ข้าวสวย ตอน 9


“ที่ทำเพื่อรู้ว่าเราได้ข้าวเท่าไร เรารู้ว่ากองข้าวสูงเท่าไร จุดมีกี่จุดพ่อรู้ว่าเราได้ข้าวกี่เกวียน และจะได้รู้ว่าข้าวที่เรากองไว้หายไปหรือเปล่า”

ผมได้รูปนี้มาครับ เป็นวัวนะครับ ขอบคุณนายสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี และนางเปรมจิตต์ สระวาสี จาก

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22

            เมื่อเอาฟางออกจนหมด พ่อ แม่และพี่ก็กลับบ้านที่อยู่ไม่ไกลมากนัก และก็จะมาดูอีกที่ในตอนเช้า พร้อมทั้งใช้ขอฉายลากลงใปในกองเมล็ดข้าวต้องไม่ให้ถึงพื้นลาน แล้วก็ลากเป็นทางยาวๆเพื่อเอาฟางที่ฝังอยู่ในกองเมล็ดข้าวออก เสร็จแล้วก็เอาฟ้อนข้าวมาตั้งทับกองเมล็ดข้าวเดิมเพื่อจะได้นวดต่อไป ทำแบบนี้จนข้าวฟ้อนที่กองเป็นรูปสามเหลี่ยมหมด

โดยครั้งสุดท้ายจะเป็นการนวดข้าวที่ใหญ่มากๆผมเห็นอา น้าๆ รวมทั้งเพื่อนบ้านมาช่วยกันคนไม่น่าจะต่ำกว่า 50 คน ควายที่เอามานวดข้าวที่ทุกคนที่มาเอามาช่วยกันมากกว่า 40 กว่าตัวน่าจะได้ เป็นวันที่ผม และพี่ พร้อมเพื่อนที่บ้านอยู่ใกล้เคียงกันสนุกมากที่ได้เล่นซ่อนแอบในกองฟาง แม่และพี่สาวผมจะทำอาหารหลายอย่าง และมีขนน อีกอย่างหนึ่ง บางที่ก็ไข่หวาน  หรือแกงบวดฝักทอง ข้าวเหนียวถั่วดำ หรือไม่ก็ต้มถั่วเขียว เพื่อนำมาเลี้ยงคนที่มาช่วยบ้านนวดข้าว ทั้งตอนเย็น และตอนดึกๆที่จัดการนวดข้าวเสร็จแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนกลางวันคนจะช่วยกันเอาฟ้อนข้างจากกองมาวางเรียงเป็นวงกลมใหญ่มากกว่าทุกครั้งที่ที่บ้านเรานวดกันเอง ควายก็จะถูกผูกเป็นพวง 2 บ้าง 3 บ้าง และ 4 บ้าง และก็ขึ้นไปวนเหมือนอย่างที่บ้านทำมา ทำให้เกิดความสนุกสนาน บางที่ก็มีเสียงร้องเพลงของคนที่มาช่วย บางที่ก็มีเสียงโฮ่ โดยเฉพาะตอนลากเมล็ดข้าวที่กองราบอยู่ที่พื้น ให้เป็นกองยอดแหลมๆเหมือนเจดีย์ ฟางถูกแยกออกไปอยู่นอกลาน ในลานมีแต่เมล็ดข้าว ขั้นตอนสุดท้ายต้องเอาข้าวที่กองราบที่ลานทำเป็นกองคล้ายเจดีย์โดยให้ไม้กระดานที่บ้านพ่อผมจะมีไม้นี้เป็นการเฉพาะหนาสัก 1.5-2 นิ้ว สูงประมาณ 18-20 นิ้ว ยาวประมาณ 6-7 เมตร ไม้ต้องเบาผมไม่รู้ว่าพ่อใช้ไม้อะไรผมพยายามจะหาไม่รู้ว่าที่บ้านผมไม่ได้ให้มานานมาไม่รู้ว่าเก็นไว้ตรงไหน ปลายไม้ทั้ง 2 ข้างมีเชือกเส้นใหญ่ ยาวข้างละประมาณ 15-20 เมตร เพื่อให้คนที่มาช่วยกันลากเมล็ดข้าวที่พื้นลานมากองเป็นเจดีย์ตรงกลางลานใช้เวลาประมาณเกือบชั่วโมงข้าวที่บ้านแต่ละลานประมาณ 17-20 เกวียน (ตัน) หลังกองเมล็ดข้าวเสร็จแล้ว อา น้าๆ และเพือนบ้านทยอยกลับบ้านที่ทุกคนมาช่วยกันอย่างนี้ทางบ้านผมเรียกว่า "ลงแขกนวดข้าว" โดยการไปถือแรงซึ่งกันและกัน  

พ่อก็จะเอาเถ้าที่เกิดจากฟางที่เผาและมอดหมดแล้วมาหยอดที่กองข้าวสูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุตห่างกันประมาณ 1.5 ฟุต ผมเคยถามพ่อไม่ทำได้หรือเปล่าผมเห็นมันเป็นดำๆทำให้กองข้าวไม่สวย ที่ทำเพื่อรู้ว่าเราได้ข้าวเท่าไร เรารู้ว่ากองข้าวสูงเท่าไร จุดมีกี่จุดพ่อรู้ว่าเราได้ข้าวกี่เกวียน และจะได้รู้ว่าข้าวที่เรากองไว้หายไปหรือเปล่า เป็นคำตอบของพ่อ ผมเสียดายที่ไม่ได้รับการถ่ายทอดเรื่องนี้จากพ่อ เป็นองค์ความรู้ที่ขาดหายไป พี่ผมก็ไม่มีใครจำได้เสียดายจริงๆ ตอนที่ผมจะเข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯทางบ้านเริ่มใช้รถไถใหญ่ทำให้ควายทางบ้านผมเลยสบายขึ้น และเวลาในการนวดข้าวลดลงหาดใช้รถไถ 2-3 คัน

ขั้นตอนต่อไปพ่อ แม่ และพี่ๆของผมต้องแยกเอาเมล็ดข้าวดี ออกจากแกลบ ละอองข้าว และเศษฟางเล็กๆ

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 255530เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ใกล้จะได้ทานข้าว แล้วค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ อาจารยื

แวะมาเยี่ยม และเรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท