แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

สุริยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่? (๓)


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"

(๑) สูรยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์)
ไม่ใช่อาสนะ

(๒) สูรยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์)
ไม่ใช่อาสนะ 
(๓) สุริยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่?
(๔) (ชุด)ท่าไหว้พระอาทิตย์ 
ถือว่าเป็นอาสนะหรือไม่ ?
(๕) วิวาทะเกี่ยวกับสูรยนมัสการ
(๖) วิวาทะว่าด้วย "สูรยนมัสการ"

สูริยนมัสการเป็นอาสนะหรือไม่?

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
(เข้าดูบทความของทั้งสองท่านที่นี่)

อ้างอิงข้อมูลจาก ; โยคะสารัตถะ ฉ.มี.ค.'๕๒

วาทะว่าด้วย "วิวาทะ"(เข้าอ่านที่นี่ค่ะ)

การจะตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดเจนหรือฟันธงลงไปเลยนั้น คงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะคำตอบที่ออกมานั้นขึ้นอยู่กับแง่มุมในการวิเคราะห์ตีความ หากเราพิจารณาด้วยแง่มุมหนึ่งอาจได้คำตอบว่าสุริยนมัสการเป็นอาสนะ แต่เมื่อพิจารณาจากอีกแง่มุมหนึ่งอาจได้คำตอบว่าสุริยนมัสการไม่เป็นอาสนะก็ ได้ จะลองยกตัวอย่างแง่มุมที่สำคัญมาวิเคราะห์สัก ๔ ประเด็นคือ

พิจารณาจากรากศัพท์ของคำว่า อาสนะ 

" อาสนะ (asana)" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "อาส (as)" หมายถึง นั่ง หรือวัสดุที่ใช้สำหรับนั่งก็เรียกว่า "อาสนะ" เช่น เบาะหรือเสื่อรองนั่ง เป็นต้น เมื่อพิจารณาจากรากศัพท์เช่นนี้จะพบว่า ท่าที่ใช้ทำอาสนะจึงไม่น่าจะเป็นท่าใดๆ ก็ได้ แต่น่าจะหมายถึงเฉพาะท่านั่งเท่านั้น เช่น ท่านั่งสมาธิทั้งหลาย ไม่เกี่ยวกับท่ายืนและท่านอนแต่อย่างใด เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาชุดการฝึกสุริยนมัสการจะพบว่าท่าทางที่ใช้ส่วนใหญ่ เป็นท่ายืนและไม่มีท่าที่ต้องนั่งด้วยก้น ดังนั้นเมื่อมองจากแง่มุมนี้จึงกล่าวได้ว่า สุริยนมัสการไม่เป็นอาสนะ

พิจารณาจากนิยามความหมายของคำว่า อาสนะ ในตำราโยคะสูตร

นิยาม ความหมายของคำว่า อาสนะ ตามตำราโยคะสูตรของปตัญชลีปรากฏอยู่ในบทที่ ๒ โศลกที่ ๔๖ ซึ่งครูโยคะหลายคนคงคุ้นเคยกันดีว่า "สถิระ สุขัม อาสนัม" หมายถึง อาสนะคือความสุขสบายและความมั่นคง หากจัดท่าของร่างกายให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งแล้วเกิดสภาวะของความสุขสบายและ ทรงตัวอยู่ในท่าด้วยความมั่นคงได้ ก็สามารถเรียกได้ว่าผู้ฝึกกำลังทำอาสนะตามนิยามของตำราโยคะสูตร เมื่อเราคิดค้นท่าทางออกมาท่าหนึ่งหรือชุดหนึ่ง แล้วสามารถฝึกตามคำนิยามของปตัญชลีในโศลกนี้ได้ ย่อมหมายความว่าเรากำลังฝึกอาสนะอยู่ แต่หากการฝึกท่าชุดเดียวกันนั้นผู้ฝึกทำแล้วไม่เกิดสภาวะของความสุขความสบาย และมีการทรงตัวที่มั่นคง ก็ไม่อาจเรียกการฝึกท่าชุดนั้นว่าเป็นการฝึกอาสนะ

หากลอง พิจารณาการฝึกสุริยนมัสการซึ่งประกอบด้วย ๑๒ ท่า ที่ต้องเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันเป็นชุด ถ้าผู้ฝึกสามารถคงสภาวะของความสุขสบายและทรงตัวได้อย่างมั่นคงในการฝึกแต่ละ ท่าต่อเนื่องไปจนกระทั่งจบชุดการฝึกได้ ก็เรียกได้ว่าการฝึกสุริยนมัสการแบบนี้เป็นอาสนะ แต่ถ้าการฝึกในแต่ละท่าไม่เกิดความมั่นคงและสบาย หรือไม่สามารถคงสภาวะของความมั่นคงและสบายไปได้ตลอดระยะเวลาของการฝึก ก็ไม่อาจนับว่าการฝึกสุริยนมัสการนี้เป็นอาสนะ

พิจารณาจากวิธีการฝึกอาสนะในตำราโยคะสูตร

โยคะ สูตรบทที่ ๒ โศลกที่ ๔๗ กล่าวถึงวิธีการฝึกอาสนะว่า "ประยัตนะ ไชถิลยะ อนันตะ สะมาปัตติภยาม" หมายถึง การฝึกอาสนะควรทำด้วยความผ่อนคลายจากการใช้ความพยายามและรวมจิตเข้ากับสภาวะ อนันต์ วิธีการฝึกอย่างแรกคือ ผู้ฝึกควรลดการใช้ความพยายามให้เหลือน้อยที่สุดในขณะที่ทำท่าอาสนะ ซึ่งจะทำให้จิตใจของผู้ฝึกคลายจากความอยากหรือความต้องการที่จะเอาชนะใดๆ และยังช่วยลดความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย วิธีการฝึกอีกประการหนึ่งเป็นเรื่องของการวางจิตวางใจแบบโยคะกล่าวคือ เป็นการสร้างสมาธิด้วยการกำหนดจิตหลอมรวมจนเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่ไม่มี ที่สิ้นสุด (สภาวะอนันต์) เช่น ท้องฟ้า หรือมหาสมุทร เป็นต้น การวางจิตแบบนี้จะนำไปสู่ภาวะถอดถอนจิตออกจากการยึดเกาะกับความคิด ความกังวล ความต้องการ ความคาดหวัง หรือความสนใจเรื่องภายนอก จึงทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย และเปิดกว้าง ดังนั้นถ้าผู้ฝึกสามารถฝึกตามวิธีการทั้งสองอย่างนี้ได้ ก็ถือว่าเป็นการฝึกอาสนะที่สมบูรณ์ตามวิธีการของปตัญชลี

เมื่อ พิจารณาการฝึกสุริยนมัสการอย่างที่หลายคนเคยเห็นและเคยฝึกกันโดยทั่วไปจะพบ ว่า จังหวะการฝึกมีการเคลื่อนไหวที่เร็วและแรง มีการใช้ความพยายามสูงทั้งพยายามที่จะทำให้ได้สวยๆ ตามท่าที่เห็นจากหนังสือหรือจากครูฝึก และพยายามที่จะทำให้ได้ครบตามจำนวนรอบที่กำหนดตั้งแต่ ๑ ชุด ๑๒ รอบ ไปจนถึง ๙ ชุด ๑๐๘ รอบ หรืออาจจะมีมากกว่านั้น การฝึกด้วยวิธีเช่นนี้จึงไม่ได้เป็นไปตามวิธีการฝึกอาสนะของปตัญชลีที่แนะนำ ไว้ในโยคะสูตร เพราะมีการใช้แรงและใช้ความพยายามมากทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและ จิตใจ อาจเกิดความตึงเครียดกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายและส่งผลต่อความตึงเครียดทางจิตใจในบางระดับด้วย ส่วนเรื่องของการวางจิตแบบโยคะโดยทั่วไปแล้วพบว่าผู้นำฝึกสุริยนมัสการใน บ้านเราก็ไม่ได้แนะนำให้ผู้ฝึกวางจิตรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะอนันต์เพราะ อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจและปฏิบัติได้ยาก หรือแม้แต่แนะนำให้วางใจให้ปลอดโปร่ง คลายจากความคิดความคาดหวังต่างๆ แต่มักจะเน้นให้ผู้ฝึกทำท่าให้ถูกต้อง ทำต่อเนื่องไปแบบออกกำลังกาย ทำอย่างสนุกสนานเร้าใจ รวมถึงทำให้ครบตามเป้าหมายของจำนวนรอบที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้ฝึกก็จะมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องท่าทางและเป้าหมายที่จะไปให้ถึง ขณะฝึกจิตจึงยังไม่ได้ถอนออกจากความคิด ความกังวล หรือความคาดหวังต่างๆ จึงทำให้จิตใจไม่ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย และเปิดกว้างได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากวิธีการฝึกอาสนะตามตำราโยคะสูตรก็อาจกล่าวได้ว่า สุริยนมัสการที่ฝึกกันโดยทั่วไปนั้นไม่ได้เป็นอาสนะ

พิจารณาจากผลของการฝึกอาสนะในตำราโยคะสูตร

ปตัญ ชลีได้กล่าวถึงผลของการฝึกอาสนะในบทที่ ๒ โศลกที่ ๔๘ ว่า "ตะโต ทะวันทะวานะภิฆาตะ" หมายความว่า หากฝึกอาสนะด้วยวิธีการดังกล่าวที่ได้แนะนำไว้ข้างต้นจะทำให้เกิดผลต่อการ ขจัดความขัดแย้งต่างๆ ภายในจิตใจ ความขัดแย้งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรียกว่า "คู่ตรงข้าม" เช่น ความร้อนและความหนาว ความหิวและความอิ่ม ความสุขและความทุกข์ ความมีและความไม่มี ความรักและความเกลียดชัง การเอาชนะและการหลีกหนี เป็นต้น คู่ตรงข้ามเหล่านี้มักจะมีอิทธิพลต่อจิตใจของเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บ้างก็ทำให้เราร้อนรนกระวนกระวาย บ้างก็ทำให้เราเกิดความอยาก บ้างก็ทำให้เราโกรธ บ้างก็ทำให้เราหดหู่ซึมเศร้า บ้างก็ทำให้เราฟุ้งซ่าน เป็นต้น ความจริงแล้วประเด็นนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ฝึกโยคะควรศึกษาทำความ เข้าใจเพื่อให้การฝึกของตนเองก้าวหน้าไปในทิศทางที่ปตัญชลีได้แนะนำไว้ใน โศลกนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อหันกลับมามองการฝึกสุริยนมัสการในบ้านเราที่ปฏิบัติกันก็ พบว่า ส่วนใหญ่แนะนำให้ฝึกสุริยนมัสการเพื่อเป็นการวอร์มหรือเตรียมความพร้อมของ ร่างกายก่อนฝึกโยคะอาสนะ รวมทั้งฝึกสุริยนมัสการเพื่อเป็นการออกกำลังกายให้เต็มที่แล้วค่อยมาพักใน ท่าศพเพื่อผ่อนคลาย นอกจากนี้ในประเทศอินเดียยังได้นำสุริยนมัสการเข้าไปให้นักเรียนชั้นประถม และมัธยมต้นฝึกกันเป็นประจำเพื่อเน้นการพัฒนาร่างกายตามวัยของเด็ก สิ่งเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า การฝึกสุริยนมัสการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนา จิตใจหรือเน้นการขจัดความขัดแย้งภายในจิตใจตามที่ปตัญชลีกล่าวไว้ในโยคะสูตร แต่หากผู้ฝึกสุริยนมัสการต้องการผลต่อการพัฒนาจิตเป็นเป้าหมายสำคัญก็ย่อมทำ ได้โดยสามารถปรับการฝึกให้เป็นไปตามนิยามและวิธีการฝึกอาสนะของปตัญชลีข้าง ต้น ซึ่งการฝึกสุริยนมัสการแบบอาสนะนี้ก็จะนำพาผู้ฝึกไปสู่ผลในการขจัดความขัด แย้งของคู่ตรงข้ามภายในจิตใจได้เช่นกัน

โดยสรุปแล้ว สุริยนมัสการโดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นอาสนะ(ไม่ใช่ปัญหา) แต่ขึ้นอยู่กับผู้นำไปฝึกว่าต้องการเป้าหมายใด และควรจะใช้วิธีการใดในการฝึกเพื่อเข้าสู่เป้าหมายนั้น

 


 


ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 252973เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท