การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมน (1)


การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมน

สรุปรายงานการวิจัย

 

 

 

 

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพ

การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมน

 

 

 

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้                                      ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมน

 

ผู้วิจัย                สถิตย์    ทองวิจิตร

ปีที่ทำวิจัย         2550

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมนโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนชุมชนวัดหมน 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนชุมชนวัดหมน   และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน  และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา     วิธีการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้       1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ               ของโรงเรียนโดยการจัดประชาพิจารณ์ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ  ตัวแทนครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และตัวแทนนักเรียน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ 50 คน   2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนชุมชนวัดหมน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 นครศรีธรรมราช 3)ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนชุมชนวัดหมน รวมจำนวนทั้งสิ้น 561 คน

 

ผลการวิจัยพบว่า

1.รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมน พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่     1) การพัฒนาศักยภาพครู    2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้   3) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ 4) การส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา

2.ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมนพบว่า การพัฒนาศักยภาพครู ทำให้ครูมีการปรับเปลี่ยนวิธี การสอน สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลาย โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนาและใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน นำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ การส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา และผลจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นนี้ ทำให้นักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดของตนเอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนดและมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นกว่าเดิม

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการ    และผลการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมนอยู่ในระดับมาก

 

 Title ACADEMIC ADMINISTRATION APPROACH DEVELOPMENT FOR INCREASING LEARNING POTENTIAL OF CHOOMCHONWATMON SCHOOL STUDENTS

Author Satith Thongwichit

Year 2008

ABSTRACT

This research aims to develop academic administration approach for increasing learning potential of students. Choomchonwatmon School’s main objectives are 1) to construct the academic administration approach of Choomchonwatmon School, 2) to test the academic administration approach of Choomchonwatmon School and 3) to assess satisfaction level of school committee, instructors, students and parents for the academic administration approach of Choomchonwatmon School.

Research processes consist of 3 steps: 1) constructing the academic potential development approach of Choomchonwatmon School students by studying and analyzing related documents and research, interviewing experts, and checking the accuracy and suitability of the academic administration approach of Choomchonwatmon School by setting public opinion from 50 participants : experts, representative instructors, school committee, representatives from parents network and representative students, 2) testing the academic administration approach at Choomchonwatmon School, Nakhon Si Thammarat Education Area 1, and 3) evaluating satisfaction level of 561 participants: the school committee, the instructors, the students and the parents to the academic administration approach of Choomchonwatmon School.

The research discovers:

1. The academic administration approach for increasing learning potential of Choomchonwatmon School students is highly accurate and suitable. The approach composes of 4 strategies: 1) instructors potential development 2) learning process development 3) media and learning source development and 4) promoting cooperation in educational management with community.

2. The result of testing academic administration approach for increasing learning potential of Choomchonwatmon School students found that instructors potential development causes instructors to adapt their teaching styles, have ability to design various kinds of child-center-activities, improve instructional media, and effectively apply classroom research to classroom management and problem solutions. Learning process development, media and learning sources development, community cooperation promotion in educational management and the developed result of the school academic administration approach improve the students learning potential according to their own interest and ability. The students have thinking opportunity and hand – on activities to make them pass school’s studying standard and improve their analytical skill.

3. Satisfaction level assessment of school committee, the instructors, the students and the parents to academic potential development approach for increasing the students learning potential of Choomchonwatmon School is high and the result of Choomchonwatmon students learning potential is progressive.

สรุปรายงานการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคหลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพ

การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมนและมีวัตถุประสงคเฉพาะดังนี้                                                                                      

                (1)    เพื่อสรางรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมน

                (2) เพื่อทดลองใชรูปแบบ การบริหารงานวิชาการการ เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมน

              (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานครูผูสอน นักเรียน และผูปกครองนักเรียน   ที่มีตอรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนชุมชนวัดหมน

การดําเนินการวิจัยแบงออกเปน3ขั้นตอนคือ        

               1)  การสรางรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน

 2)การทดลองใชรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน

               3) การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผูสอน นักเรียน

และผูปกครองนักเรียนที่มีตอรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โดยแตละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน

โรงเรียนชุมชนวัดหมน ผูวิจัยดําเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดกิจกรรมที่สงเสริมประสิทธิภาพ

                        ทางการเรียนกระบวนการจัดการเรียนรูพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพ.ศ.2542ที่แกไขเพิ่มเติม

 (ฉบับที่ 2)   พ.ศ. 2545    วิสัยทัศน    พันธกิจ   ของโรงเรียนชุมชนวัดหมน ดําเนินการสัมภาษณ์         ผูเชี่ยวชาญจํานวน 5 คน เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนทางวิชาการโรงเรียนชุมชนวัดหมน นําขอมูลที่ไดกําหนดขอบเขตของเนื้อหาการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนมายกรางเปนรางรูปแบบการการบริหารงานวิชาการโรงเรียนชุมชนวัดหมน โดยจัดทําคูมือการใชรูปแบบการบริหารงานวิชาการประกอบรางรูปแบบ และนําเสนอรางรูปแบบที่จัดทําตอผูทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผูปกครองเครือขาย ตัวแทนนักเรียน เพื่อตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใชการจัดประชาพิจารณ (Public Hearing) เพื่อใหผูเขารวม

ประชาพิจารณแสดงความคิดเห็น และใหขอเสนอแนะตอรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนพัฒนาศักยภาพทางวิชาการในขอประเด็นตางๆ          อยางละเอียด จากนั้นปรับปรุงแกไขรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนและคูมือ

การใชตามขอเสนอแนะ

ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใชรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน

ผูวิจัยดําเนินการทดลองใชรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้

2.1แตงตั้งคณะกรรมการทดลองใชรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนวิชาการ พรอมกําหนดบทบาทหนาที่ของคณะกรรมการ จํานวน 16 คนทดลองใชรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน

2.2 จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อใหสามารถนําคูมือไปปฏิบัติตามแผนการทดลอง

2.3ดําเนินการทดลองตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของ      นักเรียนโรงเรียนชุมชยวัดหมนในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550

2.4 สรุปผลการทดลองใชรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน และจัดประชุมสนทนากลุม เพื่อใหผูเขารวมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขอคนพบที่

ไดจากการทดลองใชรูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนและ

ใหขอเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนํารูปแบบไปใช

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครูผูสอน นักเรียน และ

ผูปกครองนักเรียนที่มีตอรูปแบบการการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนชุมชนวัดหมน

 ผู้วิจัยดําเนินการประเมินความพึงพอใจของผูเกี่ยวของตอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ไดแกคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผูสอน นักเรียน และผูปกครองนักเรียน

สรุปผลการวิจัย

  1.รูปแบบการการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมน   

 พบวา มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบดวย 4 กลยุทธไดแก

 1.1 กลยุทธ 1 : การพัฒนาศักยภาพครู เปนการพัฒนาความรูความสามารถในการจัด

ทําแผนการจัดการเรียนรู การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ การสงเสริมและ

พัฒนาผูเรียน ดวยกระบวนการวิจัยและความสามารถในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและใชเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบดวย

                                         1.1.1 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนการจัดการเรียนรู

1.1.2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอน

1.1.3 โครงการอบรมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

              1.1.4 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

1.1.5 โครงการอบรมการจัดการความรู (Knowledge Management)       

1

              1.2 กลยุทธ 2 : การพัฒนากระบวนการเรียนรู เปนการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียน

การสอนที่หลากหลาย เนนนักเรียนเปนสําคัญ สงเสริมใหนักเรียนเกิดการเรียนรูไดเต็มตาม

ศักยภาพ ประกอบดวย

1.2.1โครงการพัฒนาการเรียนการสอนดวยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน

1.2.2โครงการสอนซ่อมเสริม

1.2.3โครงการสอนเสริมพิเศษ

1.2.4โครงการพัฒนาการเรียนรูดวยกระบวนการจัดคาย

1.2.5โครงการยอดนักอาน

1.2.6โครงการพัฒนาผลการเรียนดวยกระบวนการจัดการความรู

1.2.7โครงการศึกษาแหลงเรียนรูภายนอก

1.2.8โครงการวันวิชาการ

             1.3กลยุทธ 3 :การพัฒนาสื่อและแหลงเรียนรู เปนการสงเสริมและสนับสนุนใหครูมี

การผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายและเหมาะสม เพื่อนํามาใชใน

การเรียนการสอน และพัฒนาแหลงเรียนรูใหนักเรียนไดเรียนรูอยางรอบรู ประกอบดวย

1.3.1 โครงการพัฒนาหองปฏิบัติการ

1.3.2 โครงการหองสมุดมีชีวิต

1.3.3 โครงการพัฒนาระบบอินเทอรเน็ตในโรงเรียน

1.3.4 โครงการพัฒนาหองผลิตสื่อการเรียนการสอน

            1.4กลยุทธ 4 :การสงเสริมความรวมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา เปนการเปดโอกาสใหชุมชนไดเขามามีสวนรวมกับโรงเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน การสนับสนุนสื่อ

การเรียนรู แหลงเรียนรู วิทยากรทองถิ่นเพื่อใหความรูแกนักเรียน ประกอบดวย

1.4.1 โครงการสานสัมพันธบาน - วัด - โรงเรียน

1.4.2 โครงการระบบดูแลชวยเหลือนักเรียน

1.4.3 โครงการเปิดรั้วโรงเรียน

หมายเลขบันทึก: 254673เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2009 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท