บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ฝากสำหรับผู้บริหารของทุกหน่วยงาน หากท่านน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ ท่านจะเป็นผู้บริหารที่เป็นที่รักของลูกน้อง เป็นกัลยาณมิตรที่ดีกับเพื่อน พี่ น้องผู้ร่วมงาน และท่านจะได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานหรือเครือข่ายอบอุ่น ไม่เฉพาะเกษตรกรเท่านั้นหากแต่ทุกสาขาอาชีพควรจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ในระดับที่เข้มข้น

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นคุณธรรม จรนิยธรรมชั้นสูงในการบริหารจัดการที่ผู้บริหารทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ สมควรศึกษา และน้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สุงสุด มีเนื้อความดังนี้ 1.พระองค์ท่านจะศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อที่จะเป็นข้อมูลมาให้ความช่วยเหลือ 2.ระเบิดจากข้างใน หมายความว่าต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราจะเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก 3.แก้ไขปัญหาที่จุดเล็ก คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม 4.ทำตามลำดับขั้น เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน  5. ภูมิสังคม การพัฒนาใดๆต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นๆว่าเป็นอย่างไร สังคมวิทยาเกี่ยวกับนิสัยใจคอของคน วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน 6.องค์รวม คือวิธีคิดที่มองอย่างครบวงจร  7.ไม่ติดตำรา คือ ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยี่ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย 8.ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด คือการแก้ไขปัญหาที่ราษฎรสามารถทำเองได้ หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยี่ที่ไม่ยุ่งยากนัก  9.ทำให้ง่ายคือคิดดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงาน การพัฒนาประเทศโดยง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน คือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยส่วนรวม ตลอดจนสภาพทางสังคมของชุมชนนั้นๆ 11. การมีส่วนร่วม คือการเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนหรือความต้องการของสาธารณชน 12.บริการรวมที่จุดเดียว เป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ เป็นการบริการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ 13 ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ คือ ศึกษาทำความเข้าใจถึงธรรมชาติอย่างละเอียด แล้วนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นแก้ไขปัญหากันเอง 14 ใช้อธรรมปราบอธรรม เช่น การบำบัดนำเสีย โดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรก ปนเปือ้นในน้ำ 15.ปลูกป่าในใจคน คือการปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คน 16.ขาดทุนคือกำไร คือการให้และการเสียสละ เป็นการกระทำอันมีผลกำไร คือความอยู่ดีมีสุข ของราษฎร 17การพึ่งตนเอง คือการพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้  18.พออยู่พอกิน คือการพัฒนาที่เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผล สามารถดำรงชีพอยู่ได้ 19 เศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียง คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  20.ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน คือการทำงานนั้นจะต้องยึดถือความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก 21.  ทำงานอย่างมีความสุข ในการทำงานทุกอย่าง ต้องทำไปอย่างสนุกสนานในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น  22. ความพากเพียร ในการริเริ่มทำโครงการใดๆในการทำงานกับประชาชนนั้นอาจต้องมีปัญหาอุปสรรคบ้าง ต้องร่วมกันมุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข 23.รู้รักสามัคคี คำ 3 คำนี้ มีคุณค่าและมีความหมายลึกซึ้ง รู้หมายถึง รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด ทั้งปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา รัก หมายถึงการพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ สามัคคี หมายถึง การทำงานนั้นต้องร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ เราจะเห็นว่าทุกประเด็นในการทรงงานของพระองค์ท่านเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญยิ่ง นี่หาก สส สว ของบ้านเมืองเราน้อมนำไปปฏิบัติให้ได้หมดอย่างเข้มข้น เราคงจะเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่น่าอาศัยไม่ใช่น้อย

 

หมายเลขบันทึก: 252828เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท