นหลักธรรมะ สามารถเรียงลำดับ โพชฌงค์ ดังนี้

- ขั้นแรก ในปกติชีวิตประจำวัน จะมีธรรมะ เกิดขึ้นและดับไปตลอด(จิต-เจตสิก) เราต้องใช้สติระลึกรู้การเกิดนั้น ไม่จะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์

- จากนั้นก็พิจารณาว่านั้นคือสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามทวารต่างๆ ตั้งอยู่ ดับไป

- ต้องใช้ความเพียร ทำบ่อยๆ จะเกิดความสุข ความเข้าใจมากขึ้น

- เมื่อสติแกร่งกล้ามากขึ้น สติอยู่ที่กาย, ใจ(เวทนา,สังขาร(เจตสิก)) มากขึ้น ก็เกิดความสุข-สงบ เบื่อหน่าย ธรรมะที่เกิดขึ้น

- เมื่อเข้าใจมากขึ้น ก็พอใจอยู่กับสมาธิ อารมณ์เดียวดีกว่า

- อาจเห็นสภาพธรรมะ ขณะจิตปัจจุบัน เห็นรูปนาม ก่อนปรุงแต่ง ท้ายสุดก็ไม่ยึดมั่น วางอุเบกขาได้

ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือเปล่าครับ

เห็นด้วยครับ

เพียงแต่ว่า บทความที่ผมเขียนมุ่งให้ผู้อ่าน กลุ่มที่ยังมิได้มุ่งหวังการหลุดพ้น

หลายครั้ง เรามักนึกถึงพระธรรมคำสั้งสอนของพระพุทธเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ สูง เกินไป เมื่อยังไม่อยากหลุดพ้น เลยคิดว่า ไม่มีประโยชน์กับตน บทความนี้มุ่ง ที่จะชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอน คือ "แนวทาง" ผมเทียบแนวทางนี้ กับ บันได บันไดนี้ ผู้ใช้ จะใช้ ขึ้น จากชั้น 1 ไปชั้น 2 หรือ ชั้น 99 ไปชั้น 100 ก็ได้ เป็นบันไดอันเดียวกันนั่นเอง

ผมได้ฟังที่คุณหมอบรรยาย ช่องข่าว TNN เช้าวันเสาร์ที่๒๔เม.ย.๕๓ อยากได้เทปบันทึกรายการไป ฉายให้กำลังพล ทหาร ครอบครัว ดูครับ คุณหมอบรรยายได้ดีมากครับ เข้าใจง่ายครับ

ผมรับผิดชอบเรื่องยาเสพติดในหน่วยทหารด้วย ไม่ทราบว่า สื่อการสอน แนะนำไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท