แบบฝึกหัดเพื่อการรู้จักการจัดการตนเอง(4)


การพยายามหลีกเลี่ยงความผิดพลาดบกพร่อง

โดยธรรมชาติของจิต เมื่อเรารู้สึกว่ามีสิ่งใดที่มาสร้างความไม่สบายใจให้กับเรา
วิธีหนึ่งในการผ่อนคลายความรู้สึกกดดันภายในแบบชั่วคราวก็คือ การหลีกเลี่ยง
สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของความเจ็บปวด ทุกข์ใจของเรา
กลไกการหลบเลี่ยงของแสลงนี้เกิดขึ้นเองอย่างอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัว

เช่นเดียวกับกลไกการโยนใส่ของจิต การหลีกเลี่ยงสิ่งที่
เราคาดว่าจะนำความเจ็บปวดมาให้เรา ทำให้เราไม่ต้อง
ไปรับรู้ความรู้สึก(เจ็บปวด)นั้น ตัวอย่างเช่น
การพยายามหลีกเลี่ยงความผิดพลาดบกพร่อง ของคนเจ้าระเบียบ
ก็คือการป้องกันความเจ็บปวดที่ตนเองจะรู้สึกมากเป็นพิเศษ 
จากการถูกตัดสินว่าเป็นฝ่ายไม่ถูกต้อง ไม่ดีพอ


หรือการหลีกเลี่ยงที่จะรับรู้ความต้องการของตนเอง
ของคนชอบเรียกร้อง ก็คือความพยายามที่จะป้องกันความเจ็บปวด
ที่เกิดจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ไม่มีความหมาย
เมื่อไม่ได้ทำอะไรให้ผู้อื่น

การหลีกเลี่ยงสภาวะอับจนหนทาง
ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ของขี้กังวล ก็คือความพยายามหนี
จากความรู้สึกไม่มั่นคงที่ต้องเอาชีวิตตัวเองไปขึ้นต่อ
ความเมตตาของสิ่งอื่นๆ ที่ไม่แน่นอนและควบคุมไม่ได้


การหลีกเลี่ยงความรู้สึกอ่อนแอของคนรักความเป็นธรรม
ก็คือความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกควบคุม
ครอบงำไปในทางที่ต้องฝืนใจตัวเอง

     ขอให้ใช้สมาธิเพ่งพิจารณาคำที่ใช้นิยามสิ่งที่คนเราพยายามหลีกเลี่ยง
1   ความผิดพลาด (ERROR) 
2   ความต้องการของตนเอง (OWN NEEDS) 
3   ความล้มเหลว (FAILURE)
4   ความเป็นเหมือนคนทั่วไป (ORDINARINESS) 
5   ความสูญเสียหมดสิ้นในทรัพยากร (EMPINESS, BEING DRAINED) 
6   ความเคว้งคว้างไร้หลักประกันความมั่นคง (HELPLESSNESS) 
7   ความทุกข์/กรอบจำกัด (PAIN/LIMITATION) 
8   ความอ่อนแอ (VULNERABILITY) 
9   ความขัดแย้ง (CONFLICT)

ใคร่ครวญให้ดีว่าคำๆนั้น มีความหมายอย่างไรกับเรา
คำๆนี้เกี่ยวโยงและมีนัยยะในเชิงบวกหรือลบแก่เราอย่างไร
หลังจากนั้นก็ลองพิจารณาคำที่เป็นของแสลงประจำตัวของคนอื่นๆด้วย
บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในความคิดจิตใจของเราทั้งหมดข้างต้น
ไว้ในสมุดบันทึกประจำวันของเรา

ขั้นต่อไปคือการเฝ้าสังเกตสิ่งที่เป็นของแสลงของเรานี้
ในขณะที่มันปรากฏขึ้นมาในชีวิตจริงของเรา
มองให้เห็นถึงปฏิกิริยาทั้งภายในและภายนอกของเราต่อสิ่งนั้น
มีสติรู้เท่าทันตัวเอง เมื่อเราเริ่มรู้สึกตึงเครียดไม่สบายใจ
และเริ่มจะหลีกเลี่ยงถอยหนี ออกจากสถานการณ์นั้นๆ
ที่มีของแสลงของเราปรากฏอยู่

เพื่อความเข้าใจในคนอื่นๆ เราอาจลองสังเกต
พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงของแสลงประจำตัวของคนอื่น
เช่นคนในครอบครัว, เพื่อนฝูง, หรือเพื่อนร่วมงาน

เช่นเดียวกับในบทก่อนๆ ขอให้จดบันทึกข้อสังเกตและประสบการณ์
ของแต่ละวัน หากไม่สามารถทำได้ทุกวัน ก็อย่าทิ้งช่วงหลายวันเกินไป
ควรทำการสังเกตตัวเอง และบันทึกทบทวนให้ถี่ที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขยายความจากคำสอนของ
ท่านสันติกโรภิกขุ
เรื่อง แบบฝึกหัดการค้นหาตนเอง
สมาคมนพลักษณ์แห่งประเทศไทย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 252628เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชม

เป็นขั้นตอนแห่งการปฏิบัติดีแท้นะนี่

 

* สวัสดีค่า ท่านยูมิ
* ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมบล้อก
* และแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ จะได้แชร์ประสบการณ์นะคะ
* ถ้าจะเอาแบบละเอียดต้องตามไปที่สมาคมค่า

http://newsite.enneagramthailand.com/

 

ขออนุญาตินะครับ

ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็เผชิญหน้าไปเลยครับ

ให้กิเลสอัดซะให้เข็ด มไส้ มีสติอย่างเดียว

...ขอโทษนะครับ พิมพ์ผิด

ขออนุญาตินะครับ

ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็เผชิญหน้าไปเลยครับ

ให้กิเลสอัดซะให้เข็ด (มไส้ )ไม่สู้ มีสติอย่างเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท