ส่งสรุปวิจัยครั้งที่ 3


องค์ประกอบของปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก

ชื่อเรื่อง               องค์ประกอบของปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก

ผู้วิจัย  :                  นางสาวกาญจนา   ทองยืน

ปีที่วิจัย  :              พ.ศ. 2546

วัตถุประสงค์ :      เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียน

มัธยมศึกษาในภาคตะวันออกใน 3 ขั้นตอนคือ

                                1.     ปัญหาก่อนการทำวิจัยในชั้นเรียน

                                2.       ปัญหาระหว่างการทำวิจัย

                                3.    ปัญหาหลังการทำวิจัยในชั้นเรียน

 วิธีวิจัย

                -วิธีการ                  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

1.  หาค่าเฉลี่ย

                                                                2.   ส่วนเบี่ยงเบมาตรฐาน

                                                               

                                               

-กลุ่มตัวอย่าง        ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา   ในภาคตะวันออก   จำนวน   8   จังหวัด  ในปีการศึกษา   2545  ที่มีผลงานวิจัยในชั้นเรียน   โดยกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเครจซี่   และมอร์แกน   ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  322  คน

                              

                -เครื่องมือ            1.   แบบสำรวจปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนเบื้องต้นใน     3    ขั้นตอน

                                                2.   แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนใน   3   ขั้นตอน

                -วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล       ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

ขอความอนุเคราะห์ไปยังผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา   สังกัดกรมสามัญศึกษา    ในภาคตะวันออก     8  จังหวัด  เพื่อแจกแบบสอบถามไปยังครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง   โดยผู้วิจัยดำเนินการแจกและเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง

                                                               

                ผลการวิจัย :          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  สามารถสรุปผลได้ดังนี้  

1.    ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนประกอบด้วย  4  องค์ประกอบ  ได้แก่   ความรู้และความวิตกกังวล   การกำหนดประเด็นหัวข้อ   เวลาที่ทำและภาระหน้าที่   และปัจจัยที่สนับสนุนและส่งเสริม

2.   ปัญหาขณะทำวิจัยในชั้นเรียนประกอบด้วย   6  องค์ประกอบได้แก่  ความรู้และเทคนิควิธีการ   เวลาและภาระหน้าที่   แหล่งค้นคว้า  ระบบให้การสนับสนุน   การสร้างและการใช้นวัตกรรม   และกลุ่มตัวอย่าง

3.   ปัญหาหลังการทำวิจัยในชั้นเรียนประกอบด้วย    5   องค์ประกอบได้แก่   การนำไปใช้  การเผยแพร่และการพัฒนาคุณภาพงาน    การจัดทำรายงาน   ผลกระทบต่องานประจำ  และการเสริมแรงแก่ผู้ทำวิจัย

4.   ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนทั้ง    3   ขั้นตอน   มีปัญหาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง  

 

หมายเลขบันทึก: 253618เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตรวจดูแล้ววัตถุประสงค์ข้อ ๒ น่าจะคลาดเคลื่อนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท