วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง และกระดูกโปร่งบาง


สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ

ในปัจจุบันนี้คนไทยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ  เช่น  มะเร็ง  ความดันโลหิตสูง  และเมื่อสูงวัยขึ้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกโปร่งบาง ซึ่งส่วนให้เกิดในสตรีวัยหมดประจำเดือน  และอื่นๆ  โรคต่างๆ เหล่านี้มีอาจสาเหตุมาจาก  พันธุกรรม  พฤติกรรมส่วนบุคคล  เช่น  การบริโภค  เป็นต้น  และจากสาเหตุอื่นๆ  ดิฉันได้อ่านบทความจากเว็บ  bangkokhealth  คิดว่าดีมากจึงนำมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน  เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง  ความดันโลหิตสูง  และกระดูกโปร่งบาง   ดังนี้

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

1.      รับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน

2.      หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง ข้าวสาร หัวหอม พริกแห้ง มะละกอสุก(ผิวเน่า) ถ้าพบว่ามีราสีดำให้ทิ้งได้ทันที

3.      รับประทานผักผลไม้ที่สด สะอาดและปลอดสารพิษ จะช่วยให้ร่างกายได้รับใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ

4.      งดหรือลดอาหารปิ้ง ย่าง ทอด ด้วยไฟแรงจนมีควัน และอาหารไหม้เกรียม เช่น หมูไม้ ไก่ย่าง

5.      งดหรือลดอาหารเนื้อสัตว์ที่ใส่ดินประสิว เช่น แหนม เนื้อหรือปลาแดดเดียว แฮม เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง

6.      หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์หมัก เช่น กะปิ ปลาร้า หอยดอง หากจะรับประทานต้องใช้ความร้อนทำให้สุกก่อน

7.      หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและมันจัด

8.      อย่ารับประทานอาหารร้อนจัด

9.      ควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขปฏิบัติ
- ระวังอย่าให้ท้องผูก
- งดสูบบุหรี่
- ทำจิตใจให้สบาย คลายความเครียด

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง
หลักสำคัญ คือ ลดการบริโภคอาหารรสเค็ม ซึ่งจะช่วยป้องกันมะเร็งในกระเพาะอาหารด้วย

1.      งดอาหารดองเค็ม เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผักผลไม้ดองเค็มทุกชนิด

2.      ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือมาก เช่น กะปิ เต้าเจี้ยว ไตปลา ปลาร้า เต้าหู้ยี้

3.      งดสิ่งปรุงแต่งจำพวกซุปก้อน ซุปผง รวมทั้งผงชูรสต่างๆ หรือผงปรุงรสที่ใส่มาในซองบะหมี่สำเร็จรูป

4.      เมื่อปรุงรสอาหารด้วยเกลือ น้ำปลา ซอสที่มีรสเค็ม ควรใช้ในปริมาณน้อยๆ

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบาง
โรคกระดูกโปร่งบาง มักเกิดในหญิงวัยหมดประจำเดือน กระดูกสันหลังโค้งงอ และหักง่ายเมื่อล้มหรือถูกกระแทกอย่างแรง มีวิธีป้องกันดังนี้

1.      ควรเริ่มดื่มนมและออกกำลังกายตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ตลอดไปจนถึงวัยสูงอายุ

2.      รับประทานอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

3.      ออกกำลังกายกลางแจ้งด้วยวิธีที่กระดูกรับน้ำหนัก เช่น การเดินเป็นประจำสม่ำเสมอ


ข้อมูลจาก หนังสือคู่มือ กินเพื่อสุขภาพ
ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
และสมาคมพยาบาลทหารบก
http://www.bangkokhealth.com/nutrition_htdoc/nutrition_health_detail.asp?Number=9262

 

หมายเลขบันทึก: 253036เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ  แวะมาทักทายค่ะ  ได้รับสาระดีๆขอบคุณจริงๆค่ะ จะต้องไปลดอาหารบางประเภทแล้วละค่ะ  กลัวตอนแก่เป็นกระดูกพรุนค่ะ อิอิอิ

                       

ทำได้ง่ายดี

ไม่เสี่ยงด้วย (^^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท