แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

(ชุด) ท่าไหว้พระอาทิตย์ ถือว่าเป็นอาสนะหรือไม่ ? (๔)


 


เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"

 

 

(๑) สูรยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์)
ไม่ใช่อาสนะ

(๒) สูรยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์)
ไม่ใช่อาสนะ 
(๓) สุริยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่?
(๔) (ชุด)ท่าไหว้พระอาทิตย์ 
ถือว่าเป็นอาสนะหรือไม่ ?
(๕) วิวาทะเกี่ยวกับสูรยนมัสการ
(๖) วิวาทะว่าด้วย "สูรยนมัสการ"

(ชุด) ท่าไหว้พระอาทิตย์ ถือว่าเป็นอาสนะหรือไม่ ?
จาก วิกิพีเดีย

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
(เข้าดูบทความของทั้งสองท่านที่นี่)

อ้างอิงข้อมูลจาก ; โยคะสารัตถะ ฉ.มี.ค.'๕๒

วาทะว่าด้วย "วิวาทะ"(เข้าอ่านที่นี่ค่ะ) 

สืบเนื่องจากคอลัมน์โยคะวิวาทะ จึงได้ลองค้นข้อมูล และนำมาแบ่งปัน ชิ้นแรกเป็นสรุปความสั้นๆ จากวิกิพีเดีย ชิ้นที่สอง ว่าด้วยเรื่องที่มาของของสูรยนมัสการ จากผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดีย ดังนี้

สูรย นมัสการ หรือ (ชุด) ท่าไหว้พระอาทิตย์ เป็นการฝึก ชุดท่าหฐโยคะอาสนะ เรียงไปตามลำดับ มีต้นกำเนิดมาจากการถวายความเคารพแด่พระอาทิตย์ ซึ่งถือว่าแป็นเทพองค์หนึ่งของทางฮินดู การฝึกชุดท่าไหว้พระอาทิตย์นี้ ทำได้อย่างหลากหลาย ถ้าเอาเรื่องของสติเป็นตัวตั้ง ก็สามารถทำได้หลายระดับ ไม่ว่าจะทำเพื่อการออกกำลังกายล้วนๆ ที่ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องของสติเลย ไปจนถึงการที่มุ่งพัฒนาสติเป็นหัวใจ เพื่อยกระดับจิตวิญญาณ โดยผสมผสานกับ ท่าอาสนะ ปราณายามะ การท่องมนตรา และ การเพ่งสมาธิไปยังจุดจักระต่างๆ ขณะทำ

ทางด้านกายภาพ สูรยนมัสการ เป็นการฝึกท่าอาสนะ 12 ท่า ต่อเนื่อง เรียงกันไปตามลำดับ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังไปในทิศทางทั้งการแอ่นและการก้ม นอกจากนั้น เรายังนิยมฝึกสูรยนมัสการประกอบกับแบบแผนในการหายใจ มีทั้งหายใจเข้าเต้มที่ หายใจออกเต็มที่ และ กลั้นลมหายใจ อันเป็นการเอื้อต่อประสิทธิภาพของระบบหายใจ

 ทุกวันนี้ คนมักฝึกชุดท่าฯ นี้ ตอนพระอาทิตย์ขึ้น เป็นการถวายความเคารพแด่พระอาทิตย์ตามวัตรปฏิบัติของพราหมณ์อินเดียโบราณ

 ที่มาของ สูรยนมัสการ
โดย Dr. Sivatej Sarva, Shri Ram Prasad Kraleti, Dr. Siddhesh Shevade, Shri Sudhakar Joglekar*.

อาจารย์ Joglekar เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสูรยนมัสการ และเป็นหัวหน้าแผนก สูรยนมัสการ ของ Kreeda Bharathi.

 บทคัดย่อ

สูรยนมัสการเป็น การออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั้งในอินเดียและประเทศทางตะวันตก การศึกษาตำราฮินดูโบราณก็เพื่อสืบค้นที่มาที่ไปของศาสตร์นี้ ซึ่งพบว่า สูรยนมัสการมีมาตั้งแต่อินเดียโบราณในยุคพระเวท ซึ่งระบุการบูชาพระอาทิตย์ไว้ 2 รูปแบบ ต่อมาในยุคปุราณะ ที่เป็นช่วงกำเนิดของมหากาพย์หลายเล่ม ก็พบ อาทิตยะ หฤทยาม จารึกอยู่ใน รามายนะ อธิบายถึงการปฏิบัติพร้อมกับคำสวด อันเป็นรูปแบบที่คล้ายกับที่ฝึกกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นคำสวดตลอดจนรูปธรรมการปฏิบัติทางกายภาพล้วนสืบทอดมาเนิ่นนาน สรุปได้ว่า สูรยนมัสการเป็นศาสตร์ที่มีรากมาจากอินเดียโบราณ ซึ่งได้วิวัฒน์มาเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

คำนำ

สูรยนมัสการเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั้งในอินเดียและ ประเทศทางตะวันตก ทุกวันนี้ ผู้คนต่างตระหนักถึงประโยชน์ทางด้านสุขภาพของศาสตร์นี้ แต่กลับไม่ค่อยมีใครรู้ถึงที่มาของมัน

สูรยนมัสการเป็นศาสตร์ที่มีจุด กำเนิดอ้างอิงอย่างชัดเจน เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเพื่อการดูแลสุขภาพของชาวฮินดูโบราณ โดยการใช้ร่างกายบูชาต่อพระอาทิตย์ แม้ชื่อเรียกและรายละเอียดการปฏิบัติของศาสตร์นี้มีความหลากหลาย แต่แก่นแกนของมันเป็นหนึ่งเดีย

ยุคพระเวท

ในพระเวท ตำราโบราณของพราหมณ์ ได้กล่าวถึงการบูชาพระอาทิตย์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสุขภาพอยู่หลายที่ มีการระบุถึง "นิตยะวิถี" หรือ ข้อวัตรที่ต้องปฏิบัติทุกวันของฮินดูชน เป็นการศิโรราบอัตตาของตนเองต่อพระเจ้า อันเป็นแก่นสำคัญของสูรยนมัสการ ส่วนรายละเอียดในการปฏิบัตินั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ที่นิยมมีอยู่ 2 สาย Trucha Kalpa Namaskarah และ Aditya Prasna

Trucha Kalpa Namaskarah

ตำราพระเวทจะเขียนไว้เป็นมนตรา แต่ละมนตราเรียกว่า รฉ rucha โดย 3 รฉ เรียกว่า Trucha หมายถึงบทสวดมนตร์ที่มี 3 รฉ ซึ่งเป็นวิธีสวดสำหรับสูรยนมัสการ

Sankalp หมายถึงการอธิษฐานก่อนการฝึก ซึ่งในที่นี้คือ การขอให้มีสุขภาพดี และมีพละกำลังที่จะทำงานหนัก

เมื่ออธิษฐานแล้ว ก็ต่อด้วยการสวดฌาน มีเนื้อดังนี้ "เราขอบูชาพระอาทิตย์ผู้สถิตอยู่บนดอกบัวกลางจักรวาล ร่างเปล่งปลั่งดั่งทอง สวมมงกุฎ marakundal ถือสังข์ และ จักระ

เมื่อสวดฌานเสร็จ ก็เป็นบทสวดบูชาพระอาทิตย์ อันประกอบด้วย

ก) 3 รฉ ซึ่งนำมาจากส่วนที่ 1 อนุวรรคที่ 9 บทที่ 50 ใน ฤคเวท 3 รฉ มีเนื้อดังนี้ "โอ บุตรของอทิติ ผู้อยู่กลางท้องฟ้า โปรดขจัดอวิชชาในใจ พร้อมกับทำลายโรคต่างๆ ในกายข้าฯ ด้วยแสงอันบรรเจิดของท่าน" ฤาษีกานวะ ผู้ประพันธ์มนตรานี้ กล่าวว่า ผู้สวดมนตร์นี้ประกอบกับการทำสูรยนมัสการ จะปราศจากโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เรื้อน มะเร็งในเลือด และ ดีซ่าน ฯลฯ

ข) การเอ่ยนามของพระอาทิตย์ ซึ่งประกอบด้วย คำว่าโอม + อักษรที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิด beejakshara + รฉ + อักษรที่เป็นต้นกำเนิดอีกครั้ง + คำว่าโอมอีกครั้ง + ชื่อพระอาทิตย์ + ปิดท้ายด้วยคำเคารพ เป็นคำสวดต่อเนื่องกันดังนี้

โอม Beejakshara  3 รฉ Beejakshara โอม ชื่อพระอาทิตย์ คำเคารพ
Aum hram Udhyannadhya mitramah hram Aum mitraya namah
โอม ฮราม อุฒยาน มิตรามะฮะ ฮราม โอม มิตรา นะมะฮะ

เมื่อสวดมนตราแรกจบ ก็ปฏิบัติสูรยนมัสการ 1 ครั้ง 

จากนั้นก็สวดมน ตราที่ 2 ซึ่งจะเพิ่มอักษรต้นกำเนิดขึ้นมาอีก 1 ตัว, เพิ่ม รฉ, และ เพิ่มชื่อพระอาทิตย์อีก 1 ชื่อ สวดจบก็ปฏิบัติสูรยนมัสการ 1 ครั้ง 

แล้วสวดมนตราที่ 3 เพิ่มอักษรต้นกำเนิดเป็น 3 ตัว, เพิ่ม รฉ, เพิ่มชื่อพระอาทิตย์เป็น 3 ชื่อ จบก็ปฎิบัติสูรยนมัสการ 1 ครั้ง

ทำการสวดจนครบ จะมีอัษรต้นกำเนิด 6 ตัว และ ชื่อพระอาทิตย์ 12 ชื่อ คือ มิตรา รวี สูรยา ภาณุ ขคา ปูศัน หิรัญเคราะห์ มฤฉมาน อทิตยา สาวิตรี อารกะ ภัสกร 

การสวดจนครบ 1 ชุด จะได้ทั้งหมด 22 มนตรา ทำการสวด 3 รอบ รวมทั้งสิ้น 66 มนตรา โดยการสวด 1 มนตรา ก็ปฏิบัติสูรยนมัสการ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น ก็ฝึกสูรยนมัสการ 66 ครั้ง

ค) ในตอนท้าย จบลงด้วยโศลก มีเนื้อความดังนี้ "ผู้ปฏิบัติสูรยนมัสการทุกวัน ไม่มีวันอับจน (ทางด้านสุขภาพ) ไม่สิ้นชีวิตก่อนวัยอันควร ไม่มีโรคกล้ำกราย ดื่มน้ำที่อาบด้วยแสงอาทิตย์" 

Aditya Prasna

อทิตยา ปราสนานิยมฝึกกันในอินเดียตอนใต้ นำบทสวดมาจากยชุรเวท ไตรตรียา อรัญกะ ซึ่งมีอยู่ 32 อนุวรรค ผู้สวดจะฝึกสูรยนมัสการหลังจาดสวดจบแต่ละอนุวรรค คือ ฝึก 32 รอบนั่นเอง

ยุคปุราณะ

นอกจากยุคพระเวทแล้ว ต่อมา ในยุคปุราณะที่เกิดมหากาพย์ต่างๆ มีการฝึก อาทิตยะ หฤทยาม Aditya Hridyam ซึ่งก็คือสูรยนมัสการ เป็นคำสอนจากฤาษี Agastya แก่พระราม ก่อนออกสู้รบกับเหล่ายักษ์ จารึกอยู่ใน ยุทธกานดา บาทที่ 107 ใน มหากาพย์รามายนะ

อาทิตย หฤทยาม จะมีการกล่าวนามของพระอาทิตย์ถึง 124 พระนาม บางวรรคก็จะเน้นการเอ่ยนามของพระอาทิตย์ (วรรคที่ 10 - 13) บางวรรคก็เป็นคำสรรเสริญ เช่น วรรคที่ 15 มีเนื้อหความว่า "ผู้งดงามในท่ามกลาง โอ พระเจ้า ผู้ปรากฏใน 12 รูปแบบ (ตามเดือนทั้ง 12 ของปี) ข้าฯ ขอนบน้อมสัการะ"

ความเก่าแก่ และ คุณค่า

เรามาพิจารณาสูรยนมัสการในแง่สุขภาพ โดยดูจากท่าอาสนะต่างๆ ที่ประกอบอยู่ในศาสตร์นี้ ซึ่งล้วนเป็นท่าที่มีประวัติมายาวนาน

สูรยนมัสการที่ปฏิบัติกันในอินเดียขณะนี้ มีรูปแบบแตกต่างกันมากกว่า 50 ชุด นักวิชาการตะวันตกบางคนพูดว่าศาสตร์นี้เพิ่งพัฒนามาเมื่อศตวรรษที่ผ่านมา หากเป็นเช่นนั้น มันคงไม่แตกสาขาจนหลากหลายเช่นนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ท่าอาสนะในสูรยนมัสการก็เป็นท่าโบราณแทบทั้งสิ้น เช่น 

ท่าอัษฎางค์ ทันทวัต ซึ่งถือเป็นแก่นของชุดท่าไหว้พระอาทิตย์ มีมาแต่โบราณในการเคารพบูชาพระอาทิตย์ ท่าภุชงค์อาสนะก็อธิบายอยู่ใน เฆรันฑะ สัมหิตา ที่มีมาแต่ ค.ศ. 1802 ในภาคตะวันออกเฉียงหนือของอินเดีย ท่าอโฒมุข สวันาซัน ปรากฎอยู่ในตำรามวยปล้ำโบราณ "Mallapurana" ก่อนปี ค.ศ.1750 นอกจากนั้น อุตตานาสนะและชุดท่าที่คล้ายสูรยนมัสการ ก็มีปรากฏอยู่ใน Sritattvanidhi แต่งโดย Krishnaraja Wodeyar III ซึ่งอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1799 - 1868

อัษฎางค์ ทันทวัต

ภุชงค์อาสนะ

อโฒมุข สวันาซัน

 

คุณค่าของสุรยนมัสการต่อสุขภาพก็ไม่ใช่ของใหม่ ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ของการแพทย์แผนอารยัน พิมพ์ใน ค.ศ. 1896 กล่าวถึงการออกกำลังกายทั้งในร่มและกลางแจ้ง และได้อธิบายว่า "มีชาวฮินดูส่วนหนึ่ง ฝึกชุดท่าไหว้พระอาทิตย์ อันเป็นการใช้กล้ามเนื้ออย่างมาก ทดแทนการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี"

ในประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่าบุคคลสำคัญหลายท่านในรัฐมหาราษฎร์ฝึกสูรยนมัสการเพื่อการออก กำลังกาย นอกจากนั้น คำว่า วิยายมะ vyayama คำศัพท์สันสกฤตที่หมายถึงการออกกำลังกาย ก็มีนัยยะของการยกระดับจิตวิญญาณรวมอยู่ด้วย ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงทรรศนะของคนอินเดียโบราณที่ว่า "การฝึกฝนทางจิตวิญญาณ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนทางด้านร่างกาย" ก็ยิ่งตอกย้ำคุณค่าของสูรยนมัสการทั้งด้านกายภาพและจิต

ราชาแห่งรัฐ Aundh

Shrimant bhavanrao Pant Pratinidhi ซึ่งขึ้นครองราชย์ เป็นราชาแห่งรัฐ Aundh ในช่วงปี ค.ศ. 1909 - 1947 เป็นผู้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของสูรยนมัสการ ในปลายยุคสมัยที่อินเดียอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ ท่านนำสูรยนมัสการเข้าไปเผยแพร่เป็นหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน และชักชวนให้ประชาชนทั่วไปฝึกในชีวิตประจำวัน นักวิชาการชาวตะวันตกบางคน ที่ไม่คุ้นเคยกับตำราอินเดียโบราณ ถึงกับเขียนว่า มันคือ การออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่ได้รับการออกแบบโดยราชาแห่งรัฐ ตรงข้ามกับข้อเท็จจริง ที่ท่านไม่เคยกล่าวอ้างว่าเป็นผู้คิดค้น ท่านกลับเน้นให้ศึกษาจากตำราโบราณด้วยซ้ำ

สรุป

ในการศึกษาถึงต้นตอของสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราศึกษาไปถึงแก่นแกนหลักของศาสตร์นั้น ซึ่งการที่ตำราพระเวทไม่ได้อธิบายรูปธรรมสุรยนมัสการแบบที่เรารับรู้ใน ปัจจุบัน มิได้หมายความว่า ศาสตร์นี้ไม่ได้มาจากพระเวท เมื่อพิจารณาหลักฐานจากตำราดั้งเดิม ประกอบกับการปฏิบัติที่มีอยู่อย่างดาษดื่นทั่วอินเดีย ก็เพียงพอต่อการพิสูจน์ถึงความเก่าแก่ของสูรยนมัสการ

บทความนี้ไม่ได้ ตั้งใจจะชี้ถูกชี้ผิด และไม่ได้ตั้งการจะนำเสนอทฤษฎีใหม่แต่อย่างใด เพียงนำเสนอข้อมูลของศาสตร์อันเป็นที่นิยมอย่างมากนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในตำราอ้างอิงต่างๆ   

 


 


ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

.....

หมายเลขบันทึก: 252975เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณแตงไทย

หนูเริ่มเรียนโยคะมาได้ 1 เดือนแล้ว สนุกมากๆเลย

จะขอเข้ามาทักทาย และขอความรู้เรื่อยๆไปนะคะ

ขอบคุณมากๆค่ะ :)

สวัสดีค่ะ หนู นมชมพู

เรียนโยคะที่ไหน รูปอย่างไร เล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
เผื่อพี่จะได้ขอความรู้บ้าง
แลกเปลี่ยนกันไง

อีกตี๊ดนึง...เลือกรูปได้น่ารักมากค่ะ...จะน่ารักเหมือนตัวจริงหรือเปล่าเนี่ย...kri kri

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท