พระสูตรปรัชญาปารมิตาหฤทัย


  • ผมโชคดีมากที่ได้อ่าน "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มศึกษาธรรมะ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเข้าใจพระสูตรทั้งหมดได้ แต่ผมก็รู้สึกว่า พระสูตรดังกล่าวได้พัฒนาจิตใจผมขึ้นอีกไม่น้อยเลย
  • เมื่อสองวันที่แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า เอ! ถ้าได้กลับไปอ่านพระสูตรดังกล่าวอีกจะเป็นอย่างไรบ้าง จะเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นอีกมากน้อยเพียงใด ?
  • ผมไม่รอช้าที่จะค้นหาพระสูตรดังกล่าวบนอินเทอเน็ต ไม่ถึงสิบนาทีก็ได้เอกสารชุดเดิมมาอ่าน แต่คราวนี้ได้สำนวนใหม่จากผู้แปลคนใหม่ แถมได้พบ "พระสูตรปรัชญาปารมิตาหฤทัย" ที่เป็นสำนวนที่ผมไม่คุ้นเคย ผมเข้าใจว่า ด้วยความหยาบของจิตใจในช่วงเวลานั้น ทำให้เรารีบร้อนจนมองไม่เห็นสิ่งสำคัญ หรือเห็นแต่เข้าไม่ถึงประมาณนั้นครับ
  • -------------------------------------------------
  • อ่านคราวนี้ ผมตัดสินใจศึกษา "พระสูตรปรัชญาปารมิตาหฤทัย" ก่อน โอม! สุดยอดจนฝันถึงเลยครับ ตื่นเช้าขึ้นมาจิตใจเบิกบานกว่าวันที่ผ่าน ๆ มา แถมเป็นการตื่นเช้ากว่าวันที่ผ่านมา ผมจึงตัดสินใจออกไปเดินจงกรมออกกำลังกายตั้งแต่เช้าตรู่
  • จึงขอนำบางส่วนของพระสูตรมานำเสนอไว้เป็นธรรมทานดังนี้ครับ

 

  • ...ปรัชญา เป็นคำสันสกตซึ่งตรงกับคำบาลีหรือที่คำไทยนำมาใช้คือคำว่า ปัญญา ความหมายในที่นี้คือ หลักแห่งความรู้ชั้นสูงเพื่อให้เกิดปัญญา
  • ปัญญานั้นแยกออกได้เป็น 2 ทาง คือ สมมุติสัจจ์หรือปัญญาทางโลก และปรมัตถสัจจ์หรือปัญญาทางธรรม
  • สมมุติสัจจ์ คือ ความจริง ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ของอายตนะเป็นความจริงจากการเปรียบเทียบ ปัญญาทางโลก นั้นนำพา ความสุข ทางกาย ใจ ในระยะสั้นชั่วครั้งชั่วคราว ทำให้มนุษย์หลงไหลในโลกียะสุข
  • ส่วนปรมัตถสัจจ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเข้าใจว่าคือความจริงแท้ดั้งเดิม ซึ่งลึกลงไป เป็นธรรมชาติแท้ เป็นความสุขทางจิต เป็นความสุขอันนิรันดร์ ก็ยังหนีไม่พ้นจากความเป็นสมมุติสัจจ์ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งสุดของความเข้าใจปรมัตถ์สัจจ์ในโลกียะโลก
  • ปรมัตถ์สัจจ์ คือ ศูนยตา หรือ ความว่างเปล่า
  • คำว่าปัญญาดังที่เราเข้าใจกันทั่วไปคือัญญาของมนุษย์ ผู้ศึกษาเล่าเรียนจะสำเร็จปริญญาสูงที่สุดเท่าที่จะมีการคิดค้นวิชาการขึ้นมาได้ ถึงว่าเป็นปัญญาที่เลิศสุดแต่ยังคงเป็นปัญญาที่วนเวียนอยู่ความโลภ โกรธ หลง ยังคงวิ่งวนอยู่ในฟากฝั่งนี้
  • ปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นปัญญา แห่งอิสระ เห็นแจ้งใน ศูนยตา เป็นความสุขอันนิรันดร
  • ตามความหมายแห่งพระสูตรนี้ เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญาแห่งพระพุทธเจ้า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เป็นเช่นพระพุทธเจ้า
  • ปารามิตา แปลว่า ข้ามไป ฝั่งโน้น ในทางพุทธศาสนาได้แบ่งโลกออกเป็น 2 ฝั่ง
  • โลกฝั่งนี้คือ โลกียะโลก โลกแห่งความ หลงติด ยึดมั่น ขาดอิสระ
  • โลกอีกฝั่งคือโลกุตระโลก คือโลกที่ประทับแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย โลกแห่งความเห็นแจ้ง อิสระ ศูนยตา (ว่างเปล่า)
  • หฤทัย ความหมาย ทางโลกียะ คือ ใจอัน เป็นแหล่งเก็บปัญญา เพื่อแย่งชิงความสุขทางโลก โดยยึดติด อยู่กับ ความโลภ โกรธ หลง
  • ส่วนหฤทัยตามความหมายแห่งโลกุตระนั้น คือ จิตแหล่งเก็บ ปัญญา เพื่อไปสู่พระนิพพาน อันจะทำให้เราได้เป็นเช่นพระพุทธเจ้าในที่สุด
  • ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร คือ คำสอนหัวใจแห่งปัญญานำพาข้ามฝากฝั่ง

  • ...การเห็น การได้ยิน ของมนุษย์เริ่มด้วยการเห็นและได้ยินในระดับตื้น เห็นผิวเผินก่อน
  • หลังจากนั้น ถ้าเราได้ดำเนินการต่อไปก็จะเห็นและได้ยินด้วยจิตตามมา เป็นการเห็นและ ได้ยินลึกซึ้งเข้าไป อีกระดับหนึ่ง นั่นคือการเพ่งต่อจากการเห็น
  • เมื่อเพ่งเห็นแล้วได้ปฏิบัติต่อคือการพิจารณา ผล ที่ได้สมบูรณ์ คือเห็นลึกซึ้งถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสรรพสิ่ง
  • การเพ่งมองเห็นด้วยจิต คือ สมาธิ
  • การพิจารณาต่อมาคือวิปัสสนา
  • ทั้ง 2 วิธีคือการเรียนรู้แผนที่เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าสู่ประตูแห่งความเป็นพุทธะ
  • การปฏิบัติทั้ง 2 วิธี เพื่อให้เกิดปัญญา ปัญญาที่ว่า คือ ปัญญาในการอ่านแผนที่อย่างชำนาญและไม่หลงทาง
  • ดังที่ท่านนาคารชุนโพธิสัตว์ได้กล่าวไว้ว่า “ปัญญา คือ ตา ปฏิบัติคือเท้า จะไปถึงดินแดนที่เย็นสบาย (พระนิพพาน)”
  • ปัญญาจากตาคือทฤษฎี ทฤษฎีที่ไม่มีการปฏิบัติ ก็เปล่าประโยชน์ การปฏิบัติที่ไม่มีทฤษฎี ก็สับสนหลงทางได้ง่าย ดั่งคนตาบอดคลำทาง
  • ดังนั้นปัญญาจากการเพ่ง(สมาธิ) ปัญญาจากการคิด(วิปัสสนา)จะให้ ผลสมบูรณ์ คือปัญญาที่ได้จากการปฏิบัติ ...

หมายเลขบันทึก: 251893เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2009 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นพระสูตรที่ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท