กินส้มอย่าให้เหลือเยื่อใย(ใยสีขาวรอบกลีบ)


 

...

ภาพที่ 1: แผนที่ประเทศส่งออกส้มในปี 2548 > [ Wikipedia ]

ประเทศที่ส่งออกส้มมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ บราซิล สหรัฐฯ เม็กซิโก อินเดีย และจีน... มหาอำนาจอันดับ 1 แสดงไว้ด้วยจุดสีเขียว รองลงไปเป็นจุดสีเหลือง และแดงตามลำดับ

...

ภาพที่ 2: แผนที่ประเทศส่งออกส้มในปี 2548 > [ Wikipedia ]

ประเทศที่ส่งออกส้มมากที่สุด 5 อันดับแรกอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ-ใต้มากถึง 3 ประเทศได้แก่ บราซิล สหรัฐฯ และเม็กซิโก  

...

ส้ม (orange) มีระบบป้องกันตัวจากแมลง และศัตรูพืช เช่น แมลง เชื้อรา ฯลฯ ที่สำคัญ 2 ชั้นได้แก่ เปลือก (peel) และใยขาวรอบกลีบ (albedo)

รศ.ดร.เรเน เอ็ม. กูดริช ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการคน มหาวิทยาลัยฟลอริดาสหรัฐฯ กล่าวว่า เจ้าใยขาวที่ว่านี้มีวิตามิน C, เส้นใยชนะละลายน้ำได้ที่เรียกว่า 'pectin (เพคทิน)'

...

เส้นใยเพคทินมีคุณสมบัติพิเศษได้แก่ ช่วยดูดซับน้ำตาลและไขมันไว้ ทำให้การดูดซึมและการย่อยอาหารช้าลง อิ่มนานขึ้น ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยลดเสี่ยงโรคอ้วน

นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ช่วยจับโคเลสเตอรอลในน้ำดี ขับออกไปทางอุจจาระ ทำให้ไขมันในเลือดลดลง (ถ้ากินมากพอเป็นประจำ)

...

อาจารย์ดอกเตอร์เชลดอน เอส. เฮนเลอร์ บรรณาธิการร่วมหนังสือคู่มืออ้างอิงประจำโต๊ะแพทย์ด้านอาหารเสริมกล่าวว่า

ใยขาวรอบกลีบส้มมีสารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผักกลุ่ม "ฟลาโวนส์" (polymethoxylated flavones เช่น nobiletin, tangeretin, sinesetin ฯลฯ)

...

สารกลุ่มฟลาโวนส์ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันส้มจากเชื้อรา แมลง และศัตรูพืชช่วยออกฤทธิ์ลดไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) ป้องกันมะเร็ง ลดเสี่ยงเชื้อรา และลดการอักเสบ

ใยขาวรอบกลีบส้มมีสารพฤกษเคมสีกลุ่มน้ำมันเทอร์พินอยส์ (terpinoids citral), d-limonene และสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยส์ที่สำคัญอีก 4 ชนิด (hesperidin, neohesperidin, naringin, rutin)

...

สารคุณค่าพืชผักเหล่านี้รวมทั้งสารอื่นๆ เช่น D-glucarate ฯลฯ อาจมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง

กล่าวกันว่า ถ้าจะกินส้มให้ได้ผลดีจริงๆ ไม่ควรกรองน้ำส้มดื่ม ทว่า... ควรกินส้มทั้งกลีบ แถมใยขาวรอบกลีบ... กินให้หมดอย่าให้เหลือเยื่อใย

...

และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น... ให้เก็บเปลือกส้มไว้ต้มทำแยมผิวส้ม เพื่อให้ได้คุณค่าจากส้มทั้งผลอย่างแท้จริง ทิ้งไปแต่เมล็ดส้มก็มากพอแล้ว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา >                          

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้ท่านนำไปเผยแพร่ความรู้ได้โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 1 เมษายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 252643เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท