แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ชีวิตและความตาย ; "กล้าพอไหม ที่จะเรียนวิชาชีวิตและความตาย" (๒)


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"

  

บทที่ ๑ 
ได้ตายก่อนตาย ก่อนเรียนชีวิตและความตาย

บทที่ ๒ 
"กล้าพอไหม ที่จะเรียนวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๓ 
"เรียนอะไร ในชีวิตและความตาย"

บทที่ ๔.๑ 
"เทอม ๒ ในวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๔.๒ 
"ออกไปสัมผัสผู้คนด้วยวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๕
"ห้องเรียนแห่งความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต"

บที่ ๖
""เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตจากความตาย"

บทที่ ๒
"กล้าพอไหม ที่จะเรียนวิชาชีวิตและความตาย"

ดล เกตน์วิมุต (ครูดล)
(เข้าอ่านงานเขียนทั้งหมดของครูดลได้ที่นี่)

โยคะสารัตถะ ฉบับเดือน ธันวาคม ๒๕๕๑

 

     ต้องขอสารภาพตรง ๆ เลยว่าการเลือกเรียนวิชาชีวิตและความตายในระดับปริญญาโทในครั้งนี้เป็นการตัดสินใจเลือกเรียนที่เร็วที่สุด เรียบง่ายที่สุด คงมีเหตุปัจจัยเกื้อหนุนมากโดยเฉพาะเหตุปัจจัยที่เล่าในบทที่แล้ว ไม่เหมือนกับเมื่อครั้งที่เคยลองเรียน MBA ทั้งที่ต่างประเทศและในประเทศมาถึง ๒ ครั้ง ซึ่งก็ล้มเหลวทั้ง ๒ ครั้ง เพราะรู้สึกลึก ๆ ว่าไม่ใช่ทาง เรียนไปแล้วไม่มีความสุขเลย แต่ครั้งนี้เพียงแค่เห็นใบปิดประกาศขนาด A4 ธรรมดา ๆ ไว้ที่ฝาผนังว่า สมัครวิชาชีวิตและความตายที่ห้อง ๒๑๑ เพียงแค่นี้จริง ๆ รู้สึกโดนเต็ม ๆ ตัดสินใจได้เลยว่าจะเรียนต่อที่นี่ วิชานี้ และคงมีความสุขในการเรียนอย่างแน่นอน แล้วก็ทำการกรอกใบสมัครในทันทีบัดเดี๋ยวนั้น ที่ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาชีวิตและความตาย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย รุ่นแรกของประเทศซะด้วย กรอกใบสมัครเรียบร้อย จ่ายค่าลงทะเบียนสมัครสอบเรียบร้อยถึงจะค่อยมาดูรายละเอียดว่าถ้าสอบติดจะต้องเรียนอะไรบ้าง
      เมื่อสมัครเรียบร้อย ผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกใน ๓ รายวิชา คือ วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาจิตวิทยาพื้นฐาน และผ่านการสอบสัมภาษณ์จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
      หลังจากฟังผลว่าผ่านกระบวนการสอบทั้งหมดแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าระลึกทบทวนของคำพูดของท่านหนึ่งที่เคยทักทายข้าพเจ้าไว้ว่า จะได้ทำหน้าที่ส่งผู้คนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง คำพูดนี้ได้แต่ก้องอยู่ในหัวแต่ไม่ชัดเจน ได้แต่นึกถึงอาชีพไกด์ซึ่งก็ไม่มีทางเป็นไปได้เลย จนมาถึงช่วงเวลาที่จะเข้าเรียนนี่เอง ที่จะได้มีโอกาสเรียนวิชาที่ว่าด้วยเรื่องจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ ในรุ่นแรกของประเทศ ประกอบด้วยพระนิสิต ๑๐ รูป และนิสิตชาย ๓ คน หญิง ๑๒ คน
     การเรียนสาขาวิชาชีวิตและความตายของข้าพเจ้าค่อนข้างถูกเก็บเป็นความลับ เลือกบริบทที่จะสื่อสารกับผู้คนที่ต่าง ๆ กันไป อย่างที่บ้านก็บอกแต่เพียงว่าไปเรียนต่อโท กับเพื่อน ๆ ก็บอกว่าเรียนต่อโท ส่วนใหญ่จะถามต่อว่าเรียนอะไร อ๋อเรียนจิตวิทยา มนุษยศาสตร์ ที่ไหนล่ะ มหาจุฬาฯ เพื่อนก็โห เรียนจุฬาฯ เราก็เออ ๆ ออ ๆ แล้วแต่การรับรู้ของบุคคลที่สื่อสารด้วย เพราะหลายคนไม่รู้จักว่ามีมหาจุฬาฯ คำว่ามหาแปลว่า ยิ่งใหญ่ แสดงว่าที่เราเรียนใหญ่กว่า จุฬาฯ แต่คนในวงกว้างก็จะรับรู้ว่าเราเป็นจุฬาฯ เฉย ๆ ที่ไม่ยิ่งใหญ่ ประกอบกับชื่อวิชาที่หลายคนได้ยินได้ฟังก็ หา! มีด้วยหรือ เรียนอะไรกัน เรียนไปทำไม จบแล้วจะทำอะไร ดังนั้นการเลือกบริบทที่จะสื่อสารถึงบุคคลที่ฟังเราอยู่ จะช่วยทำให้เราดูเหมือนยังเป็นคนปกติ กลมกลืน ไม่แปลกแยก ไม่หลุดไปจากบุคคลเหล่านั้น และมองอย่างเข้าใจตามความเป็นจริง แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับหลาย ๆ ท่านที่เราจะรู้สึกได้เองว่าสามารถเล่าให้ฟังได้ทั้งหมดเลยว่าเรียนอะไร อย่างไร ทำไม ที่ไหน แล้วเอาไปทำอะไร

(ฉบับหน้า มาติดตามกันว่าเค้าเรียนอะไรกันในวิชาชีวิตกับความตาย)

 

 

 

 


 


ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

 

หมายเลขบันทึก: 252987เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท